ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทำนา

โดย : นายทวน จันทร์สนม วันที่ : 2017-06-27-22:02:18

ที่อยู่ : 459 ม.16 ต.หนองบัว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปัจจุบันเกษตรกรเริ่มเกิดความดินรนในการทำมาหากินมาขึ้น จากการทำนาเพื่อได้ข้าวไว้กิน ดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เพราะค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อนรถมอเตอร์ไซต์ ค่าผ่อนรถไถเดินตาม หรือรถบรรทุกปิ๊คอัพ เข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในครอบครัว เกษตรกรที่ยังทำอาชีพเกษตรอยู่เริ่มขนขวายหารายได้เพิ่มจากการทำไร่ หรือจากการออกไปรับจ้างเป็นลูกจ้างในเมืองมากขึ้น เกษตรกรบางส่วนขายที่นาที่ไรเพื่อไปดาวน์รถบรรทุกปิคอัพบางคนก็ไม่สามารถจะผ่อนได้หมด ที่นาก็หมดรถก็โดนยึด การทำการเกษตรจึงเหลือเป็นบางครอบครัวเท่านั้น บางส่วนขายที่นาที่ทำกินที่ติดถนนใหญ่เพราะมีราคาสูงกว่า เพื่อไปซื้อที่ดินที่ไกลออกไปในราคาต่ำกว่า
เกษตรกรบางรายได้นำที่นาไปจำนอง บางส่วนจำนองด้วยตนเอง บางส่วนให้คนอื่นยืมไปจำนอง เป็นหนี้สินใช้คืนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ส่วนที่ใช้คืนไม่ได้ที่ดินก็กลายเป็นของธนาคาร ถูกขายทอดตลาดในราคาถูก ส่วนที่ใช้หนี้คืนได้ส่วนหนึ่งก็กู้จากแหล่งเงินทุนนอกระบบมาใช้หนี้ธนาคาร เพียงยืดระยะเวลาการถูกธนาคาร หรือนายทุนยึดไปได้ชั่วระยะเท่านั้น

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อบันทึกภูมิปัญญาของไทยไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

2.เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้ลดการใช้สารเคมี

3. เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกาตรกร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เมล็ดพันธ์ุ

2.ปุ๋ย

3.น้ำ

อุปกรณ์ ->

1.รถไถนา

2.เครื่องหว่านปุ๋ย

3.รถเกี่ยวข้าว

4.จอบ/เสียม/เคียว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำนาหว่าน แบ่งเป็น 2 วิธีคือ
1. นาหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวเพื่อคอยฝน และมีชื่อเรียกปลีกย่อยไปตามวิธีปฏิบัติ คือ
- การหว่านสำรวย เป็นการหว่านในสภาพดินแห้ง เนื่องจากฝนยังไม่ตก โดยหลังจากการไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องคราดกลบ เมล็ดจะตกลงไปอยู่ในระหว่างก้อนดิน เมื่อฝนตดลงมาเมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมาเป็นต้น 
- การหว่านหลังขี้ไถ เป็นการหว่านในสภาพที่มีฝนตกลงมา และน้ำเริ่มจะขังในกระทงนา เมื่อไถแปรแล้วก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามหลัง แล้วคราดกลบทันที
2. นาหว่านข้าวงอกหว่านน้ำตมหรือหว่านเพาะเลย โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา (มีรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) แล้วจึงหว่านลงในกระทงนา ซึ่งมีการเตรียมดินจนเป็นเทือก แยกเป็น 
- การหว่านหนีน้ำ ทำในนาน้ำฝน เนื่องจากการหว่านข้าวแห้งหรือทำการตกกล้าไม่ทัน เมื่อฝนมามาก หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้ว ก็หว่านข้าวที่เพาะจนงอก ลงไปในกระทงนาที่มีน้ำขังอยู่มากจึงเรียกว่า นาหว่านน้ำตม 
- นาชลประทาน หรือนาในเขตที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ การทำนาในสภาพนี้มักจะให้ผลผลิตสูง หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้วระบายน้ำออกหรือให้เหลือน้ำขังบนผืนนาน้อยที่สุด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่งอกขนาด “ตุ่มตา” หวานลงไป แล้วคอยดูแลควบคุมการให้น้ำ มักจะเรียกการทำนาแบบนี้ว่า “การทำนาน้ำตมแผนใหม่

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ 
- ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่างเมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์ 
- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำเพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง 
- คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง
อัตราเมล็ดพันธุ์ อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดินปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง แต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบายน้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม
การหว่าน ควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่านในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึงระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น 

ข้อพึงระวัง ->

-โรคและแมลง

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา