ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นางสาวกาญดา ศิริสุนทร วันที่ : 2017-06-28-01:00:25

ที่อยู่ : ๑๐ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการทำเกษตรกระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือการผลิตสินค้า เกษตรชนิดเดียว เกิดปัญหาหลายๆด้านคือ
 1) รายได้ของครัวเรือนไม่มีเสถียรภาพ
 2) เศษวัสดุจากพืชและมูลสัตว์ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
 3) การผลิตสินค้าเดี่ยวบางชนิดใช้เงินลงทุนมาก
 4) ครัวเรือนต้องพึ่งพิงอาหารจากภายนอก
       ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการที่หาระบบการผลิตในไร่นา ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการผลิต ลดการพึ่งพิงเงินทุน ปัจจัยการผลิตและอาหารจากภายนอก เศษพืชและมูลสัตว์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกิจกรรมการผลิต ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและทำให้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านรายได้ •
          เพื่อลดการพึ่งพาด้านเงินทุน ปัจจัยการผลิต และอาหารจากภายนอก •
          เพื่อให้เกิดการประหยัดทางขอบข่าย •
          เพิ่มรายได้จากพื้นที่เกษตรขนาดย่อยที่จำกัด

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธ์ุพืช  และพันธ์ุสัตว์ที่ต้องการ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากสภาพเดิมที่ลุ่มๆ ดอนๆ และลาดเท มาเป็นการพิจารณาจัดแบ่งพื้นที่ให้มีความเหมาะสมแก่การปลูกพืชหลายชนิดตามต้องการ โดยยึดถือหลักการสำคัญคือ
          -บริเวณที่ลุ่มน้ำท่วมขัง จะใช้สำหรับเก็บกักน้ำโดยการขุดแต่งเป็นบ่อน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
  ?      -บริเวณพื้นที่ต่ำต่อเนื่องจากบ่อน้ำ อาจใช้สำหรับปลูกข้าวเพื่อกินในครอบครัว หรือ ปลูกพืชผักระยะสั้นสำหรับบริโภคและขาย เป็นรายได้หมุนเวียนทุกเดือน
  ?      -บริเวณพื้นที่เนินหรือพื้นที่ราบสูง อาจใช้สำหรับปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นหลายชนิด เพื่อสร้างรายได้ประจำปีที่มั่นคง
 2. การปรับปรุงดิน โดยการเพิ่มอินทรีย์วัตถุชนิดต่างๆ ลงไปในดินให้มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชมากยิ่งขึ้น เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และเศษหญ้า การหว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน การกลับหน้าดินด้วยเครื่องมือขนาดเล็กเพื่อทำลายศัตรูพืชในดิน เป็นต้น
 3. การจัดการน้ำที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ำที่เก็บกักไว้เป็นน้ำฝนที่มีปริมาณจำกัด ดังนั้น จึงต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อช่วยให้การใช้น้ำอย่างประหยัดและรวดเร็วทันเวลา เช่น เครื่องยนต์สูบน้ำขนาดเล็ก ท่อส่งน้ำ ถังเก็บน้ำ ก๊อกหรือวาล์วปิดเปิดน้ำ เป็นต้น การจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการปลูกพืชแบบผสมผสาน จึงต้องปรึกษาหรือเสาะหาความรู้จากนักวิชาการเกษตร หรือเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันในละแวกใกล้เคียง
 4. การคัดเลือกและวางแผนการเพาะปลูก มีข้อควรคำนึงที่สำคัญในการคัดเลือกและวางแผน ดังนี้
          -เลือกชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น ทนทานต่อโรคแมลงรบกวน ทนทานต่อความแห้งแล้ง เติบโตเร็ว ผลผลิตสูง ดูแลรักษาง่าย เป็นต้น
          -เลือกชนิดพืชจากความต้องการของพ่อค้า หรือผู้บริโภค โดยต้องคำนึงว่าพืชผลที่จะปลูกเพื่อขาย ควรมีตลาดรองรับ ซึ่งอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับแหล่งเพาะปลูก และสามารถปลูกได้ในช่วงเวลาที่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคต้องการ
          -เลือกพืชที่จะเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ เช่น ปริมาณน้ำฝน การกระจายน้ำของวันฝนตกในรอบปี อุณหภูมิหนาวเย็นแต่ละช่วงเวลา ความชื้น กระแสลม ตลอดจนความสูงต่ำของภูมิประเทศ และต้องคำนึงถึงธรรมชาติและอากาศ เช่น ไม่ควรปลูกพืชเมืองหนาวในเขตร้อน หรือปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นในพื้นที่ราบลุ่ม เป็นต้น
          -เลือกพืชที่ปลูกตามความรู้และประสบการณ์ของตนเอง โดยเริ่มต้นจากการปลูกน้อยๆ แล้วขยาย
มากขึ้นเมื่อมีประสบผลสำเร็จ
 5. การจัดการดูแลรักษาพืชผล ซึ่งได้แก่กิจกรรมการใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การพรวนดิน การกำจัดวัชพืช และการป้องกันโรคแมลงรบกวน กิจกรรมเหล่านี้ ต้องปฏิบัติสม่ำเสมอเป็นประจำจนกว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
 6. การเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้แก่ การเก็บรวบรวมผลผลิต การคัดแยกสิ่งเจือปนเน่าเสีย การเก็บรักษาผลผลิต
ก่อนขาย การบรรจุหีบห่อเพื่อลำเลียงไปขายหรือบริโภค เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา