ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกลำไย

โดย : นางขวัญเรือน โสดานา วันที่ : 2017-06-26-15:50:08

ที่อยู่ : 76/3 หมู่ที่ 14 ตำบลเขาชนกัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นการทำการเกษตรทางเลือกเนื่องจากครอบครัวมีอาชีพทำไร่ และทำนา ผลผลิตมีน้อย ราคาตกต่ำ ประกอบกับมีการให้ความรู้และมีเกษตรกรในหมู่บ้านหันมาลองปลูกไม้ผล คือ ลำไยนอกฤดู แล้วเกิดผลผลิตเป็นที่น่าพอใจแถมราคาไม่ตกต่ำ จึงหันมาปลูกลำไยเป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

สร้างรายได้ ให้กับครัวเรือน และเป็นการทำเกษตรทางเลือก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กิ่งพันธุ์ลำไย ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต สารเร่งการออกผล เป็นต้น

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ เช่น จอบ เสียบ เลื่อยตัดกิ่ง กรรไกรตัดแต่งกิ่ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เมื่อต้นพันธุ์มีอายุพร้อมต่อการออกผล เริ่มบำรุงต้นให้ใบมีความสมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 = 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 = 1 ส่วน ใส่ให้ ต้นละ 1 กิโลกรัม

2.หลังตัดแต่งกิ่งลำไยได้ 7 วัน ก็ต้องฉีดพ่นปุ๋ยเพื่อดึงใบอ่อนให้ออกมาเสมอกันทั้งต้น

ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนออกมาพร้อมสม่ำเสมอกันทั่วทั้งต้น แตกใบเร็วขึ้น ออกมารุ่นเดียวกันทำให้ง่ายต่อการดูแล นั่นมีความสำคัญมากในการทำใบลำไยให้ออกมาเป็นชุดๆ ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบและแมลงค่อมทอง เมื่อใบลำไยเริ่มคลี่แผ่ออก ก็จะต้องเริ่มฉีดสะสมอาหารด้วยปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบ การฉีดสะสมอาหารจะฉีดพ่นด้วยสูตรนี้ทั้ง 3 ครั้ง ห่างกันทุกๆ 10 วัน เพียงแต่ปรับเปลี่ยนสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามการทำลายหรือคาดการณ์แมลงศัตรูที่อาจจะมาทำลาย โดยต้องเน้นการฉีดเพื่อป้องกัน

 

 

 

 

7. ข้อพึงระวัง

          ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบและแมลงค่อมทอง

 

ข้อพึงระวัง ->

ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบและแมลงค่อมทอง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา