ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักสวนครัว

โดย : นายสมพง บุญน้อย วันที่ : 2017-06-26-21:04:47

ที่อยู่ : 74 ม.6 ต.อ่างทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เริ่มปลูกผักไว้กินในครัวเรือน เหลือไปขาย พอมีรายได้เพิ้มขึ้นจึงปลูกขายตลอดมา

วัตถุประสงค์ ->

อาชีพเสริม เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธุ์

ต้นกล้า

อุปกรณ์ ->

เมล็ดพันธุ์

ต้นกล้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมแปลงปลูก

เนื่องจากเมล็ดพืชผักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก มีระบบรากละเอียดอ่อน ถ้าเกษตรกรเตรียมดินไม่ดี

ก้อาจมีผลกระทบต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชผักได้ ดังนั้น ก่อนการปลูกพืชควรมี

การปรับสภาพดินให้เหมาะสมเสียก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีการปลูกผักหรือพืชชนิดอื่นโดยการ

ปล่อยนํ้าให้ท่วมแปลงแล้วสูบออก เพื่อให้นํ้าชะล้างสารเคมีและกำ จัดแมลงต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน แล้ว

จึงทำ การไถพลิกหน้าดินตากแดดไว้ เพื่อทำ ลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูที่อาศัยอยู่ในดินอีกครั้ง จากนั้น

เกษตรกรควรจะปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง โดยใช้ปูนขาว

ปูนมาร์ล หรือ แร่โดโลไมท์ อัตรา 200-300 กิโลกรัม/ไร่ แล้วรดนํ้าตามหลังจากการใส่ปูนขาวเพื่อ

ปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้เป็นกลางนอกจากนี้ควรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์

เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นพืชผักมีความแข็งแรงสามารถต้านทานต่อการเข้าทำ ลายของโรคและแมลงได้โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

ก่อนนำ เมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกในแปลงปลูกหรือแปลงกล้าเกษตรกรควรทำ ความสะอาดเมล็ด

พันธุ์ก่อน ตามขั้นตอนดังนี้

1. คัดแยกเมล็ดพันธุ์ โดยการคัดเมล็ดที่เสีย เมล็ดวัชพืชที่มีอยู่ปะปน และสิ่งเจือปนต่างๆออก

2. แช่เมล็ดพันธุ์ในนํ้าอนุ่ ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซยี สเปน็ เวลา 15-30 นาที จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์และยังกระตุ้นการงอกของเมล็ดอีกด้วย

3. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครานํ้าค้าง และโรคใบจุดควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี

เช่น เมทาแล็กซิน 35 เปอร์เซ็นต์ SD (เอพรอน) และไอโปรไดโอน (รอฟรัล) อัตรา 10 กรัม / เมล็ด

พันธุ์ 1 กิโลกรัม

การปลูกและการดูแล

การเลือกวิธีการปลูก ระยะปลูกเป็นเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผักที่เกษตรกรเลือกปลูก

แต่มีข้อแนะนำ คือ เกษตรกรควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อให้มีการ

ระบายอากาศที่ดี เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้ควรหมั่น

ตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยอาจเลือกสำ รวจเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 จุด/ไร่ ถ้าพบว่ามีการระบาดของ

โรคและแมลงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผักนั้น ก็ควรดำ เนินการกำ จัดโรคและแมลงที่พบ

ทันที

การใช้สารสกัดจากพืช

พืชที่นิยมนำ มาใช้สกัดเป็นสารควบคุมโรคและแมลง คือ สะเดา เนื่องจากในสะเดามีสาร

อะซาดิแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันและกำ จัดแมลงได้โดย

•สามารถใช้ฆ่าแมลงได้บางชนิด

• ใช้เป็นสารไล่แมลง

• ทำ ให้แมลงไม่กินอาหาร

• ทำ ให้การเจริญเติบโตของแมลงผิดปกติ

• ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง

• ยับยั้งการวางไข่และการลอกคราบของแมลง

• เป็นพิษต่อไข่ของแมลง ทำ ให้ไข่ไม่ฟัก

• ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารของแมลง

วิธีการใช้ คือ นำ เอาผลสะเดาหรือสะเดาที่บดแล้ว 1 กิโลกรัม แช่ในนํ้า 20 ลิตร ทิ้งค้างคืนไว้

1 คืน แต่ถ้าเกษตรกรมีเครื่องกวนส่วนผสมดังกล่าว ก็จะลดเวลาเหลือเพียง 3-4 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง

พืชบางชนิดเมื่อได้รับสารนี้แล้วอาจเกิดอาการใบไหม้เหี่ยวย่นหรือต้นแคระแกร็น ดังนี้เมื่อพบอาการต่างๆ เหล่านี้ ก็ควรจะงดใช้สารสกัดจากสะเดาทันทีชนิดของแมลงที่สามารถกำจัดได้ด้วยสะเดา

1. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลดี ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ชนิดต่างๆ หนอน

กัดกินใบ หนอนเจาะยอด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนหัวกระโหลก

2. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะ สมอฝ้าย หนอนต้นกล้าถั่ว

แมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อน

3. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลน้อย ได้แก่ หนอนเจาะฝักถั่ว เพลี้ยไฟ ไรแดง มวนและด้วงชนิดต่างๆ

พืชผักที่ใช้สารสกัดจากสะเดาได้ผล ได้แก่ ผักคะน้า กวาง ผักกาดหอม กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอก

แตงกวา แตงโม แตงเทศ มะเขือเทศ มะเขือยาว หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน พริกขี้หนู ตำ ลึง มะนาว

มะกรูด

การใช้สารแคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในการปฏิบัติจริงของเกษตรกรนั้น เกษตรกรต้องหมั่นตรวจ

แปลงปลูกพืชของตนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์สถานการณ์ของศัตรูพืชในแปลงของตน เมื่อ

ทราบสถานการณ์แล้วจึงพิจารณาเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำ จัดที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถ

ควบคุมหรือไม่มีวิธีการควบคุมใดที่ใช้ได้ผลแล้ว เกษตรกรอาจใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชนั้นๆ คือ

1. เป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับศัตรูพืชชนิดนั้น

2. สารเคมีนั้นสลายตัวได้เร็ว

3. ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคำ แนะนำ

4. เว้นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามคำ แนะนำ

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวัง

พืชบางชนิดเมื่อได้รับสารนี้แล้วอาจเกิดอาการใบไหม้เหี่ยวย่นหรือต้นแคระแกร็น ดังนี้เมื่อพบอาการต่างๆ เหล่านี้ ก็ควรจะงดใช้สารสกัดจากสะเดาทันทีชนิดของแมลงที่สามารถกำจัดได้ด้วยสะเดา

1. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลดี ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ชนิดต่างๆ หนอน

กัดกินใบ หนอนเจาะยอด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนหัวกระโหลก

2. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะ สมอฝ้าย หนอนต้นกล้าถั่ว

แมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อน

3. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลน้อย ได้แก่ หนอนเจาะฝักถั่ว เพลี้ยไฟ ไรแดง มวนและด้วงชนิดต่างๆ

พืชผักที่ใช้สารสกัดจากสะเดาได้ผล ได้แก่ ผักคะน้า กวาง ผักกาดหอม กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอก

แตงกวา แตงโม แตงเทศ มะเขือเทศ มะเขือยาว หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน พริกขี้หนู ตำ ลึง มะนาว

มะกรูด

การใช้สารแคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในการปฏิบัติจริงของเกษตรกรนั้น เกษตรกรต้องหมั่นตรวจ

แปลงปลูกพืชของตนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์สถานการณ์ของศัตรูพืชในแปลงของตน เมื่อ

ทราบสถานการณ์แล้วจึงพิจารณาเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำ จัดที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถ

ควบคุมหรือไม่มีวิธีการควบคุมใดที่ใช้ได้ผลแล้ว เกษตรกรอาจใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชนั้นๆ คือ

1. เป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับศัตรูพืชชนิดนั้น

2. สารเคมีนั้นสลายตัวได้เร็ว

3. ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคำ แนะนำ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา