ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์

โดย : นายมงคล พฤกษา วันที่ : 2017-06-23-11:00:53

ที่อยู่ : 121/60 หมู่ที่ 4 ต.ศาลเจ้าไก่ต่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากข้าวเป็นอาหารที่เราใช้รับประทานเป็นประจำโดยปกติในสมัยก่อนเรานิยมเก็บข้าวไปรับประทานเองมากกว่าซื้อตลาดแต่พอมาในระยะหลังหันมาปลูกข้าวที่ส่งตลาดกันเยอะเลยไม่นิยมเก็บไว้รับประทานเองจึงได้ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวไว้รับประทานเองในทุกครอบครัวในหมู่บ้านโดยการปลูกข้าวหอมมะลิ 105

วัตถุประสงค์ ->

ปลูกไว้กินเองและจำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธ์ุข้าวหอมมะลิ

อุปกรณ์ ->

เมล็ดพันธ์ุหอมมะลิ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเลือกเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105มีลักษณะเด่นในด้านการเจริญเติบโต และทนต่อสภาพดินเค็ม ดินเปรี้ยว ความแล้ง ลักษณะของเมล็ดข้าวสารลื่นมัน วาว เม็ดเรียว สวยงาม เมื่อหุงจะมีกลิ่นหอมคล้ายดอกมะลิ และนุ่ม จุดด้อย คือ ไม่ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่ค่อยต้านทานต่อโรคไหม้ ต้นอ่อนหากปักดำหรือรากไม่ยั่งลึก หน้าดินแน่น แข็ง จะล้มง่าย                

2. การปลูกข้าวหอมมะลินิยมปลูกทั้งในช่วงฤดูนาปี และนาปรัง นาปีจะเริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ในระยะหว่านกล้า ซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมส่วนนาปรังสามารถปลูกได้ ตลอดฤดูขึ้นอยู่กับน้ำ และการชลประทาน

วิธีการปลูกนิยมทั้ง 2 วิธี คือ การปักดำจากต้นกล้าในระยะ 25×25 เซนติเมตร และวิธีการหว่านในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้การปลูกข้าวด้วยการหว่านควรกำจัดวัชพืชในแปลงออกให้เหลือน้อยที่สุด        

3. การดูแลในระยะปลูก

การใส่ปุ๋ย ควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ดินเสียเร็วขึ้น   น้ำในแปลงนาต้องมั่นตรวจสอบจุดรั่วไหล ควรให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับระบบน้ำ และการชลประทาน หากน้ำน้อยไม่เพียงพอควรมีอย่างน้อย 5-10 เซนติเมตร โดยเฉพาะในช่วงระยะเริ่มแรกของการปลูกจนถึงข้าวตั้งท้อง ส่วนระยะหลังข้าวเป็นเม็ดแป้งแล้วการขาดน้ำมักไม่มีผลต่อเมล็ดข้าวมาก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา