ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่

โดย : นายเจียด ดำอ่อน วันที่ : 2017-06-25-15:06:49

ที่อยู่ : ึุ76/1 ม.6 ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เริ่มเลี้ยงมาแต่พ่อแม่และได้เลี้ยงต่อมาจนปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพ มีรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไก่ อาหาร

อุปกรณ์ ->

โรงเรือน อุปกรณ์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ในการเลี้ยงไก่ระยะรุ่นและระยะไก่สาว ยังต้องดูแลเอาใจใส่การเลี้ยงดูเป็นอย่างดีนับว่าเป็นการเลี้ยงที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า การเลี้ยงดูในระยะไก่เล็กมากนักสิ่งที่ต้องกระทำในระยะการเลี้ยงไก่รุ่นและไก่สาว แต่ละอย่างนับว่ามีความสำคัญซึ่งจะส่งผลไปถึงระยะไข่สิ่งเหล่านั้นคือ การควบคุมวัสดุรองพื้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ตลอดระยะการเลี้ยง โปรแกรมการทำวัคซีนอย่างต่อเนื่อง, การควบคุมโรคและพยาธิ, การควบคุมอาหารและน้ำหนักตัว, การควบคุมแสงสว่าง เป็นต้น

ในการเลี้ยงไก่ไข่ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องย้ายไก่บ่อย ๆ เพื่อลดความเครียดจากการขนย้าย และการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนใหม่คือ การเลี้ยงจะเลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเดี่ยว ตั้งแต่เริ่มกกลูกไก่ จนกระทั่งถึงไก่สาวอายุประมาณ 16 - 18 สัปดาห์ จึงย้ายไปโรงเรือนไก่ไข่ที่มีระบบการเลี้ยงแบบกรองตับ เพื่อรอให้ถึงระยะเวลาการให้ไข่ (อายุประมาณ 21 - 22 สัปดาห์) ซึ่งในการย้ายไก่สู่โรงเรือนไก่ไข่ ช่วงอายุ 16 - 18 สัปดาห์จะเกิดผลดีคือ ไก่สาวเหล่านั้น จะมีระยะเวลาการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดีก่อน จะให้ผลผลิตในกรณีการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยฝูงหรือปล่อยพื้น จำเป็นต้องเตรียมรังไข่ให้พร้อมก่อนที่ไก่จะเริ่มให้ไข่ โดยใช้อัตราส่วน 1 รังไข่ต่อจำนวนไก่ไข่ 5 - 6 ตัว ดังนั้นสิ่งจำเป็นที่มีผลโดยตรงต่อการเลี้ยงไก่รุ่นและไก่สาวคือ

การควบคุมอาหาร (Control Feeding)

การเลี้ยงไก่ไข่ผู้เลี้ยงจะต้องควบคุมปริมาณการกินอาหารของไก่ดังกล่าวตั้งแต่อายุประมาณ 7 - 8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของไก่ ซึ่งแต่ก่อนไม่มีการควบคุมปริมาณการกินอาหารของไก่รุ่น และไก่สาวก่อนให้ไข่ ทำให้ไก่ดังกล่าวมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การให้ไข่จะให้ไข่ที่เร็วขึ้น และขนาดไข่จะฟองเล็ก ตลอดจนอายุการให้ไข่จะสั้นลง นอกจากนั้นยังทำให้สิ้นเปลืองค่าอาหารที่สูงเกิน ความจำเป็นในการผลิต ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณอาหารที่ให้กินควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนักตัวไก่ในระยะต่าง ๆ ตามสายพันธุ์ที่ผู้ผลิตกำหนด เพื่อป้องกัน มิให้ไก่ไข่เร็วเกินไป หรือ ชะลอความเป็นสาว (delaying sexual maturity) เพื่อช่วยให้สุขภาพของไก่แข็งแรงสมบูรณ์ให้ไข่ฟองโตและอายุการให้ไข่นาน การควบคุมอาหารอาจทำได้หลายวิธี คือ

1. การให้อาหารวันเว้นวัน (Skip- A- Day feeding) โดยให้ไก่กินอาหาร 1 วัน แล้วหยุดให้กิน 1 วัน สลับกันไปตลอดช่วงของการเลี้ยงไก่รุ่น - ไก่สาว ซึ่งวิธีการกินนี้นิยมมากกว่าวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้อาจเป็น เพราะว่าขั้นตอนการปฏิบัติไม่ค่อยยุ่งยากมากนักอย่างไรก็ตาม การควบคุมอาหารเพื่อชลอความเป็นสาวของไก่โดยวิธีนี้ ในวันที่ไก่ไม่ได้กินอาหารอาจใช้ ข้าวโพดโปรยให้ไก่จิกกินตามพื้นคอก โดยใช้ 1 กิโลกรัมต่อ ไก่จำนวน 100 ตัว และระยะก่อนที่ไก่จะให้ไข่ 3 - 4 สัปดาห์ ควรใช้เปลือกหอยจำนวน 0.25 กิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว เพื่อให้ไก่ก่อนไข่ได้รับแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ โดยวางไว้ในคอกให้ไก่ จิกกินเอง

2. จำกัดปริมาณอาหารที่ให้ไก่กินแต่ละวัน (Manual Restriction) การควบคุมอาหารวิธีนี้ไก่จะได้รับปริมาณโปรตีนและพลังงาน สูงกว่าความต้องการของสายพันธุ์หรืออายุของไก่ในระยะนั้นเล็กน้อย และ ต้องเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารไปตามสภาพแวดล้อมของทุกฤดูกาล จึงจะให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ตามในการกำจัดอาหารโดยวิธีนี้ต้องมีรางน้ำ และรางอาหารหรือถังอาหารเพียงพอ เพื่อให้ไก่ทุกตัว ได้กินเพื่อมิให้กระทบต่อความสม่ำเสมอของไก่ภายในฝูง และหากไก่ป่วยในช่วงควบคุมปริมาณอาหาร จำเป็นต้องให้ไก่กินเต็มที่ จนกว่าจะหายจากอาการป่วยแล้วจึงค่อยควบคุมน้ำหนักตัวและ ปริมาณอาหารต่อไป ถ้าน้ำหนักตัวของไก่เกินมาตรฐานกำหนดของสายพันธุ์นั้น ๆ ก็ต้องลดปริมาณอาหารลงที่ละน้อยเพื่อดึงน้ำหนักตัวลงมาที่มาตรฐาน และถ้าน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานก็ต้อง เพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้นเพื่อให้น้ำหนักตัวสูงตามมาตรฐานของสายพันธุ์ที่กำหนด ซึ่งในการเพิ่มหรือลดต้องเพิ่มหรือลดที่ละน้อยโดยใช้เวลาประมาณ 7 - 10 วัน แล้วทดสอบน้ำหนักไก่อีกครั้งหนึ่ง โดยปกติจะต้องมีการทดสอบน้ำหนักของไก่แต่ละสัปดาห์เพื่อปรับน้ำหนักไก่ในฝูงให้อยู่ในระดับมาตรฐานตลอดการควบคุม

3. การควบคุมอาหารโดยให้อาหารที่มีเยื่อใยสูง (High Fiber Ration) โดยวิธีนี้จะมีโปรตีนประมาณไม่เกิน 13% และพลังงานค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 1750 - 1975 แคลอรี่ (ME) ต่อกิโลกรัม อาหารที่มีเยื่อใยสูงลักษณะ ของอาหารฟาร์มทำให้ไก่ไม่อยากกิน หรือในบางครั้งลักษณะของอาหารที่มีเยื่อใยสูงไก่อาจจะกินเพิ่มขึ้นเพื่อให้โปรตีนและพลังงานตามความต้องการของไก่

4. โดยการให้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ และพวกกรดอะมิโนไม่สมดุลย์ (Low Proteib and Amino Aeid Imbalanded Diete) อาหารประเภทนี้จะมีโปรตีน ประมาณ 9 - 10 % และจะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายของไก่ อย่างน้อย 1 ชนิด ทำให้ชลอความเป็นสาวของไก่ให้ช้าลงได้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ผลดีกับประเทศในเขตหนาวส่วนประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนมักเกิดผลเสียมากกว่า

การควบคุมวัสดุรองพื้น

หลังจากการเลี้ยงไก่เล็กผ่านพ้นไปแล้ว จำนวนอุจจาระของไก่ที่ผสมปะปนอยู่กับกองวัสดุรองพื้นจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เลี้ยงจึงจำเป็นต้องดูแลวัสดุรองพื้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา จะต้องมีการกลับ วัสดุรองพื้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อมิให้เกิดเป็นแผ่นแข็งตรงผิวหน้าของวัสดุรองพื้น และช่วยระบายแก๊สแอมโมเนียที่จะทำลายสุขภาพไก่ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ระเหยไป ซึ่งการกลับวัสดุรองพื้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะทำให้ไก่คุ้นเคยและไม่ตื่นตกใจ

ผลดีของการควบคุมวัสดุรองพื้น

1. สุขภาพไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีโรคแทรกซ้อน

2. ประสิทธิภาพการใช้อาหาร (เปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ) ดี

3. การเจริญเติบโตเป็นอย่างสม่ำเสมอ

4. ลดจำนวนของเชื้อโรคต่าง ๆ ลงได้

5. โอกาสเกิดโรคระบบหายใจน้อยลง

6. การควบคุมโรค และพยาธิ ทำได้ง่ายขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

การควบคุมแสงสว่าง (Lighting Control)

ไก่เป็นสัตว์ที่มีความไวต่อการตอบสนองของแสงถ้าหากในช่วงไก่รุ่น, ไก่สาวได้รับแสงยาวนานกว่าปกติ (โดยเฉลี่ย 12 ชั่วโมง) ซึ่งประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร (equator) ช่วงกลางวันตลอดทั้งปีไม่ค่อยต่างกันมากนัก ดังนั้นในการเลี้ยงไก่รุ่น และไก่สาว จึงจำเป็นต้องควบคุมโดยมิให้ได้รับแสงนอกเหนือจากแสงธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะว่าหากไก่รุ่นและไก่สาวได้รับแสงสว่างมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย จะทำให้ไก่เป็นสาวเร็วให้ไข่ฟองแรก เร็ว ให้ไข่ฟองเล็ก และอายุการไข่สั้นลง จึงจำเป็นต้องควบคุมแสงสว่างควบคู่ ไปกับการควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวให้อยู่มาตรฐานของสายพันธุ์กำหนด เมื่อถึงอายุที่เหมาะสมการให้ไข่ฟองแรกจะได้ขนาดอย่างเหมาะสม ดังนั้น ในการปฏิบัติผู้เลี้ยงสามารถเลือกวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมเรื่องแสงสว่าง โดยเลี้ยงลูกไก่ตั้งแต่แรกเกิดถึงพ้นระยะกก แล้วจะงดให้แสงสว่างในเวลากลางคืนทันทีไปจนกว่าไก่สาวจะอายุที่ 16 - 17 สัปดาห์ จึงเริ่มควบคุม แสงสว่างโดยค่อย ๆ เพิ่มอาจจะสัปดาห์ละครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ต่อไป ก็เท่ากับ 1 ชั่วโมง สองชั่วโมงไปเรื่อย ๆ จนครบ 16 ชั่วโมงต่อวัน (รวมแสงสว่างธรรมชาติในเวลากลางวัน 12 ชั่วโมง) และเมื่อไก่อายุ 20 - 22 สัปดาห์ไก่ก็ จะได้รับแสงสว่าง 16 ชั่วโมงต่อวันพอดี

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา