ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ตะกร้าสารพัดประโยชน์

โดย : นางลักษมี ใจดี วันที่ : 2017-07-03-23:09:37

ที่อยู่ : 138 บ้านหินสองก้อน หมู่ที่ 1 ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เริ่มแรก ครู กศน.ตำบลถนนใหญ่ ได้ฝึกสอนการจักสานตะกร้า พอจักสานสำเร็จ 1 ใบ มีความภาคภูมิใจท่ี่เราทำได้ แล้วก็ใบที่ 1,2...สามารถขายได้ ลงทุนไม่มาก ราคาดี ก็ใส่ใจจึงเรียนรู้ลายของตะกร้าหลากหลาย และสร่างสมประสบการณ์จนชำนาญ สามารถเป็นวิทยากรได้ในปัจจุบัน ได้รับการเชิญเป็นวิทยากรของส่วนการศึกษา ประชาชน ตำบลใกล้เคียง และเมื่อคุณสุชาดา โสมดี พัฒนากรประสานงานตำบลถนนใหญ่ แจ้งข่าวดีว่ามีงบประมาณในการสนับสนุนสัมมาชีพให้ประชาชนตำบลถนนใหญ่ จึงรวมกลุ่มและประชาสัมพันธ์เชิญชวนแม่บ้านเข้ารวมตัวเรียนรู้การจักสานตะกร้า ซึงเป็นอาชีพเสริมที่ทำอยู่กับบ้าน ไม่ต้องเดินทางไปไกล และจะจัดตั้งกลุ่มลงทะเบียน OTOP แน่นอน

วัตถุประสงค์ ->

         1. สร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน

          2. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้เพิ่มอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต

๑. เชือกมัดฟาง

๒. กรรไกร

๓. เข็มเย็บกระสอบ

๔. ไฟแช๊ค

๕. โครงเหล็กทำตะกร้า หรือลวดขนาดใหญ่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เริ่มแรกนำเชือก ๑ เส้นมาตีให้แตกแล้วนำมาพันรอบโครงเหล็กตะกร้าให้มิดทั้งใบ

๒. ขึ้นขอบของโครงเหล็กให้รอบทั้งก้นและปากของตะกร้า โดยการสานหรือผูกเชือกมัดฟางแบบผูกไขว้

    สลับซ้ายและขวา

๓. ร้อยเชือกสานก้นตะกร้า โดยใช้เชือกสอด ๑ ช่อง เว้น ๑ ช่อง แล้วเอาเชือกสองเส้นคู่หรือสี่เส้น

    นำมาผูกกันหรือสานให้เต็มส่วนก้นตะกร้าเป็นลายขัด

๔. ร้อยเชือกถักขึ้นลายขอบ การถักลวดลาย คือการขึ้นลายของขอบตะกร้าโดยใช้เชือกมัดฟาง ใส่หนึ่งเส้น

    เว้น ๑ ช่อง จะเป็นหนึ่งตัวของสี่เส้น แล้วนำมาผูกหรือสานให้เป็นลายดอก แล้วจะขึ้นลวดลายตามแบบลายที่ต้องการ

    ถักจนเต็มถึงก้นตะกร้าแล้วมัดติดกับส่วนล่างของก้นตะกร้า และตัดเชือกด้วยไฟแช็คเพื่อไม่ให้เชือกลุ่ย

    ทำการถักสานจนเสร็จทั้งใบ

๕. ร้อยเชือกถักหูตะกร้า โดยถักเชือกในส่วนของด้านข้างหูจับตะกร้าจะถักเป็นลายเกลียว วิธีคือ

    เริ่มถักจากด้านใดด้านหนึ่งก่อนแล้วลายจะหมุนเป็นลายเกลียว ส่วนด้านบนของตัวจับตะกร้า จะถักสลับซ้ายขวา

    จะได้เป็นสันบริเวณขอบหูและนำเชือกมาถักบริเวณด้านบนของหูจับ เป็นลายสันปลาช่อน เป็นการเสร็จขั้นตอน

ข้อพึงระวัง ->

            การจักสานหากจักสานลายผิด สมควรที่จะรื้อทำใหม่ ไม่สมควรทำต่อไป เมื่อตะกร้าสำเร็จทั้งใบจะมองเห็นข้อผิดพลาดชัดเจน มีตำหนิ ลวดลายไม่สวย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลพบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา