ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เพาะเห็ดฟาง

โดย : นายทองหล่อ ก่อศิลป์ วันที่ : 2017-06-23-15:17:34

ที่อยู่ : 5/2 ม.1 ต.วังม้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพิ่มรายได้

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้วและส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดี ถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการเพาะต่าง ๆ แล้วตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวดและวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดีกว่าปลายฟาง

อุปกรณ์ ->

ไม้  กะบะไม้  พลาสติก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 7 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรค

2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำให้พออ่อนตัวก็สามารถนำมาเพาะได้ ปกติจะใช้เวลาในการแช่ฟางข้าวประมาณ 1 ชั่วดมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็งๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือ จุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกัน ไว้ประมาณ 1 คืน ให้ฟางอิ่มตัวและนิ่มดีเสียก่อนจึงจะนำมาใช้งานได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่มปกติจะแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก็นำมาใช้กองได้เลย

3. หลังจากแช่วัสดุที่จะเพาะในน้ำจนได้ที่ดีแล้ว ให้นำวัสดุเพาะอัดใส่กระบะไม้แบบที่วางเอาด้านป้านลงสัมผัสพื้นดิน และด้านแคบอยู่ส่วนบน โดยชั้นแรกใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านใน ใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมรดน้ำให้ชุ่ม ระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป 4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบๆ ทั้ง 4 ด้าน โดยให้มีความหนาของชั้นเชื้อเห็ดประมาณ 1 นิ้ว

5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่าๆ กัน จากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและขิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้าน ก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1

6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไป โดยทำเหมือนกับการทำชั้นที่ 1 ทุกประการ เมื่อมาถึงขั้นสุดท้ายให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง

7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1- 2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อไป

8. การขึ้นกองถัดไปควรกำหนดให้ขนานกับกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว จากกองแรก

9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีกโดยการโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกองเพราะบริเวณนี้ ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบๆ กองให้เปียก

10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่าองฟางเล็กน้อยโโยคลุมเป็นแถวๆ ถ้าอากาศร้อนให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรือคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญ ที่แต่ละแห่งในแต่ละฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุรหภูมิประมาณ 35-38 องศาเซลเซียส และ ในวันต่อๆ มาต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อยๆ จนราวๆ วันที่ 8-10 ซึ่งเป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้น ต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส

11. นำฟางแห้งมาคลุมทับผ้าพลาสติกอีกครั้งนึ่งจนมิด เพื่อป้องกันแสงแดดแล้วใช้ของหนักๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี ++ ศัตรูและการป้องกันกำจัด ++

1. แมลง ได้แก่ มด ปลวก จะมาทำรังและกัดกินเชื้อเห็ด และ รบกวนเวลาทำงาน การป้องกันนอกจากเลือกสถานที่เพาะเห็ด ไม่ให้มีมด ปลวก แล้วอาจจะใช้ย่ฆ่าแมลง เช่น คลอเดน หรือ เฮพต้าคลอร์ โรยบนดินรอบกองฟาง อย่าโรยในกองโดยตรงและให้โรยก่อนเริ่มทำกองเพาะ 1 สัปดาห์ อย่าโรยสารฆ่าแมลงลงบนกองฟางจะมีผลต่อการออกดอก และ มีสารพิษตกค้างในดอกเห็ด ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

2. สัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ หนู คางคก กิ้งกือ และ จิ้งเหลน จะมากัดกินเชื้อเห็ดและขุดคุ้ยลายแปลงเพาะบ้าง แต่ไม่มากนัก

3. เห็ดราชนิดอื่น ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก เห็ดด้าน จะเจริญแข่งขันและแย่งอาหารเห็ดฟาง ป้องกันได้โดยใช้ฟางที่แห้งสะอาดยังไม่มีเชื้อราอื่นขึ้น เลือกใช้เชื้อเห็ดฟางที่ดีและดูแลรักษากองฟางให้ถูกวิธี การเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝนและถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นนำไปเผาไฟทิ้งเสีย

ข้อพึงระวัง ->

1. สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟางชอบอากาศร้อนอุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก ภาคใต้ก็สามารถจะเพาะเห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่เกินไปนัก จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทย สามารถเพาะได้ตลอดปี ปต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลงเนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ราคาสูง กลังฤดูเกี่ยวข้าว อากาศร้อย ฟางและแรงงานมีมาก มีคนเพาะมากจึงเป็นธรรมดาที่เห็ดจะมีราคาต่ำลง ในฤดูฝนชาวนาส่วนมากทำนา การเพาะเห็ดน้อยลง ราคาเห็ดฟางในช่วงนั้นจึงดีขึ้น

2. ความชื้น ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟางมาก เป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใยเห็ดที่สำคัญ ถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฟ่อหรือเน่าตายไป น้ำที่จะแช่หรือทำให้ฟางชุ่มควรต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปนหรือเค็มหรือเป็นน้ำเน่าเสียที่หมักอยู่ในบ่อนานๆ จนเกิดกลิ่นเหม็น ก็ไม่ควรนำมาใช้ เส้นใยเห็ดจะใช้ความชื้นจากฟางที่อุ้มน้ำเอาไว้ และ ความชื้นจากพื้นแปลงเพาะก็เพียงพอแล้วต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดฟาง ปกติจะมีการให้น้ำเพียงครั้งเดียวคือระหว่างการหมักฟางเพาะทำกองเท่านั้น และรดน้ำช่วยในกรณีที่ความชื้นมีน้อยหรือกองแห้งเกินไป ด้วยการใช้ฝักบัวรดน้ำรอบๆ กองเพาะบริเวณด้านนอก

3. แสงแดด เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรงนัก ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไป เส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย หลังตจากทำกองเพาะเรียบร้อยแล้ว ให้คลุมกองด้วยผ้าพล่าสติกและใช้หางแห้ง ทางมะพร้าว หรือ หญ้าคา ปิดคลุมทับอีกชั้นหนึ่งเพื่อพรางแสงแดด **ดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจะมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแดดแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา