ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

สูตรน้ำหมักชีวภาพยอดนิยม่

โดย : นางกชมาส ดวงศิริ วันที่ : 2017-03-30-05:32:30

ที่อยู่ : 25/2 หมู่ที่ 3 บ้านถนนแค ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรี เบอร์โทร . 092-7766719

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมพัฒนาที่ดิน/เกษตร

ที่มาของหลักสูตร

                      ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เป็นการนำเอาพืชผักผลไม้สัตว์ชนิดต่างๆ มาหมักกับน้ำตาล ทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จำนวนมาก ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่างๆที่อยู่ในพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรียหรือ จุลินทรีย์ สารต่างๆจะถูกปล่อยออกมา ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาหมัก

                    น้ำหมักชีวภาพจะมีธาตุอาหารหลักอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมน และกรดฮิวมิกฯลฯ มีผลต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชกระตุ้นการงอกของราก ช่วยให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อโรคและแมลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น สีสันและรสชาติดีกว่าเดิม ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิต

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดต้นทุนการผลิต

กลุ่มเป้าหมาย  ครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย  20  ครัวเรือน นำไปปฏิบัติในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ลดต้นทุนการผลิต ปลอดสารเคมี

1. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

2. ช่วยในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ในดิน ทำให้ธาตุอาหารถูกพืชนำไปใช้ได้รวดเร็วขึ้น

3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน

4. ช่วยต้านการแพร่ของจุลินทรีย์ก่อโรคพืชชนิดต่างๆในดิน

5. ทำให้ดินมีความร่วนซุย จากองค์ประกอบของดินที่มีดิน อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม

6. ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช

7. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงแร่ธาตุของพืชจากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอื่นที่เกษตรกรใส่

8. ช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น ทำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เศษจากซากพืชสด อาทิ พืชอวบน้ำ ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้ ฯลฯ

          2. เศษซากสัตว์สด อาทิ หอยเชอรี่ ปลา ปู ฯลฯ

          3.3 พืชสมุนไพรเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ สะเดา ไหลแดง หนอนตายอยาก ตะไคร้หอม ฯลฯ

โดยทั่วไปส่วนผสมของการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ถ้าใช้สูตรที่เก็นเศษซากพืช จะใช้ส่วนผสมระหว่างเศษซากพืชสดกับกากน้ำตาล อัตราส่วน 3:1

แต่หากเป็นเศษซากสัตว์ จะใช้อัตราส่วนระหว่างเศษซากสัตว์กับกากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1              

อุปกรณ์ ->

การเตรียมการในการประกอบอาชีพนี้ ต้องเตรียมอะไรบ้าง อย่างไร (คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์)

1) ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะหรือปูนซีเมนต์ เพราะน้ำหนักจะเข้าไปกัดก่อนภาชนะ

2) น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาทิ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ฯลฯ หรือกากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำตาลชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล นอกจากนี้อาจใช้พืชจำพวกอ้อยได้เช่นกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สูตรสำหรับพืชกินใบ

          1) พืชสด

          2) กากน้ำตาล     อัตราส่วน 3:1

วิธีทำ

          ใช้พืชที่มีลักษณะสด ใหม่ สมบูรณ์ อวบน้ำ โตเร็ว ไม่มีโรค (เน่า) ทุกส่วน ๆ ละไม่มากนัก จากพืชหลาย ๆ ชนิด ทั้งพืชที่กินได้และวัชพืช นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือบดละเอียดให้ได้ปริมาณ 3 กิโลกรัม แล้วบรรจุเศษพืชที่ได้ลงในภาชนะ และเติมกากน้ำตาลลงไป 1 ลิตร คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ให้เศษพืชจมอยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะ เก็บไว้ในที่มืด อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้

ข้อพึงระวัง ->

ข้อจำกัด/อุปสรรคในการดำเนินงาน

6.1 การใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ อาจทำให้วัสดุที่ใช้ปลูก เช่น กาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควร

          6.2 การใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชนั้นในดินควรมีอินทรีย์วัตถุอยู่ เช่น มีการใส่ปุ๋ยหมัก และเศษพืชแห้งคลุมดินไว้ ซึ่งทำให้การใช้ประโยชน์ จากน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพได้ผลดี

6.3 ห้ามใช้อัตราที่กำหนดไว้ในคำแนะนำ เพราะอาจมีผลทำให้ใบไหม้ได้ เนื่องจากความเป็นกรดหรือความเค็มในน้ำสกัดชีวภาพ หรือน้ำหมักชีวภาพ

6.4 น้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนสูงระวังการใช้ เพราะใช้มากอาจทำให้เฝือใบและไม่ออกดอก ออกผลได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา