ความรู้สัมมาชีพชุมชน

นายทวีป สังข์ศิริ

โดย : การปลูกอ้อย วันที่ : 2017-06-24-15:24:31

ที่อยู่ : ม.8 ต.นากลาง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็ฯอาชีพหลักของครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป้ฯรายได้ของครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธู์อ้อย

อุปกรณ์ ->

พันธุ์อ้อย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการปลูกอ้อย

 

การปลูกอ้อย

เทคโนโลยีการปลูก
การเลือกทำเลพื้นที่ปลูก
1. ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร
2. ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
3. การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก


--------------------------------------------------------------------------------

การเตรียมท่อนพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์อ้อยมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง
2. ตา
อ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก
3. ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้


--------------------------------------------------------------------------------

วิธีการปลูก
1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
2. การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย

การใส่ปุ๋ยอ้อย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม (เอ็น พี เค) ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ
1. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่
2. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่

การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนี้
1. ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
2. ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก

การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้อง ฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในขณะที่ดินมีความชื้น หัวฉีดควรเป็นรูปพัด นอกจากนี้สามารถคุมวัชพืชโดยปลูกพืชอายุสั้นระหว่างแถวอ้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากจะช่วยคุมวัชพืชแล้ว อาจเพิ่มรายได้และช่วยบำรุงดินด้วย

การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน

การบำรุงตออ้อย
1. ทำการตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันที หรือเสร็จภายใน 15 วัน ถ้าตัดอ้อยชิดดิน ก็ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย ทำให้ประหยัดเงินและเวลา
2. ใช้พรวนเอนกประสงค์ 1-2 ครั้ง ระหว่างแถวอ้อยเพื่อตัดและคลุกใบ หรือใช้คราดคราดใบอ้อยจาก 3แถวมารวมไว้แถวเดียว เพื่อพรวนดินได้สะดวก
3. ใช้ริปเปอร์หรือไถสิ่วลงระหว่างแถวอ้อย เพื่อระเบิดดินดาน ต้องระมัดระวังในเรื่องความชื้นในดินด้วย
4. การใส่ปุ๋ย ควรใส่มากกว่าอ้อยปลูก ใช้สูตรเช่นเดียวกับอ้อยปลูก
5. ในแปลงที่ไม่เผาใบอ้อยและตัดอ้อยชิดดิน ก็จะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ และเริ่มดายหญ้าใส่ปุ๋ยเมื่อเข้าฤดูฝน
6. การไว้ตออ้อยได้นานแค่ไหนขึ้นกับหลุมตายของอ้อยว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีหลุมตายมาก ก็จะรื้อปลูกใหม่

 

 

 

 

ก่อนจะ “เตรียมท่อนพันธุ์ ให้มีอายุที่เหมาะสมต้องอยู่ระหว่างอายุ 8-10 เดือนขึ้นไปจะทำให้ท่อนพันธุ์แตกราก แตกหน่อได้ดี โดยรากจะแตกออกมาก่อนและงอกตาตามมาทีหลังทำให้ระบบรากแข็งแรงขึ้น อ้อยจะผ่านแล้งได้ดีและมีหนอนกอเข้าทำลายน้อย เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้ว ต้องปลูกให้เสร็จภายใน 3-5 วัน ถ้าทิ้งไว้จะทำให้จุดเจริญของรากและตาเสียไป ความหนาของการกลบท่อน พันธุ์อ้อย

ในการปลูกอ้อย ข้ามแล้งที่เน้นปลูกเดือนตุลาคมให้กลบดินหนาประมาณ 2 นิ้ว  หากปลูกเดือนพฤศจิกายน กลบดินหนาประมาณ 3 นิ้ว และถ้าปลูกเดือนธันวาคม กลบดินหน้าประมาณ 4 นิ้ว ในเดือนตุลาคมดินยังมีความชื้นสูงอยู่ ต้องทำการพรวนดินในร่องอ้อยเพื่อให้ดินร่วนซุย ถ้าไม่พรวนเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่สามารถแทงพื้นดินได้”  

การปลูกอ้อย และนำผลผลิตออกจาก ไร่อ้อย เพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาล

ขณะที่การดูแลและบำรุงรักษาแปลงอ้อยหลังปลูก (ช่วงผ่านแล้ง) ต้องพรวนดินจะช่วยให้ความชื้นในดินไม่สูญเสียไป ช่วยลดอุณหภูมิที่ผิวดิน ทำให้อ้อยแล้งแตกกอมากขึ้นทำลายไข่แมลงศัตรูอ้อยตามผิวดิน ควรพรวนดิน เพื่อเพิ่มระดับความชื้นในดิน  การดูแลแปลงอ้อยช่วงหลังฝน อ้อยข้ามแล้งส่วนใหญ่จะเริ่มคลุมร่องอ้อย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชนั้นชาว ไร่อ้อย ควรพิจารณาการใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช โดยปฏิบัติควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ย  ซึ่งอ้อยจะมีระยะการเจริญเติบโตคือ

1.      ระยะงอก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากเริ่มปลูก 1.5 เดือน ( 3-6 สัปดาห์) อ้อยใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นในดินปุ๋ยรองพื้นช่วยให้รากแข็งแรง

2.      ระยะแตกกอ อายุประมาณ 1.5 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งอ้อยอายุ 1.5 – 3 เดือน ต้องการน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนมาก เพื่อช่วยให้แตกกอและหน่อเติบโต มากที่สุดอยู่ระหว่าง 2.5-4 เดือน หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว

3.      ระยะย่างปล้อง มีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว อายุประมาณ 3-4 เดือน จนถึงอายุประมาณ 7-8 เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีช้าลง มีการสะสมน้ำตาลเพิ่มขึ้นเพราะอ้อยอายุ 4-5 เดือนเป็นระยะที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น้ำและปุ๋ย

4.      ระยะแก่และสุก อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสมน้ำตาลไม่ควรใส่ปุ๋ย (ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์กฤชนนทร์ )

การปลูกอ้อย มีอยู่ 2 วิธีคือ

1.      การปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือการปลูกในช่วงเดือน ต.ค.- ธ.ค. ข้อดีของการปลูกช่วงนี้คือ ไม่ค่อยมีหญ้า และอ้อยได้จำนวนอายุหลายเดือนก่อนตัดส่งโรงงาน แต่ข้อเสียก็คือ งอกช้า เวลาปลูกต้องหยอดน้ำไปพร้อมท่อนพันธุ์ด้วยถึงจะดี

2.      การปลูกอ้อยฤดูฝน คือการปลูกอ้อยหน้า ก.พ.-พ.ค. ช่วงนี้อ้อยจะโตเร็ว งอกเร็ว แต่อ้อยจะมีอายุน้อย ผลผลิตไม่เต็มที่ เพราะต้องตัดส่งโรงงานในช่วงเปิดหีบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโรงงานจะเปิดหีบประมาณเดือนพ.ย. – เม.ย. แล้วแต่โรงงานว่าจะเปิดหรือปิดช่วงไหน เราไม่สามารถกำหนดเวลาตัดเองได้

ที่สำคัญการเตรียมดินคือ ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับ การปลูกอ้อย ถ้าดูแลในขบวนการนี้ดีๆ อ้อยจะสามารถเก็บไว้ได้หลายตอ และให้ผลผลิตสูง การปลูกอ้อย ถ้าละเลยขั้นตอนนี้ในปีถัดๆ ไปผลผลิตจะลดลงมากเก็บได้อย่างเก่งไม่เกิน 2 ตอ การไถต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุด

 

การจัดการระบบน้ำใน ไร่อ้อย

ซึ่งอ้อยมีความต้องการปริมาณน้ำในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน ระยะงอกต้องการความชื้นที่พอเหมาะน้ำไม่ขัง ให้มีความชื้นนิดหน่อยยอดอ้อยก็สามารถแตกยอดขึ้นมาได้ แต่ในระยะ 1- 3 เดือนนี้ อ้อยต้องการน้ำในปริมาณที่มากและต้องไม่ขาดน้ำในช่วงนี้ ดังนั้นในช่วงนี้ถ้าอ้อยขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ที่สำคัญคนที่ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะเจอปัญหาอ้อยขาดน้ำ ในช่วงนี้แนะนำให้ใช้วิธีการปล่อยน้ำลาด หรือให้ฉีดพ่นทางใบให้กับอ้อย ได้ทั้งน้ำได้ทั้งปุ๋ย ทำให้อ้อยโตเร็วหนีหญ้าได้  

สำหรับในแหล่งปลูกอ้อยที่มีน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ควรให้น้ำตามร่องทันทีหลังปลูก โดยไม่ต้องระบายออก กรณีที่ไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงได้ ควรให้น้ำแบบพ่นฝอย ต้องไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันนานกว่า 20 วัน เป็นระยะการสะสมน้ำตาลงดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน ถ้าฝนตกหนักต้องระบายน้ำออกทันที ให้น้ำทันทีหลังตัดแต่งตออ้อย

 

ข้อพึงระวัง ->

ระวังเรื่องน้ำ โรคระบาด และหนอน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา