ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ผ้าด้นมือ “กระเป๋า

โดย : นางสุกุมา จันแจ้ง วันที่ : 2017-03-29-21:04:55

ที่อยู่ : 4 หมู่ที่ 2 บ้านโคกพุดทรา ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โทร. 094-3269882

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประวัติความเป็นมา

การทำผ้าดันมือในสมัยก่อนเมื่อครั้งที่ยังไม่มีจักรเย็บผ้า ชาวบ้านได้ใช้เข็มกับด้ายช่วยในการเย็บและซ่อมแซมเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม โดยใช้วิธีเนา สอย ปักชุนด้วยมือมาโดยตลอดโดยไม่มีการประยุกต์ใช้เครื่องทุ่นแรงหรืออุปกรณ์อื่นๆต่อมาเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมาการด้นผ้าได้มีขึ้นครั้งแรกในกลุ่มสตรีชาวคริสต์จักรสามัคคีธรรมที่ ๕ เท่านั้น ต่อมาได้ขยายว่าจ้างกลุ่มสตรีในหมู่บ้านใกล้เคียงรับงานไปทำที่บ้าน ต่อมา ปี ๒๕๔๕ เทศบาลตำบลช่อแฮ ได้สนับสนุนงบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนหัตถกรรมผ้าด้นมือการทำผ้าดันมือในสมัยก่อนเมื่อครั้งที่ยังไม่มีจักรเย็บผ้า ชาวบ้านได้ใช้เข็มกับด้ายช่วยในการเย็บและซ่อมแซมเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม โดยใช้วิธีเนา สอย ปักชุนด้วยมือมาโดยตลอดโดยไม่มีการประยุกต์ใช้เครื่องทุ่นแรงหรืออุปกรณ์อื่นๆต่อมาเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมาการด้นผ้าได้มีขึ้นครั้งแรกในกลุ่มสตรีชาวคริสต์จักรสามัคคีธรรมที่ ๕ เท่านั้น ต่อมาได้ขยายว่าจ้างกลุ่มสตรีในหมู่บ้านใกล้เคียงรับงานไปทำที่บ้าน ต่อมา ปี ๒๕๔๕ เทศบาลตำบลช่อแฮ ได้สนับสนุนงบประมาณตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนหัตถกรรมผ้าด้นมือ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

การดำเนินงานของกลุ่มฯก่อให้เกิดบทบาทความสัมพันธ์กับชุมชนแยกเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้
๑. การทำหัตถกรรมผ้าด้นมือก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว เช่นแม่ต่อดอกฝ้าย พ่อวาดลาย พ่อแม่ลูกช่วยกันด้น ส่วนในกรณีที่ไม่ทำเป็นครอบครัวก็จะมีส่วนร่วมกับบุคคลภายในกลุ่มสร้างความสามัคคีในชุมชน
๒. การทำหัตถกรรมผ้าด้นมือก่อให้เกิดความเข้มแข็งกับชุมชนเนื่องจากการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชน เมื่อกลุ่มมีความเข้มแข็งเอื้อต่อความเข้มแข็งของชุมชน กลุ่มเกิดความภาคภูมิใจ ห่วงใยชุมชนมากขึ้นเพราะความมีชื่อเสียงของหัตถกรรมผ้าด้นมือนำประโยชน์สู่ชุมชน ชุมชนเกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนเอง
๓. การทำหัตถกรรมผ้าด้นมือก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนเนื่องจากสมาชิกแต่ละคนมีรายได้เพิ่มซึ่งถือเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้สมาชิกไม่น้อยที่เดียว

วัตถุประสงค์ ->

ของใช้สำหรับสตรี หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมาย   ครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย 20 ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ผ้าฝ้ายสี
ผ้าฝ้ายแฟบริค
ผ้ากุ้นสี
ด้ายสำหรับเย็บ
ด้ายสีครีมสำหรับทำพื้น
ใยโพลีเอสเตอร์
เข็มเบอร์ ๙,๑๐
อุปกรณ์
กรรไกร
จักรอุตสาหกรรม
จักรโผล้ง
ตัวหนีบ (ตัว C)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ตัดผ้าฝ้ายแฟบริคตามแบบลายต่างๆ เช่น ลายดอกไม้ ใบไม้ ตุ๊กตา ฯลฯ
๒. นำผ้าที่ตัดลายมาสอยตัดกับผ้าสีโดยดูที่ความกลมกลืนของลายและสีของผ้า
๓. นำมาเย็บติดกับผ้าพื้นสีให้พอดีกับขนาดที่เราต้องการ เช่น ขนาดหมอนอิง ๑๘นิ้ว ขนาดเตียง ๔ ฟุต ขนาดเตียง ๖ ฟุต เรียกกันตามภาษาผู้ด้นผ้าว่า หน้าผ้า ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น ดอกไม้วงกลม ดอกไม้สี่ทิศ กุหลาบเถา ฯลฯ
๔. นำหน้าผ้ามาขีดลายบนพื้นที่ไม่ตรงกับลายสอย ให้มีลวดลายสวยงาม เหมาะสมและกลมกลืนกัน
๕. นำหน้าผ้าที่ได้เนาติดกับผ้าพื้นใยโพลีเอสเตอร์
๖. นำมาขึงกับไม้ให้ตึงพอสมควรโดยใช้ตัวหนีบ (ตัว C) เป็นที่ยึด
๗. ใช้เข็มกับด้ายด้นตามลายสอยและลายขีดของผ้า
๘. นำผ้าที่ด้นเรียนร้อยแล้วมาเย็บริมและขลิบริมให้เรียบร้อย
การด้นตามลายเย็บจักร (หมอนอิง ผ้าคลุมเตียง)
๑. ตัดผ้าฝ้ายแฟบริคเป็นรูปทรงเรขาคณิตเช่นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม สามเหลี่ยม ฯลฯ
๒. นำผ้าที่ตัดมาเย็บติดกัน โดยใช้จักเพื่อให้ได้ตามลวดลายที่ต้องการ เช่น ลายภูเขา ลายดาวดอกมะเขือ ลายพัด ลายกระท่อม ฯลฯ

3. นำลายที่เย็บได้มาต่อกับผ้าพื้นสีให้พอดีกับขนาดที่ต้องการ เช่น หมอนอิง ๑๘ นิ้ว

    เตียง ๔ ฟุตและ ๖ ฟุตโดยเรียกตามภาษาผู้ด้นผ้าว่า หน้าผ้า
๔. นำหน้าผ้ามาขีดลายตรงช่องว่างที่ไม่ตรงกับลายต่อให้สวยงาม 

๕. นำหน้าผ้าที่ได้เนาติดกับผ้าพื้นใยโพลีเอสเตอร์
๖. นำมาขึงกับไม้ให้ตึงพอสมควรโดยใช้ตัวหนีบ (ตัว C) เป็นที่ยึด
๗. ใช้เข็มกับด้ายด้นตามลายสอยและลายขีดของผ้า
๘. นำผ้าที่ด้นเรียนร้อยแล้วมาเย็บริมและขลิบริมให้เรียบร้อย

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา