ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงเป็ดไข่

โดย : นางสาวเสาวภาวดี พานพบ วันที่ : 2017-03-31-17:05:54

ที่อยู่ : ๑๕๐/๒ หมู่ ๔ ตำบลชอนน้อย อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็ดไข่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรค สามารถใช้วัสดุท้องถิ่นหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารได้ ประชาชนนิยมบริโภคไข่เป็ด นอกจากนี้ไข่เป็ดสามารถนำไปประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด เหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ การทำไข่เค็ม เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นิยมใช้เป็ดไข่ พันธุ์กากีแคมป์เบลล์ หรือลูกผสม ควรหาพันธุ์ซื้อจากฟาร์มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความเชื่อถือไว้ใจได้ และไม่เคยมีโรคระบาดมาก่อน
๑.2  การจัดการเลี้ยงดู
ควรเริ่มด้วยการเลี้ยงเป็ดสาวอายุประมาณ 18 – 20 สัปดาห์ ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงเป็ดควรทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายหรือมีในท้องถิ่นโรงเรือนควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออก – ตก ต้องสามารถกันแดดกันฝนได้ และมีลานปล่อยอยู่ด้านนอก เพื่อปล่อยให้เป็ดออกหาอาหารตามธรรมชาติกินและได้ออกกำลังกาย พื้นที่โรงเรือนเลี้ยงเป็ด ขนาด 1 ตารางเมตร จะเลี้ยงเป็ดไข่ได้ 5 ตัว เป็ดจะเริ่มไข่เมื่ออายุ 21 สัปดาห์ ในระยะนี้เป็ดต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่มีสารอาหารโปรตีน ให้เป็ดกินอาหารอย่างเต็มที่ โดยเฉลี่ยประมาณ 150 กรัมต่อตัวต่อวัน ต้องทำความสะอาดที่ให้น้ำก่อนทุกครั้ง และต้องมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดเวลา การเลี้ยงในช่วงเป็ดกำลังไข่ต้องพิถีพิถันระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะถ้าเป็ดตกใจหรือได้รับความเครียดจะทำให้ผลผลิตน้อยลง อาหารสำหรับเลี้ยงเป็ด โดยทั่วไปจะนิยมอาหารสำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาดทั่วไป หรืออาจนำเอาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาผสมใช้เองตามสูตร ในการผสมใช้เองเกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ ถ้าจะใช้ผสมเป็นอาหารใช้ในปริมาณน้อยและต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดีปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อราจะสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายกับเป็ด ทั้งนี้ ควรนำอาหารธรรมชาติหรือเศษเหลือจากอาชีพการเกษตร เช่น แหน ผัก หอยเชอรี่ หรือผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มาใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีโอกาสได้กำไรมากขึ้น แม่เป็ดแต่ละตัวจะให้ใช้ได้ปีละประมาณ 240 – 260 ฟอง และปลดระวางเมื่อแม่เป็ดให้ใช้ได้ประมาณ 1 ปี
๑.3  การควบคุมป้องกัน
โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญของเป็ด อาทิ โรคอหิวาต์และโรคดั้กเพลก ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และต้องหมั่นติดตามดูแลสุขภาพของเป็ดอย่างสม่ำเสมอ
2

๒.ต้นทุน และผลตอบแทน ต้นทุนการเลี้ยงเป็ดไข่ จำนวน 200 ตัวต่อรุ่น ให้ผลผลิต เฉลี่ยวันละ ๘๕๐ ฟอง เฉลี่ยเดือนละประมาณ๒๕,๕๐๐ ฟอง ราคาขายฟองละ ๓ บาท
๒.๑ ต้นทุน
ในส่วนต้นทุนคงที่ ได้แก่ ค่าโรงเรือน และอุปกรณ์ในการเลี้ยง จะมีค่าประมาณ 10,000 – 20,000 บาท ส่วนต้นทุนผันแปรซึ่งได้แก่ ค่าพันธุ์เป็ด ค่าวัคซีนและเวชภัณฑ์ จะมีต้นทุนประมาณ  90,000 – 100,000 บาท
๒.๒ ผลตอบแทน
จะได้จากการจำหน่ายไข่เป็ด ประมาณ ๒๕,๕00 ฟอง ในราคาจำหน่ายฟองละ ๓ บาท มีผลตอบแทนประมาณ ๗๖,๕๐๐ บาท 
อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งที่เลี้ยงสภาวะการตลาด และขนาดการผลิต โดยเฉพาะราคาอาหารเลี้ยงเป็ด พันธุ์เป็ด และราคารับซื้อไข่เป็ดในแต่ละท้องถิ่น 
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา