ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงโค กระบือ

โดย : นส.ศิริเพ็ญ วินิจสร วันที่ : 2017-06-24-15:04:11

ที่อยู่ : ม.7 ต.นากลาง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นอาชีพเสริมของครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม่มี

อุปกรณ์ ->

ไม่มี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การคัดเลือกกระบือเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กระบือจะต้องมีลักษณะดี มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ การใช้อาหารดี มีรูปร่างสมส่วน มีอายุ 2.5 – 3 ปี เพศผู้สูงไม่น้อยกว่า 130 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 190 เซนติเมตร เพศเมียสูงไม่น้อยกว่า 125 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 185 เซนติเมตร ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกกระบือ หรือ ควายมาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ดังนี้
1.1 ดูจากสมุดประวัติ (pedigree) มาจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
1.2 ทำการทดสอบลูกหลาน (progeny test) พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตัวใดให้ดูที่มีลักษณะก็คัดไว้ทำพันธุ์
1.3 คัดเลือกโดยการตัดสินจากการประกวด ส่วนมากจะให้เป็นระดับคะแนนตามปกติกระบือให้ลูกปีละตัวหรือ 3 ปี 2 ตัว ถ้ากระบือให้ลูกต่ำกว่าร้อยละ 60 – 70 ควรตรวจดูข้อบกพร่องเพื่อที่จะต้องแก้ไข เช่น การให้อาหาร แร่ธาตุ การจัดการผสมพันธุ์ให้ถูกช่วงระยะของการเป็นสัด

2. การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควาย
โดยปกติกระบือจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์นั้น เพศผู้จะมีอายุ 3 ถึง 4 ปี เพศเมียมีอายุ 2 – 3 ปี แล้วแต่ความสมบูรณ์ของกระบือ จะใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว คุมฝูงแม่พันธุ์ได้ไม่เกิน 25 ตัว แต่ถ้าแยกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เลี้ยงต่างหากกัน พ่อพันธุ์ 11 ตัว สามารถคุมฝูงตัวเมียได้ 100 ตัว โดยสังเกตว่าแม่พันธุ์ตัวไหนเป็นสัดก็จะจับตัวผู้เข้าผสม การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควายปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ กระบือที่แสดงอาการเป็นสัดจะแสดงอาการดังนี้
-เอาหัวชนเพศผู้เหมือนหยอกล้อ
-เอาหัวคลอเคลียใต้คอและท้องของเพศผู้
-ใช้ลำตัวถูลำตัวเพศผู้
-เดินนำหน้าโดยหันก้นให้เพศผู้ บางครั้งอาจจะมีการยกหางขึ้น
-มีเสียงคำรามเบา ๆ
-ปัสสาวะบ่อย ๆ
2.2 เมื่อพบอาการเป็นสัดของแม่พันธุ์นานประมาณ 24 ชั่วโมงแล้ว ก็ทำการผสม อาจใช้วิธีการให้พ่อพันธุ์ผสมโดยตรงหรือผสมเทียมก็ได้
2.3 หากผสมไม่ติดจะกลับมาเป็นสัดอีกทุก ๆ 28 – 46 วัน ให้ทำการผสมใหม่ แต่ถ้าแม่พันธุ์ไม่เป็นสัดในระยะเวลา 1 เดือน ก็ถือว่าผสมติดและตั้งท้อง (ประสบ บูรณมานัส, 2520)

3. การดูแลแม่กระบือ หรือ ควายท้องถึงคลอดลูก
เมื่อกระบือแม่พันธุ์ตั้งท้องแล้ว การจัดการเลี้ยงดูให้ดีขึ้นเนื่องจากขณะนี้แม่พันธุ์ต้องกินอาหารเพื่อ เลี้ยงสองชีวิต อาหารโปรตีน แร่ธาตุ ต้องเพียงพอให้กระบือกินหญ้าสดเต็มที่ อาจเสริมอาหารข้นบ้างวันละ 1 – 2 กิโลกรัม มีก้อนแร่ธาตุให้กระบือได้เลียกินเพื่อเสริมแร่ธาตุ กระบือจะตั้งท้องนาน 10 เดือน หรือ 316 วัน การจัดการแม่กระบือท้องถึงคลอดลูกปฏิบัติได้ดังนี้
3.1 การจัดการดูแลแม่กระบือท้อง ทำได้ดังนี้
-ให้กระบือทำงานบ้างเพื่อเป็นการออกกำลังกายจะทำให้กระบือคลอดลูกง่าย แต่อย่าให้ทำงานหนักเกินไป
-อย่าให้ท้องผูกจะคลอดลูกยาก
-อย่าให้เดินไกล ๆ หรือวิ่งเร็ว ๆ
-อย่านำเข้าไปรวมกับกระบือแท้งลูก
-เมื่อแม่กระบือท้องแก่ใกล้คลอดต้องแยกไปขังไว้ต่างหาก

3.2 อาการของแม่กระบือ หรือ ควายที่จะคลอดลูก จะมีอาการดังนี้
-สองถึงสามวันก่อนคลอด เต้านมจะเต็มและขยายใหญ่ขึ้น มีน้ำนมไหลเวลาบีบ
- แนวท้องหย่อน
- อวัยวะเพศบวม
-อาการทุรนทุราย แสดงอาการปวดท้อง โดยทั่วไปแม่กระบือจะคลอดลูกเองในลักษณะยืนคลอด ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
-รกต้องออกภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอด

3.3 เมื่อแม่กระบือ หรือ ควายคลอดลูกแล้วให้ปฏิบัติดังนี้
-เช็ดทำความสะอาดตัวลูกกระบือ
-ตัดสายสะดือลูกกระบือ
-รกภายในตัวแม่ต้องออกภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าไม่ออกอาจจะต้องฉีดยาขับรก
-ถ้าลูกแสดงอาการแน่นิ่ง ให้ช่วยโดยดึงลิ้นออกจากปากแล้วจับขายกให้หัวห้อยลง
-เมื่อลูกกระบือหายใจได้แล้วควรช่วยให้ลูกกระบือกินนมแม่ที่เป็นนมน้ำเหลืองโดยเร็ว
-แม่กระบือเมื่อคลอดแล้วให้กินหญ้าอ่อน ๆ และพักผ่อน
-หากนมคัด ผู้เลี้ยงต้องรีดนมออกบ้าง
-แม่กระบือที่ให้นมลูกอาจจะขาดธาตุแคลเซียม จะมีอาการนอนหงายหน้าเอาหัวทับส่วนหลังลักษณะนี้เรียกว่า ไข้นม ต้องแก้ไขโดยฉีดแคลเซียมกลูโคเนตให้กับแม่กระบือ

4. การเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านม
เมื่อลูกกระบือคลอดแล้วจะปล่อยให้อยู่กับแม่และในระยะนี้เป็นระยะที่อันตราย มากที่สุด จะต้องดูแลลูกกระบือเป็นอย่างดี และจะต้องให้ลูกกินนมน้ำเหลืองจากแม่ในระยะ 3 วันแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ควรให้ลูกกินนมแม่จนอายุถึง 3 – 4 สัปดาห์ ก็หานมเทียมมาให้ลูกกระบือกินได้ หากแม่กระบือมีนมไม่พอ

การจัดการเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านมปฏิบัติได้ดังนี้
4.1 กระเพาะลูกกระบือจะสมบูรณ์เมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งลูกกระบือสามารถกินหญ้าได้บ้างแล้ว แต่การให้ลูกกระบือกินนมแม่ต่อไปจนถึงอายุ 6 เดือน โดยปกติลูกกระบือจะหย่านมได้เองเมื่ออายุ 7 – 8 เดือน
4.2 นำเครื่องหมายประจำตัวลูกกระบือ ทำได้หลายวิธี เช่น
-ใช้โซ่ห้อยคอแขวนป้ายพลาสติก
-การสักเบอร์หู
-การตีตราที่เขา และสะโพก
4.3 จดบันทึกพันธุ์ประวัติ
4.4 ตอนกระบือตัวผู้ที่ไม่ต้องการเก็บไว้ทำพันธุ์

5. การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือควายหลังหย่านมถึงหนุ่มสาวเมื่อลูก กระบืออายุ 6 เดือนไปแล้ว ก็จะเริ่มหย่านม การจัดการช่วงนี้ง่ายขึ้นโดยให้กระบือลงแทะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้า และอาจเสริมด้วยอาหารข้นบ้างบางครั้ง ลูกกระบือที่ไม่ได้ตอนควรแยกออกจากฝูง ส่วนลูกกระบือเพศเมียและเพศผู้ที่ตอนแล้วจะปล่อยเลี้ยงรวมกันในแปลงหญ้า การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควายหลังหย่านมทำได้ดังนี้
5.1 ให้อาหารข้น 1 - 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน อาหารผสมควรมีโปรตีน 16 – 18 เปอร์เซ็นต์
5.2 ให้กินหญ้าเป็นอาหารหลัก
5.3 มีก้อนแร่ธาตุแขวนไว้ให้กระบือเลียกิน
5.4 มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
5.5 เมื่ออายุ 18 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 250 – 300 กิโลกรัม

ข้อพึงระวัง ->

ต้องดูเรื่องโรคระบาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา