ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวโพดหวาน

โดย : นายถวัลย์ ช้อยพลอย วันที่ : 2017-06-28-15:19:42

ที่อยู่ : 89/1

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้เริ่มทดลองทำการเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายโดยใช้ความคิดของตนเองพิจารณาดูจากตัวอย่างปู่ย่าตายายที่ทำเกษตรผสมผสานเกี่ยวกับการทำนาพบว่าการทำนาชีวิตยามแก่เฒ่าจะลำบากเพราะหมดแรงทำมาหากินไม่มีบำนาญชีวิตแต่ทำเกษตรผสมผสานมีความหลากหลายทั้งพืชสัตว์และหากรู้จักวิธีจำหน่ายผลผลิตใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างคุ้มค่า จึงได้หันมาปลูกข้าวโพดหวาน เนื่องจากพื้นที่ตำบลโคกหม้อเป็นพื้นที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มีน้ำตลอดทั้งปี พื้นที่เหมาะแก่การปลูกข้าวโพดหวานซึ่งจากการทดลองทำได้ผลเป็นอย่างดี ผลผลิตมีตลาดรองรับอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ ->

1.สามารถสร้างงานสร้างรายได้ ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

       2. สามารถเป็นจุดเรียนรู้ระดับหมู่บ้านและตำบล

       3. เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในการพึ่งพาตนเองและชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

       4. เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภาคเกษตรให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน

2. ปุ๋ย

อุปกรณ์ ->

รถไถสำหรับปรับสภาพพื้นที่ในการปลูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมดิน เตรียมดินโดยการไถดะ และตากดินประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงไถแปรให้ดินละเอียดอีกครั้ง และตากดินประมาณ 3-5 วัน ก่อนไถแปรควรหว่านปุ๋ยคอก เช่น ปุ๋ยขี้ไก่ อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ เพื่อให้ดินร่วนชุย และเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดหวาน วิธีการปลูก ขุดหลุมปลูก โดยให้ระยะห่างระหว่างต้นที่ 25 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร หรือที่ระยะ 50×50 เซนติเมตร โดยหยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 2-3 เมล็ด พร้อมกลบดิน การให้น้ำ เมื่อหยดเมล็ด และกลบดินเสร็จทั่วแปลง ควรให้น้ำทันที แต่หากปลูกในฤดูฝน อาจรอวันฝนตกหรือปลูกในขณะที่ดินชื้น ในระยะแรกหากเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว ควรให้น้ำข้าวโพดหวานอย่างน้อย 2 วัน/ครั้ง และเมื่อข้าวโพดตั้งต้นได้อาจให้เพียง 4-6 วัน/ครั้ง ในอัตราที่ดินไม่แฉะ และไม่เกิดน้ำท่วมขัง หากเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ควรให้น้ำข้าวโพดหวานของระยะแรกอย่างน้อย 2 วัน/ครั้ง และเมื่อข้าวโพดตั้งต้นได้อาจให้เพียง 2-3 วัน/ครั้ง ในอัตราที่ดินไม่แฉะ และไม่เกิดน้ำท่วมขังเช่นกัน และหากพบข้าวโพดหวานมีลักษณะใบม้วนในช่วงเวลาแสงแดดจัด แสดงว่าดินมีความชื้นน้อย และข้าวโพดมีอาการขาดน้ำ ควรรีบให้น้ำทันที ส่วนก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 5-7 วันควรหยุดให้น้ำเพื่อให้ข้าวโพดหวานสะสมแป้ง และน้ำตาลในเมล็ดให้มากที่สุดก่อนการเก็บฝัก การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง ดังนี้ – ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ที่ 14 วันหลังปลูก โดยดินร่วนปนทราย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ดินเหนียวใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ – ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อต้นข้าวโพดอายุ 25 – 30 วัน ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ หากสภาพดินทรายให้เพิ่มสูตร 21-0-0 เป็น 80 กิโลกรัม/ไร่ หรือปุ๋ยยูเรียเป็น 44 กิโลกรัม/ไร่ – ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อต้นข้าวโพดอายุ 40-45วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร และอัตราเดียวกันกับครั้งที่ 2

ข้อพึงระวัง ->

โรค และแมลงที่สาคัญของข้าวโพดหวาน โรคราน้ำค้างหรือโรคใบลาย 1. สาเหตุเกิดจากเชื้อราเพอโรโนสเคอโรสปอร่า ชอใจ (Peromosclerspora sorghi) ที่สามารถติดในเมล็ดพันธุ์ได้ 2. ลักษณะอาการ ในระยะต้นกล้าพบใบมีทางสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลือง ที่เห็นได้ชัดจากฐานใบถึงปลายใบ ทำให้ต้นกล้าตาย ระยะข้าวโพดโตแล้วจะทำให้ต้นข้าวโพดแห้งตายก่อนออกดอก มักระบาดในฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิ้นสุดฤดูฝน 3. การป้องกันกำจัด – หมั่นตรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่ม หากพบข้าวโพดแสดงอาการ ให้ถอน และเผาทำลายทันที – ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น พันธุ์ซุปเปอร์สวีท ดีเอ็มอาร์ – ใช้สารเคมีป้องกัน เช่น เอพรอน 35 เอสดี คลุกกับลเมล็ดก่อนปลูก อัตรา 7 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา