ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ช่าง

โดย : นายณฐพล จันทร์อิ่ม  วันที่ : 2017-06-24-20:47:59

ที่อยู่ : 49/18 หมู่ที่ 1 ตำบลพระนอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ช่างก่อสร้าง และผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้างจะเรียกทั่วๆ ไปว่า ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล จะมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า บริษัทรับสร้างบ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่ออาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปูน กิน ดิน ทราย แบบการก่อสร้าง

อุปกรณ์ ->

1. กรรไกรตัดเหล็กเส้น  กรรไกรตัดเหล็กเส้นมีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งานโดยใช้แรงกล มีด้ามยาวสำหรับโยกหมุนเฟืองเพื่อดันใบมีดเข้าหากันเพื่อตัดเหล็ก เหมาะกับการใช้ตัดชิ้นงานหยาบ คมกรรไกรเป็นเหล็กกล้าเหนี่ยวชนิดพิเศษ ตัวคีมผ่านการชุบแข็งตามมาตรฐาน คมกรรไกลผ่านควานร้อนเป็นพิเศษช่วยให้แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษทำให้ใช้งานได้ยาวนาน

 

2. กล่องจัดเก็บเครื่องมือ มีถาดแบ่งด้านใน แยกออกจากกันได้ คุณภาพมาตรฐาน แข็งแรง ทนทานสามารถใส่เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างลงตัว

 

3. สกัดปากแบน เป็นเครื่องมือซ่อมแซมที่ใช้งานร่วมกับค้อน จะใช้สกัดในงานตัดเศษโลหะส่วนเกินบนผิวโลหะ ตัดนอตหรือสกัดเกลียวที่ถอดไม่ออก ตัดรอยเชื่อมส่วนเกิน ตัดแผ่นโลหะ และเซาะร่อง สกัดทำมาจากเหล็กเนื้อดี มีความแข็งและเหนียวมากว่าเหล็กทั่วไป ลำตัวจะทำเป็นรูปหกเหลี่ยม ส่วนหัวจะเป็นรูปทรงกลมแบน ด้านปลายจะใช้เป็นคมสำหรับตัดโลหะจะมีหลายแบบปลายแต่ละแบบต่างก็มีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน

 

 

4.ตลับเมตรเครื่องมือใช้ในการวัดบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน     ที่ตัวเครื่องมือวัดมีหน่วยมาตรฐานการวัดมีหน่วยเป็นนิ้ว ฟุตและหน่วยเมตริกกำกับไว้ในเครื่องมือวัดชนิดเดียวกันเพื่อสะดวกในการใช้งาน

 

5.แปรงลวดเหล็กใช้ขัดถูชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดสูง และไม่ต้องการให้เกิดรอยบนผิวชิ้นงาน และไม่ให้ชิ้นงานเกิดสนิมขึ้นในภายหลัง แปรงลวดด้ามไม้ นิยมนำไปใช้ขัดถูชิ้นงานที่มีคราบสกปรกติดแน่น เช่น ถูตะไบ หรือ ใช้ขัดสนิม ขัดคราบกรัดกร่อนต่างๆ

 

6. เลื่อยปังตอ เลื่อยมืออย่างดี ทำจากเลื่อยกล้าสปริงใช้เลื่อยไม้อัด ตัดแต่งไม้งานเฟอร์นิเจอร์ ผ่าเดือย และใช้สำหรับเลื่อยตัดมุมเอียงต่างๆ คอยช่วยประคองเลื่อยให้แนวตัดมีความตรงมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับงาน ตัดเอียง เข้ามุมฉาก

 

7. ระดับน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่างใช้ในการวัดความลาดเอียงของพื้นที่ สามารถวัดระดับได้ทั้งในแนวราบ และแนวดิ่งเมื่อต้องการวัดความลาดเอียงของพื้นที่ ให้นำระดับน้ำวางลงบนพื้นที่ที่ต้องการตรวจ สังเกตที่ฟองอากาศภายในหลอดแก้ว ถ้าหากพื้นที่นั้นไม่มีความลาดเอียง  สังเกตฟองอากาศภายในหลอดแก้วต้องอยู่ตรงจุดกึ่งกลางตลอด

 

8. รอกกว้านสลิงไฟฟ้า เหมาะสำหรับงานทั่วไป ขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาติดตั้งง่าย ทนทานระบบวงล้อเบรคคู่ ทำงานฉับพลันและปลอดภัยใช้งานได้ดีกับระบบไฟฟ้ามาตรฐานในบ้าน

 

9. หน้ากากเชื่อมแบบปรับแสง หน้ากากเชื่อมแบบปรับแสงอัตโนมัติ ทนความร้อน น้ำหนักเบา ปลอดภัยด้วยแผ่นCD 2 ชิ้นเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดแสงด้วยเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยโดยสามารถปรับระดับความเข้มของกระจกได้ตามความต้องการ โดยทำงานอัตโนมัติด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์หน้ากากควบคุมการปรับแสงที่เกิดจากงานเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว

 

10. ตู้เชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบการทำงานของตู้เชื่อมไฟฟ้าโดยการไหลของกระแสไฟฟ้ามีการสลับกันไปมาระหว่างขั้วบวกและขั้วลบในวงจรไฟฟ้าและใช้ทรานฟอร์มเมอร์แทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมชิ้นงานกระแสไฟฟ้าที่นำออกมาใช้ถูกควบคุมโดยตัวควบคุม ซึ่ง ตู้เชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับสามารถปรับกระแสสูงต่ำได้ตามต้องการของผู้ใช้

 

11. เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้า ใช้ตัดเหล็กหรือโลหะได้ตามต้องการ ตัวเครื่องแข็งแรง ทนทาน

 

 

12. ปืนยิงตะปู เป็นเสมือนตัวยิงลวดหรือตะปูลงไปบนชิ้นงานทำให้สะดวกและรวดเร็วมากปืนลมก็มีหลายรุ่นหลายแบบแต่ก็เหลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

 

 

 

13. ชุดสว่าน ชุดสว่านมีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งานใช้สำหรับเจาะรูบนวัสดุหลายประเภท เป็นเครื่องมือที่ ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือดอกสว่านที่หมุนได้ดอกสว่านยึดอยู่กับเดือยด้านหนึ่งของสว่าน และกดลงไปบนวัสดุที่ต้องการจากนั้นจึงถูกทำให้หมุน ปลายดอกสว่านจะทำงานเป็นตัวตัดเจาะวัสดุ

 

14. นั่งร้าน เป็นโครงสร้างชั่วคราวใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมแซม ใช้สำหรับปีนขึ้นไปที่สูง และเหยีบขึ้นไปเพื่อทำงาน รวมถึงใช้ในการวางสิ่งของที่จำเป็นและเมื่อก่อสร้าง ซ่อมแซม วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ โดยนั่งร้านที่นิยมใช้จะสร้างจากเหล็กท่อ และมีแผ่นไม้วางพาดสำหรับวางยืนทำงานได้

 

15. ค้อน เครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งาน เช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายวัตถุ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง  แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอก

 

และเรายังมีเครื่องมือช่างอีกหลายอย่าง 

 

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก อัน ได้แก่การลงเสา เข็มและการหล่อ ตอม่อ เพื่อรองรับ โครงสร้าง ของเสาและคาน ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้น ตอนถัดไป หลังจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ พื้นและบันได ซึ่งจะต้อง เชื่อมต่อกับ เสาและ คาน ที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้น จะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบน เพื่อ ความสะดวก ในการทำงาน และ การลำเลียงวัสดุ ต่อจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ หลังคา ซึ่งในปัจจุบันส่วน ใหญ่มักจะทำเป็น โครงเหล็ก โดย เชื่อมต่อกับ เสาและคานชั้นบนสุด หลังจากการทำโครงหลังคา อันเป็น งานโครงสร้าง ส่วนสุดท้ายของ ตัวบ้าน แล้วก็มักจะต่อด้วย การมุงหลังคา เลยเพื่อทำ หน้าที่คุ้ม แดดคุ้มฝน ให้แก่ตัวบ้าน ซึ่งจะสร้างในลำดับถัดไป นอกจากนี้ ยังมีงานโครงสร้างของรั้วซึ่งอาจจะ ทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้างของตัวบ้าน ก็ได้แล้วแต่กำลังคนและ ความสะดวก เนื่องจากเป็นส่วนที่แยกจาก ตัวบ้าน แต่ถ้าเป็นบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัด จำเป็นต้องสร้างตัว บ้านให้ชิดกับรั้ว ก็มักจะทำรั้วภายหลัง เพื่อความสะดวก ใน การจัดวาง และ ลำเลียงวัสดุก่อสร้าง ในระหว่าง การก่อสร้างตัวบ้าน

ในขั้นตอนของ งานโครงสร้าง นี้มีข้อสังเกตบางอย่าง กล่าวคือ อาจมีงานหรือขั้นตอนอื่น ที่จะต้องทำหรือ เตรียมการใน ช่วงจังหวะนี้ ที่พบเห็นกันบ่อย และถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับบ้านทั่วไป นั่นคือ การฉีดยาป้องกันปลวก ไม่ว่า จะใช้ ระบบการวางท่อน้ำยา หรือใช้ ระบบการฉีดยา ให้ซึมลงไป ในดินโดยตรง จะต้องทำก่อนการทำพื้นชั้นล่างของตัวบ้าน โดยเฉพาะ ระบบการวางท่อน้ำยา ซึ่งจะ ต้องเดินท่อ โดยยึดกับคานคอดิน เพราะหลังจาก ทำพื้นชั้นล่างแล้ว จะไม่สามารถเดินท่อได้เลย ถ้าจะ คิดทำในภายหลัง จะทำได้อย่างมาก ก็เป็น การเจาะพื้นแล้ว ฉีดน้ำยาลงไป บนผิวดินด้างล่าง ซึ่งอาจก่อ ให้เกิดความเสียหาย ไม่สวยงาม และได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
อีกจุดหนึ่ง ที่ต้อง ระวังก็คือ การวางตำแหน่ง และ การเดินท่อประปา เนื่องจากในปัจจุบัน บ้านส่วนใหญ่ นิยม เดินท่อประปา ระบบฝังใต้พื้นเพื่อ ความสวยงาม ดังนั้นก่อน การเทพื้น จะต้องแน่ ใจว่า การวางแนวท่อ ต่างๆ ทำไว้อย่างเรียบร้อย และสอดคล้องกับ ตำแหน่งของก๊อกน้ำ ต่างๆที่ได้กำหนดไว้ หรือถ้าจะมี การเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การเทพื้น กลบแนวท่อ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้น การแก้ไขจะทำได้ลำบาก
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการมุงหลังคาก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องเตรียมการในกรณีที่ต้องการติดตั้ง วัสดุป้องกันความร้อน ใต้กระเบื้องหลังคา ก็จะต้องกำหนดไว้ก่อน และทำไปพร้อม ๆ กับขั้นตอนของ การมุงหลังคาเลย

งานก่อสร้างตัวบ้าน

งานก่อสร้างตัวบ้านเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องจากงานด้านโครงสร้าง งานหลักในส่วนนี้ได้แก่การ ก่อผนังและการติดตั้ง วงกบประตู หน้าต่าง ซึ่งจะต้องทำ ควบคู่กันไป เนื่องจากวงกบประตูหน้าต่าง และผนัง บ้านเป็นสิ่งที่ติดตั้ง เชื่อมต่อเข้า ด้วยกัน ซึ่งการทำผนังบ้าน ในขั้นตอนนี้ จะเป็นเพียงการก่ออิฐ ให้เป็นรูปเป็น ร่องก่อนเพื่อการติดตั้งวงกบ หลังจากทำการติดตั้ง วงกบเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉาบแต่งผนังไปพร้อม ๆ กับ การฉาบแต่งเสา และคาน ส่วนการติดตั้ง บานประต ูหน้าต่างอาจทำ การติดตั้งต่อเนื่องไปเลย หรืออาจจะค่อย ๆ ทยอยติดตั้ง หรืออาจ จะรอไปทำ ในช่วงหลังเลยก็ได้ หากเกรงว่า จะก่อเกิดความไม่สะดวกในการลำเลียงวัสดุ หรือก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษา

ในกรณีของบ้านที่มีการเดินท่อน้ำ และสายไฟเป็นระบบฝัง การเดินท่อน้ำและท่อร้อยสายไฟในส่วน ที่จะต้องฝังอยู่ภายในผนัง ก็จะต้องทำในช่วงนี้ การวางท่อต่างๆ จะเริ่มทำหลังจาก ที่ก่อผนังด้วยอิฐแล้ว โดย จะทำ การเจียนผนังอิฐ ให้เป็นร่องลึกลงไป เป็นแนวตาม ที่กำหนด เพื่อจะได้วางท่อ ให้ฝังลงไป ในผนังได้ก่อนที่ จะทำ การฉาบแต่งผนัง ฉะนั้นจุดที่ควรระวังในขั้นตอนนี้ก็คือ ก่อนการฉาบแต่งผนังจะต้องแน่ใจว่าการวาง ท่อต่าง ๆ ทำไว้อย่างถูกต้อง เรียบร้อย การวางตำแหน่งของสวิตซ์ไฟ ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับ การเดินท่อ ภายในผนังเป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับแนวท่อที่เดินไว้ หากจะ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การฉาบแต่งผนัง

งานด้านสาธารณูปโภค

งานในส่วนนี้ ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร การเดินสายไฟ และท่อร้อยสายไฟ สำหรับการเดินสายไฟ ระบบฝัง การเดินท่อน้ำประปา และ สายไฟ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การทำพื้นและผนัง ถ้าการเดินท่อน้ำและสาย ไฟเป็น ระบบเดินลอย คือเดินอยู่บนพื้นและ ภายนอกผนัง จะเริ่มทำได้หลังจาก มีการปูแต่งผิวพื้น และ ฉาบแต่งผนัง เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าการเดินท่อน้ำและสายไฟ เป็นแบบฝัง ก็จะต้องทำก่อน การเทพื้น การปูแต่งผิวพื้น และฉาบแต่งผนัง โดยควรจะมีการ ตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง ในการวางตำแหน่งของท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว

งานด้านสุขาภิบาล

งานด้านสุขาภิบาล ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำ สาธารณะ การวางท่อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้แก่ การติดตั้งถังบำบัดหรือการทำบ่อเกรอะและบ่อซึม ซึ่งงานในส่วนนี้ จะทำในช่วงไหน ก็ได้แล้วแต่กำลังคน และความสะดวก เนื่องงานเหล่านี้มักเป็นงานที่อยู่ภาย นอกตัวบ้าน แต่จะต้องทำหลังจากเสร็จงาน ด้านฐานราก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากความกระทบกระเทือน จากการทำฐานราก ส่วนในกรณีของบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัดเช่น ทาวเฮาส์ ซึ่งจำเป็นจะต้องติดตั้งถังบำ บัดหรือวางบ่อเกรอะและบ่อซึม อยู่ใต้พื้นห้องน้ำก็จะต้องทำก่อน การเทพื้นห้องน้ำ และในกรณีที่มีการวาง แนวท่อระบายน้ำ ไว้ใกล้กับ แนวรั้ว ก็ต้องทำหลังจาก การทำฐานราก ของรั้ว เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ ให้ท่อระบายน้ำชำรุด จากการทำฐานรากของรั้ว

งานตกแต่ง

งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความ สวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจร่วมอยู่ด้วย ก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่ง ในที่นี้ส่วนใหญ่ มักจะ เป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้ มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอนอื่น ๆ แล้ว
การเรียงลำดับขั้นตอน ในส่วนของงานนี้ ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ งานบางขั้นตอนอาจจะทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำควบคู่กัน ไปก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม หรือความเหมาะสมของ กำลังคนและวัสดุช่วงเวลานั้น ๆ นอกจาก งานบางขั้นตอน ที่สัมพันธ์กัน ก็จะต้องมี ลำดับก่อนหลัง เช่น การบุฝ้าเพดานจะต้องทำหลัง จากการมุงหลังคารวมทั้ง การเดินระบบท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟและสายไฟต่าง ๆ ในส่วนที่อยู่เหนือ ฝ้าเพดาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว การปูพื้นและบุผนัง จะต้องทำหลังจาก การเดินท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในส่วนที่ฝัง อยู่ภายใต้พื้น พื้น และภายในผนัง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การติดตั้งดวงโคมจะต้องทำหลังจากการบุฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อย แล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานตกแต่งเพิ่มเติม ในส่วนท้ายอีก ซึ่งอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ และมักจะไม่รวมอยู่

ในขั้นตอนการปลูก สร้างบ้าน เช่น การติดตั้งลูกกรง เหล็กดัด การติดตั้งผ้าม่าน การจัดสวน ฯลฯ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ จากตัวอย่าง ที่ยกมาตั้งแต่ต้น จะสังเกตเห็นว่า งานบางขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั้น การจัดลำดับขั้น ตอนและจังหวะเวลา ในการทำงาน อาจสามารถยึดหยุ่นได้ โดยไม่ส่งผลเสียหาย แต่ประการใด ในขณะที่งาน บางขั้นตอน ที่มีความสัมพันธ์กัน จะต้องมีการ จัดลำดับขั้นตอนและจังหวะเวลาในการทำให้เหมาะสม รวมทั้งการวางแผน การเตรียมการ และการประสานงานต่าง ๆ จะต้องกระทำ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผลงาน ที่ออกมามี ความถูกต้องเป็นไปตามที่ต้องการ เพราะ ความผิดพลาดบกพร่อง ในขั้นตอนหนึ่ง ขั้นตอนใดก็ตาม โดยเฉพาะขั้นตอนต้น ๆ ย่อมส่งผลเสียหายไปถึงขั้นตอนถัดไปด้วย ยิ่งถ้าปล่อยให้ผิดพลาด ล่วงเลยไป การแก้ไขในภายหลังก็ยิ่งกระทำได้ลำบากยิ่งขึ้น จึงควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา