ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ถักแห

โดย : นายทองดี เหลามาลา วันที่ : 2017-05-09-08:38:11

ที่อยู่ : 178 ม.15 ต.เขาชนกัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริม และสร้างรายได้

เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของไทย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ด้าย

อุปกรณ์ ->

ชนุน

ไม้ไผ่

กรรไกร

ลูกแห หรือลูกโซ่ตะกั่ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน

วิธีการก่อจอมแห

1. ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจองมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น

2. ถักเพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ 3 ซม.

3. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาขายมีขนาดเท่ากันและดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากันถักไปเรื่อยๆ ตามความยาวของขนาดแหดังกล่าวข้างต้นซึ่งเราสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น การขมปมแหแบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขมปมแบบบ่วงสายธนุมาเป็นตัวอย่าง

1. ใช้ปาน (ไม้ไผ่) สอดเทียบกับตาแห จากนั้นก็ขึงด้ายสายแหไว้

2. ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้น จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วงแบบนี้

3. ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง แล้วก็ดึงให้รอดออกไป

4. ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อยๆ

5. สานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแหเป็นวิธีภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากประสบการณ์

ข้อพึงระวัง ->

ไม่มี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา