ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นางอรวรรณ เหล่าชำนะ วันที่ : 2017-06-28-00:16:18

ที่อยู่ : 64/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำเกษตรกระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือการผลิตสินค้า เกษตรชนิดเดียว เกิดปัญหาหลายๆด้านคือ
 1) รายได้ของครัวเรือนไม่มีเสถียรภาพ
 2) เศษวัสดุจากพืชและมูลสัตว์ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
 3) การผลิตสินค้าเดี่ยวบางชนิดใช้เงินลงทุนมาก
 4) ครัวเรือนต้องพึ่งพิงอาหารจากภายนอก
       ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการที่หาระบบการผลิตในไร่นา ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการผลิต ลดการพึ่งพิงเงินทุน ปัจจัยการผลิตและอาหารจากภายนอก เศษพืชและมูลสัตว์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกิจกรรมการผลิต ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและทำให้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านรายได้ •
เพื่อลดการพึ่งพาด้านเงินทุน ปัจจัยการผลิต และอาหารจากภายนอก •
เพื่อให้เกิดการประหยัดทางขอบข่าย •
เพิ่มรายได้จากพื้นที่เกษตรขนาดย่อยที่จำกัด
 นอกจากนี้ยังมี การเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้เกษตรกรมีความเป็นอิสระในการดำรงชีวิต                                                 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          * ก่อนอื่นต้องดูสภาพดินก่อน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สภาพดินเหมาะกับการปลูกพืชอะไรได้บ้าง
          * การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เมื่อรู้แล้วว่าจะปลูกพืชอะไร ก็ดูว่า สัตว์ที่จะเลี้ยงนั้น เอื้อประโยชน์กับพืชที่ปลูกอย่างไรบ้าง ใช้เป็นอาหาiหรือใช้ประโยชน์อะไรจากพืชและสัตว์ มีการเอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างไร

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการแบ่งสัดส่วนกิจกรรมเกษตรระบบผสมผสาน
 เกษตรผสมผสานเป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดการพื้นที่แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10    ดังนี้                                   ขุดสระเก็บกักน้ำ  
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
         ปลูกข้าว 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
        ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้
       เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ นี่เป็นทฤษฎีปฏิบัติจริง พื้นที่เป็นนาทั้งหมดหรือไร่สวนด้วย

 

ข้อพึงระวัง ->

 ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องปฏิบัติงานกลางแจ้ง ตลอดวัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ปลูกพืชผักหรือไม้ล้มลุก ส่วนพื้นที่ไม้ผลก็จะมีร่มเงาต้นไม้ช่วยให้สภาพการทำงานร่มรื่นเย็นสบาย พื้นที่เพาะปลูกพืชแบบผสมผสานทุกแห่ง จะมีศาลาเล็กๆ ไว้สำหรับพักผ่อนช่วงในเวลาเที่ยงวัน หรือใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ รวมทั้งเป็นสถานที่พักอาศัยชั่วคราวด้วย

 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา