ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายอุบล คิรีทศ วันที่ : 2017-06-26-00:45:21

ที่อยู่ : 10/1 ม.3 ต.เนินขี้เหล็ก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

วัตถุประสงค์ ->

เป็นแหล่งอาหารหลักในครัวเรือน ลดรายจ่าย แบ่งปัน และเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ไก่  อาหารไก่  อาหารเสริม วัคซินและยาถ่ายพยาธิ

อุปกรณ์ ->

1.โรงเรือน

2.พันธุ์ไก่

3.อาหารไก่,อาหารเสริม

4.วัคซินไก่ , ยาถ่ายพยาธิ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.จัดเตรียมสร้างโรงเรือนที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ และมีพื้นที่ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติอย่างเพียงพอ ควรเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง และมีอากาศถ่ายเทได้เป็นอย่างดี ห่างไกลบ้านเรือนของคนในชุมชนพอสมควร

2.จัดหาพันธุ์ไก่ตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เช่น พันธุ์ไก่ลูกผสมพื้นเมือง หรือลูกผสม 3,4 สายเลือด โดยต้องซื้อพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้

3.อาหารหลัก เช่น ข้าวเปลือก รำปลายข้าว ข้าวโพด หรือเศษอาหารที่เหลือในครัวเรือน สำหรับลูกไก่ในระยะแรกเกิดถึงประมาณ 1 เดือน ควรใช้อาหารไก่เนื้อระยะแรกเลี้ยงจะได้ผลดีกว่า

4.การเลี้ยงไก่พื้นเมืองจะให้ได้ผลดีควรเลี้ยงอย่างเอาใจใส่และจริงจัง โดยควรถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก 6 เดือน และต้องให้วัคซินแก่ไก่ทุกระยะอย่างเคร่งครัด

5.การเลี้ยงไก่พื้นเมือง 1 ชุด จะประกอบด้วยพ่อพันธุ์ 1 ตัว และแม่พันธุ์ 5 - 7 ตัว โดยแม่ไก่ 1 ตัวควรเลี้ยงลูกไก่ชุดละประมาณไม่เกิน 8 ตัวเพื่อให้มีอัตราการรอดสูง โดยจะจำหน่ายเมื่อไก่มีน้ำหนักประมาณ 1.5 - 1.8 กิโลกรัม ราคาประมาณกิโลกรัมละ 70 - 80 บาท

6.ต้นทุนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองขึ้นอยู่กับค่าคอกและอุปกรณ์ที่่จำเป็น  จะอยู่ประมาณ 14,000 - 20,000 บาท

ข้อพึงระวัง ->

1.ควรเลี้ยงไก่ในช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงมีฝนไม่มากนัก

2.โรงเรือนควรมีคอนนอนไว้ที่มุมโรงเรือนให้เพียงพอกับจำนวนไก่ และจัดทำรังสำหรับแม่ไก่เพื่อไข่โดยใช้ตะกร้า กระบุง รองด้วยเศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าว หรือพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติไล่หมัดหรือไรไก่

3.อาหารไก่พื้นเมือง ส่วนใหญ่จะให้หากินเองตามธรรมชาติ และเสริมด้วยอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น  และที่จัดทำเอง หรือซื้อหาเพิ่มเติมจากท้องตลาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา