ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เห็ดฟางตะกร้า

โดย : นางบุษผา วารีปาน วันที่ : 2017-06-24-14:34:55

ที่อยู่ : ม.4 ต.นากลาง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว จึงคืดหารายได้เสริม เลยศึกษาการทำเห็ดฟางตะกร้า

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า

อุปกรณ์ ->

1.วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง

2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น

3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการ เพาะ เห็ดฟาง

1.      ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน

2.      หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า

3.      ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ

4.      อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า

5.      โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1

6.      ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1

7.      ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

  • สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท
  • ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว
  • รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน
  • คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
  • ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้
  • ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม
  • อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้

 

การเพาะเห็ดฟางอย่างง่าย โดย ชมรมเกษตรอินทรีย์ธรรมศาสตร์

1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด

2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า

3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ

4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1

5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า

6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง

7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย

8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น

9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า

ข้อพึงระวัง ->

ต้องดูเรื่องอุณภูมิ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา