ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงพันธุ์เป็ดไข่

โดย : นายอำนาจ พระรัมย์ วันที่ : 2017-08-05-21:16:42

ที่อยู่ : 11 ม.1 ต.เนินขี้เหล็ก อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็ดไข่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรค อาหารและอาหารเสริมหาง่ายราคาถูก ไข่เป็ดเป็นที่ต้องการของตลาดและประชาชนทั่วไป และสามารถนำไปเพิ่มมูลค่าโดยทำเป็นไข่เค็มหรือขนมไทยได้หลายชนิด 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นอาชีพเสริม/หลักในครอบครัวได้

2. มีรายได้เพิ่มขึ้น

3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ให้ทุกคนในครอบครัวมีหน้าที่รับผิดชอบในการร่วมเลี้ยงเป็ด

4.มีระบบแบ่งปันและเกื้อกูลแก่คนในหมู่บ้าน/ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.พันธุ์เป็ดไข่

2.อาหารหลัก,อาหารเสริม  ยารักษาโรคและวัคซินป้องกันโรค

อุปกรณ์ ->

1.โรงเรือน

2.อุปกรณืใส่อาหารและน้ำสะอาด

3.ควรมีแหล่งน้ำขนาดเล็กหรืออุปกรณ์ใส่น้ำสะอาดสำหรับเป็ดเพื่อให้เป็ดได้ลงเล่นคลายเครียด และทำความสะอาดร่างกาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลูกเป็ด ให้มีความสะอาดเหมาะสม และมีวัสดุรองพื้น เพื่อให้ลูกเป็ดอบอุ่น เช่นขี้เลื่อย ฟาง หรือซังข้าวโพดหนาประมาณ 1-2 นิ้ว หรือดินทรายรองพื้น หรืออาจมีโคมไฟ ที่แขวนสูงจากพื้น 1.5 - 2 ฟุต โดยส่วนใหญ่นิยมกกลูกเป็ด 1 - 2  สัปดาห์  โดยสามารถป้องกันหรือมีที่หลบลมและฝนได้ และสามารถป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นอันตราย อาจมีบ่อน้ำที่จัดไว้ให้เป็ดเล่นหรือแปลงหญ้า การเลี้ยงลูกเป็ดควรแบ่งเป็นคอก ๆ ละ 150 - 200 ตัว

2.เตรียมน้ำสะอาดสำหรับลูกเป็ด (ไม่ควรเป็นน้ำประปาเพราะมีสารเคมีลูกเป็ดอาจตายได้ หรืออาจเปิดน้ำเก็บใส่ภาชนะทิ้งไว้หลายๆ วัน)

3.การให้อาหาร 2 วันแรกควรให้อาหารผสมชนิดผงคลุกน้ำพอหมาด ๆ ใส่ในภาชนะแบนราบเช่นถาดสังกะสี อาหารควรเป็นอาหารลูกเป็ดระยะ 1 - 3 สัปดาห์

3.เป็ดจะเริ่มไข่เมื่ออายุ 21 สัปดาห์ ต้องอาหารสำหรับเป็ดไข่ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง  จำนวนอาหารที่ให้ขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่เป็ดออกไข่ หรือขึ้นอยู่กับอายุของเป็ด เพราะถ้าเป็ดมีอายุมากขึ้นขนาดของเป็ดจะใหญ่ขึ้น หากเป็ดขาดอาหารอาจให้ไข่ไม่เต็มที่หรือขนาดเล็กลงไม่ตรงตามอายุของเป็ด ผู้เลี้ยงอาจสังเกตุได้ถ้าอาหารหมดเร็วก็เพิ่มปริมาณขึ้น หรืออาหารเหลือก็ลดปริมาณลง ควรทำความสะอาดโรงเรือนและกรงเป็ด ระวังอย่าให้เป็ดตกใจหรือเครียดจากสภาพทั่วไป อาจทำให้เป็ดออกไข่น้อยลงได้

4.การจับเป็ดในเวลาทำวัคซิน ต้องพยายามจับให้นิ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้

5.ควรมีน้ำให้เป็ดได้กินตลอดทั้งวัน-คืน

6.อาหารเป็ดส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารสำหรับเป็ด หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้น ก่อนนำอาหารผสมไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำพอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก และจะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดีขึ้น ที่นิยมจะเป็นอาหารผสม เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เพราะมีราคาถูก

7.การทำวัคซิน ฉีดครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 1 เดือน ครั้งท่ีสองเมื่อเป็ดอายุ 3 เดือน ฉีดครั้งที่ สามอายุ 6 เดือน ทำซ้ำทุกๆ 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ตัวละ 1 ซีซี มีวัคซินสำหรับเป็ดสองชนิด ซื้อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ

8.การคัดเป็ดออกจากฝูงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก เพราะถึงเป็ดไม่ไข่หรือไข่น้อยก็จะกินอาหารเท่าเดิม ทำให้ต้นทุนการผลิตไข่ต่อฟองสูงขึ้น ทำให้ขาดทุนได้ง่าย หากไม่ให้ไข่สม่ำเสมอก็อาจปลดออกหรือปลดออกทั้งฝูง

ข้อพึงระวัง ->

1.ควรเริ่มเลี้ยงเป็ดจากจำนวนน้อยๆ ก่อนเพื่อให้เกิดความชำนาญก่อน

2.ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมหรือหาภาคีเครือข่ายในการเลี้ยงเป็ดเพื่อขยายข่าวถึงกันได้มากขึ้น และมีลู่ทางในการขยายกิจการได้มากขึ้น

3.ควรให้อาหารผสมแก่เป็ดไข่ตามอายุ และอาหารสำหรับเป็ดไข่ตามเวลาเพื่อประหยัดต้นทุน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา