ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำโอ่งแบบโบราณ โดยใช้แบบปูนขึ้นรูป

โดย : นายสุรพล จุติชัย วันที่ : 2017-03-31-16:56:06

ที่อยู่ : 10/2 หมู่ที่ 6 ซอย 11 ถนนสายตรี ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

โอ่งน้ำพัฒนานิคม สู้ภัยแล้งเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ" โดยนำปราชญ์ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาไทยสอน ปั้นโอ่งขนาดใหญ่แบบโบราณ ที่ใช้กันมายาวนานในวิถีชนบทของไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบันกำลังจะหายไปจากสังคมไทย ทางอำเภอพัฒนานิคม โดยการนำของ นายชรินทร์ ทองสุข นายอำเภอพัฒนานิคม โดยมีแนวความคิดที่จะช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบภัยแล้งที่สร้างผลกระทบกับชาวลพบุรี เนื่องจากปีนี้ปริมาณน้ำฝนน้อยมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำกักเก็บมีเพียง 12% เท่านั้น ทำให้ประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค ประกอบกับฝนที่ตกลงมาทุกปี ก็ไม่มีการกักเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง แนวความคิดนี้จึงฟื้นฟูภูมิปัญญาไทย การปั้นโอ่งแบบโบราณขนาดใหญ่ 1,500 ลิตร เพื่อเป็นการอนุรักษ์งานปั่นโอ่งเอาไว้ ซึ่งได้เชิญวิทยากร ช่างผู้ชำนาญการปั้นโอ่งขนาดใหญ่ประสบการณ์สูง ระดับมืออาชีพ จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ นายช่างบุญมี โพธิ์ระนก อายุ 73 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่ 5 ต.สำพะเนียง อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มาเป็นวิทยากรสอนให้กับชาวบ้านดีลัง อ.พัฒนานิคม ฝึกให้ชาวบ้านปั้นโอ่งขนาดใหญ่ได้จริง ใช้งบประมาณบูรณาการ ของกรมการปกครองและงบประมาณป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ของกระทรวงมหาดไทย ชาวบ้านที่มาปั้นโอ่งขนาดใหญ่เก็บน้ำแล้วสามารถถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับชาวบ้านด้วยกันทำเป็นกิจกรรมจ้างแรงงาน เพื่อสร้างรายได้แก่ประชาชนได้    

วัตถุประสงค์ ->

กักเก็บนำ้ไว้ใช้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เนื้อดินสีน้ำตาลแดง
2.ลวดตัวเก็ง 
3.ทรายละเอียด
4.ขี้เถ้าโยด

อุปกรณ์ ->

เครื่องโม่หรือเครื่องนวด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมดิน  เนื้อดินสีน้ำตาลแดงที่ได้จากท้องนาทั่วไปในจังหวัดราชบุรีเป็นเนื้อดินเหนียวที่มีคุณภาพดีเยี่ยม  มีความละเอียดเหนียวเกาะตัวกันได้ดีนำมาหมักไว้ในบ่อดิน  แช่น้ำทิ้งไว้  1  สัปดาห์เพื่อให้น้ำซึมเข้าในเนื้อดินให้ดินอ่อนตัวทั่วถึงกันและเป็นการทำความสะอาดดินไปในตัวด้วย  หลังจากนั้นตักดินขึ้นมากองไว้  แทงหรือตักดินด้วยเหล็กลวดให้เป็นก้อน  นำเข้าเครื่องโม่หรือเครื่องนวดเพื่อให้เนื้อดินเข้ากัน  แล้วใช้เหล็กลวดหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ลวดตัวเก็ง  ตักดินที่โม่แล้วให้เป็นก้อนมีขนาดเหมาะพบกับการปั้นงานแต่ละชิ้นนำมานวด  โดยผสมทรายละเอียดเล็กน้อยอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้โอ่งมังกรมีเนื้อที่แกร่งและคงทนยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่  2  การขึ้นรูปหรือการปั้น  แบ่งออกเป็นสามส่วน  คือ
ส่วนขาหรือส่วนกัน  โดยการนำดินที่ผ่านการนวดให้เป็นเส้นแล้วมีความยาวประมาณ  30  เซลติเมตร  วางลงบนแผ่นไม้  ซึ่งวางบนแป้น  ก่อนวางต้องใช้ขี้เถ้าโยเสียก่อนเพื่อไม่ให้ดินติดกับแผ่นไม้และสะดวกต่อการยกลง  เนื้อดินส่วนนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลมหรือก้อนสี่เหลี่ยมแผ่ออกเป็นวงกลม  เส้นผ่าศูนย์กลางตามขนาดของโอ่งที่ต้องการ  จากนั้นนำดินเส้นมาวางต่อกันเป็นชั้นเรียนกว่า  การต่อเส้น เมื่อปั้นตัวโอ่งและยกลงจากแป้นแล้ว  ตบแต่งผิวด้านนอกและ  ด้านใน  โดยการขูดดินที่ไม่เสมอกันออกให้ผิวเรียบ  แล้วใช้ลูบเพื่อให้ผิวเนียนอีกครั้งหนึ่ง
 ส่วนลำตัว  นำตัวขาหรือส่วนก้นที่แห้งพอหมาดมาวางบนแป้นที่มีขนาดเตี้ยกว่าแป้นที่ปั้นส่วนขา  ตบแต่งผิวอีกครั้งด้วยฮุยหลุบและไม้ตี  นำดินเส้นมาวางต่อกันเป็นชั้นสำหรับส่วนสำตัวทำนองเดียวกับส่วนขา  วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้ได้ตามต้องการ  ใช้ไม้ต๊าขุดดินและแต่งผิวให้เรียบ  ทิ้งไว้พอหมาด
ส่วนปาก  ลักษณะการต่อเส้นคล้ายกับสองส่วนแรก  แป้นมีขนาดเตี้ยลงอีกก่อนจะต่อเส้นต้องตบแต่งผิวส่วนลำตัวและส่วนขาด้วยไม้ต๊าเสียก่อน  ใช้ดินเส้นประมาณห้าเส้นวัดความสูงได้ประมาณ  70  เซนติเมตร  ใช้พองน้ำลูบผิวให้เรียบ  จากนั้นใช้ผ้าด้ายดิบชุบน้ำลูบส่วนบน  พร้อมกับบีบหรือกดให้ขึ้นเป็นรูปขอบปากโอ่ง  ใช้ไม้ต๊าตบแต่งให้เรียบเสมอกันอีกครั้งหนึ่ง  ยกไปวางผึ่งให้เป็นระเบียบ  เพื่อรอการทำในขั้นต่อไป  สำหรับการยกลงจากแป้นนั้นต้องใช้ช่างปั้นสองคนช่วยกันยกด้วยเชือกหาม  เป็นเชือกที่นำมามัดไขว้กันเป็นวงกลมให้มีขนาดเท่ากับตัวโอ่งพอดี  ปล่อยปลายยาวทั้งสองด้านสำหรับจับยกหาม  สำหรับส่วนปากซึ่งทำไว้เป็นจำนวนมากนั้น  ถ้าทิ้งไว้นานก่อนถึงขั้นตอนการเขียนลายจะทำให้แห้งเกินไป  จึงต้องทำให้อยู่ในสภาพเปียกหมาดๆ  อยู่เสมอ  โดยใช้พลาสติกคลุมไว้  
 

ข้อพึงระวัง ->

ระวังปูนแห้งจะใช้ไม่ได้ ต้องใช้น้ำช่วยเพื่อไม่ให้ปูนแห้งเกินไป ดินพังต้องแก้ไขให้ตรวจจุดนั้นแล้วซ่อมแซมให้เหมือนเดิม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา