ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกพริก

โดย : นายสนอง เอี่ยมนุช วันที่ : 2017-07-12-15:06:29

ที่อยู่ : 3 ม.8 ต.ทับกฤชใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

พริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญในการประกอบอาหารประจำวันสำหรับคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนไทยนิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างเผ็ดจึงนิยมปลูกพริกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและมีการปลูกพริกเพื่อการค้า อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องปรุงแต่งรสเช่น พริกแห้ง พริกป่น น้ำพริกเผา

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้นอกเหนือจากการทำนา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

 เม็ดพริก (พริกขี้หนู)
         กระถางเล็กเพาะต้นกล้าและกระถางใหญ่ปลูกต้นพริก
         ดินร่วนปนทราย
         ปุ๋ยสูตรโพแทสเซียมสูงกว่าไนโตรเจน
         อุปกรณ์ปลูกต้นไม้
         กะละมังหรือถาดพลาสติก
         น้ำอุ่น
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมดิน ควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 ซม. ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้วประมาณ 20 กก. ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและสารสกัดฮิวมิคผงผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วแปลงปลูกเพื่อป้องกันเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดินจากนั้น พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด

การเพาะเมล็ดพริกในแปลงเพาะชำ

1.ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะ คัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกโดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำสะอาดเมล็ดพันธุ์ที่เสียจะลอยน้ำแล้วคัดออก

2.นำไปแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานประมาณ 30 นาที

3. ใช้สาหร่ายผงในอัตราส่วน10กรัม/น้ำ20ลิตร เชื้อราไตรโครเดอร์มา 200ซีซี/น้ำ20ลิตร สารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์ 2ซีซี/น้ำ20ลิตร ผสมเข้าด้วยกันนำเมล็ดพริกลงแช่นาน18คืนก่อนนำไปเพาะกล้า

4.การเพาะเมล็ดพันธุ์ในแปลงนำเมล็ดพันธุ์หว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6–1 ซม. ห่างกันแถวละประมาณ 10 ซม. กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียดรดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ รดด้วยน้ำเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผสมตอนแช่เมล็ดพริก

5.เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12–15 วัน ถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้งให้มีระยะห่างกันพอสมควรและควรให้ใช้สารสกัดขยายเซลพืชเสริมทางใบเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30–40 วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้

ข้อพึงระวัง ->

แปลงที่ใช้ปลูกควรไม่เสี่ยงต่อน้ำท่วม และสามารถระบายน้ำได้ดีหากฝนตก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา