ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การขุดบ่อน้ำตื้น เพื่อสร้างแหล่งนำ้

โดย : นายสุวิทย์ เดชแก้ว วันที่ : 2017-03-31-15:42:23

ที่อยู่ : 59/1 หมู่ที่ 3 ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากหมู่ที่ 3 บ้านดีลัง ประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนทรัพยากรน้ำในการอุปโภค  คณะกรรมการมีการประชาคมจัดลำดับปัญหาเป็นลำดับที่ 1 ที่ต้องรับการแก้ไข เมื่อเกิดภัยแล้งขาดน้ำอุปโภคในชุมชน  ประชาชนในชุมชนเจาะบ่อน้ำตื้นขึ้นมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องรับการแก้ไข ซึ่งหมู่ที่ 3 บ้านดีลังเป็นต้นแบบของการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับชุมชนอื่นได้

วัตถุประสงค์ ->

เพือเพิ่มแหล่งน้ำธรรมชาติ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการขุด เช่น จอบ ชะแลง 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การขุดบ่อ  คงจะไม่ได้ใช้มันสมองมากสักเพียงใด สิ่งสำคัญคือความขยันหมั่นเพียรและความอดทนการที่จะใช้จอบและอีปิก ขุดดินให้ลึกลงไปในดินจนกระทั่งน้ำออกมาและแนวตั้งตรงด้วยนั้น ต้องใช้การสังเกตความทรหดอดทนอย่างสูงยิ่ง  ผู้เขียนมอบหมายให้หนุ่ม ๆ ในหมู่บ้านช่วยกันขุดโดยมีลำดับขั้นตอนที่น่าสนใจประกอบรูปภาพดังต่อไปนี้
๑.เตรียมหาหลักหรือตัดหลักที่เป็นง่ามมาสองต้น  กำหนดเขตที่จะขุด หรือผู้เป็นเจ้าของทำพิธีแรก
หรือ “วันแฮกขุด” ขอขมาและขออนุญาตต่อแม่ธรณี เจ้าที่เจ้าปู่ผู้ดูแลสวนและบ้านเมือง ในที่นี้คือ พ่อปู่ปากพาน โดยการขุดในครั้งนี้ จะต้องไม่มีอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บใดๆ เกิดขึ้นกับผู้ที่มาทำงาน  เสร็จแล้วก็ให้ลงมือขุดได้  พอขุดไปสักพักก็ทำการขุดหลุมฝังหลักไม้ง่ามสองต้นที่เตรียมไว้  เอาไว้เพื่อใช้ไม้พาดด้านบนแล้วแขวนรอกเอาไว้เพื่อใช้ดึงเอาดินขึ้นจากหลุมเมื่อขุดลึกลงไปมาก ๆ แล้ว
๒.  เมื่อขุดลึกลงไปมาก ๆ จนส่งดินให้คนบนปากบ่อไม่ถึงแล้วก็ต้องใช้รอกดึงดินขึ้นมา 
๓.  เริ่มเห็นน้ำก้นบ่อที่เริ่มซึมออกมาจากใต้ดินบ้างแล้ว และเมื่อผู้ขุดปล่อยทิ้งไว้ในตอนกลางคืน วันรุ่งขึ้นไปมองดูก็เห็นว่าน้ำนั้นขึ้นมาประมาณ ๒ ท่อกว่า ๆ แล้ว(ท่อแนวตั้ง ๔๕ เซนติเมตร)   ก็ยังไม่หยุดขุด 
 ๔.  ช่างขุดช่วยกันตักน้ำขึ้นมาเททิ้งและขุดเพิ่มกันต่อไปจนกว่าจะได้ที่ คือ น้ำออกมากจนตักหรือขุดไม่ทันกันแล้ว 
 ๕.  เมื่อขุดได้ที่แล้วก็นำท่อที่วัดไว้ครั้งแรกคือ ความกว้างของวงท่อเท่ากับ ๑.๒๐ เมตร นำลงวางซ้อนๆ กันในบ่อ  โดยนำไม้ไผ่ที่ใช้เป็นบันไดใส่ตั้งไว้ในวงของท่อก่อนนำลงทุกครั้ง
 ๖.  นำท่อที่เตรียมไว้วางพาดไว้บนปากบ่อก่อนแล้วนำเชือกมาร้อยตรงที่มีรูฝั่งตรงข้ามกันใช้เชือกพันกับไม้ด้านบนที่แขวนรอกไว้ ๑ รอบ เพื่อลดแรงดึงและแรงปล่อยลงของท่อ อีกด้านที่ไม่ตรงกับไม้ด้านบนก็ใช้แรงคนดึงเชือกช่วยเพื่อไม่ให้ท่อแกว่งหรือเอียงข้าง อาจไปทำให้ท่อที่วางไว้ด้านล่างแล้วบิ่นหรือแตกได้  จากนั้นค่อยปล่อยเชือกลงพร้อม ๆ กัน  
 ๘.  ทำความสะอาดท่อที่เป็นปุ่ม ขี้ปูน สะเก็ดหินที่ติดขอบวงท่อออกให้ดีก่อนนำลงไปในบ่อ หากไม่เรียบร้อยอาจทำให้การหมุนหรือปรับภายในยากหรือติดขัด ทำให้ช้าหรือมีปัญหาได้
 ๙.  ก่อนนำลงผูกเชือกให้เรียบร้อยแล้วช่วยกันยกขึ้น  คนที่ว่างก็ช่วยกันนำไม้ที่รองท่อออกให้พ้นจากปากบ่อ 
 ๑๐.  ไม่ลืมที่จะนำไม้ที่ใช้เป็นบันไดสอดเข้าไปในท่อก่อนปล่อยเชือกและวางท่อลงไปในบ่อ
  ๑๑.  หย่อนท่อลงไปซ้อนวงท่อที่อยู่ในบ่อช้า ๆ   เรียงลำดับขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็นชั้น ๆ ตามลำดับขึ้นมา       
 ๑๒.   แม้จะมีคนลงไปงัดแต่งอยู่ในบ่อด้านล่างตรงที่ท่อซ้อนกันแล้วก็ตาม  ด้านบนก็ยังไม่ประมาท ต้องจับเชือกที่ผูกกับท่อไว้เสมอ  เผื่อมีปัญหาขึ้นมาแบบไม่คาดฝันได้
๑๓.   คนที่ลงไปในบ่อจะมีเครื่องมืออย่างหนึ่งคือ เสียม ที่ด้ามสั้น ๆ เอาไว้เพื่องัดวงท่อให้ขยับหรือหมุนไปตามที่ตนเองต้องการ หรือให้เข้าที่เข้าทาง และไม้ขนาดพอที่จะใส่รูท่อด้านล่างได้สั้น ๆ หนึ่งอัน เพื่อเอาไว้เหยียบทำงานนั่นเอง
 ๑๔.  เมื่อเข้าที่เรียบร้อยแล้วก็แกะเชือกที่ผูกท่อทั้งหมดออกแล้วก็ขึ้นบันไดไม้มาด้านบนเพื่อที่จะนำเอาท่อวงใหม่ลงไปใส่อีกครั้ง
  ๑๕.  เมื่อวางท่อจนถึงด้านบนเป็นที่เรียบร้อยได้ตามต้องการแล้ว  ก็โยกท่อให้ได้แนวดิ่งตามที่ตนต้องการ โดยหาหินก้อนใหญ่ ๆ มายัดด้านข้างเพื่อไม่ให้ท่อขยับหรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง  จากนั้นก็ช่วยกันนำหินแม่น้ำที่ก้อนโตพอสมควรมาโกยใส่รอบ ๆ ด้านข้างเพื่อให้หินลงไปที่ก้นบ่อตรงที่น้ำไหลออกมานั้น เพื่อที่น้ำจะได้ไหลเข้ามาในท่อได้สะดวกสูงขึ้นมาด้านบนก็ใช้ดินที่เราขุดขึ้นมานี่แหละใส่ลงไปด้านข้างให้เต็มจนขึ้นมาถึงด้านบนปากบ่อ  แล้วก็อัดหรือเหยียบให้แน่นพอสมควร
  ๑๖.  เมื่อด้านบนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำเอาปูนมาผสมทราย ยาแนวตามขอบด้านบนของวงท่อ ประมาณท่อที่ ๙ หรือ ๑๐ (นับจากล่างขึ้นมา) ขึ้นมาถึงด้านบนปากบ่อ กันดินซึมเข้าไปในบ่อเวลาใช้น้ำด้านบน และป้องกันปลวกที่จะเข้ามาสร้างรังภายในบ่อน้ำด้วย 
  ๑๗.  เสร็จเรียบร้อยก็ให้นำไดโว่มาดูดน้ำที่ก้นบ่อออกแล้วก็ รื้อเอาขี้โคลนขี้ปูนหรือดินต่าง ๆ ที่อยู่ก้นบ่อขึ้นมาอีกครั้ง พอปูนแห้งก็ปั๊มน้ำล้างท่อล้า

ข้อพึงระวัง ->

ต้องมีความชำนาญการ และมีประสบการณ์ ยิ่งบ่อลึกเท่าไร อากาศภายในบ่อจะมีน้อย 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา