ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกไผ่

โดย : นายสมชาย แสนคูณ วันที่ : 2017-03-27-14:24:14

ที่อยู่ : 56 หมู่ที่ 6 ตำบลทับกฤชใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไม้ไผ่นับว่าเป็นไม้ที่มีประโยชน์มากต่อมนุษย์ เพราะสามารถนำมาเป็นอาหาร เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นที่อยู่อาศัย ไม้ไผ่บางชนิดสามารถนำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้

ปัจจุบันไม้ไผ่ที่มีอยู่ตามธรรมชาติร่อยหรอลงเนื่องจากถูกตัดมาใช้อย่างผิดวิธี โดยไม่ได้ปลูกเสริมทดแทน กับทั้งมีการบุกรุกทำลายเพื่อใช้พื้นที่ ทำการเกษตรกรรมด้านอื่น ๆ เช่น ทำไร หรือสวนผลไม้ต่างๆ

เกษตรกรจึงควรปลูกไผ่เพื่อเพิ่มปริมาณไม้ไผ่ทดแทนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับโลกแล้วเกษตรกรยังมีรายได้จากการปลูกไม้ไผ่ โดยต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการปลูกไม้ผลมากมาย เป็นการลงทุนครั้งเดียวที่ให้ผลตอบแทนได้ตลอดกาล และคุ้มค่ากว่า

วัตถุประสงค์ ->

1. นำไม้ไผ่มาจักสาน

2. เพื่อสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้นไผ่

อุปกรณ์ ->

จอบ,เสียม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อไถพรวนปรับพื้นที่และวางระยะปลูกไว้แล้วก็เตรียมหลุมปลูก โดยขุดหลุมขนาดกว้างยาวลึก ประมาณ 30-50 เซนติเมตร การปลูกโดยนำเหง้าที่ตัดมาจากกอแม่ลงหลุมปลูกซึ่งมีข้อแนะนำการตัดเหง้าจากกอแม่ดังนี้

1 เลือกต้นตอที่มีอายุ 1-2 ปี

2 ตัดโคนเหง้าให้ขาดจากกอแม่ แล้วขุดตัดรากโดยรอบ

3 เลือกขนาดต้นตอที่ไม่ใหญ่มากเกินไปนัก (ขนาดลำแขน) ความยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร
4 นำต้นตอที่ได้ไปปลูกให้เสร็จวันต่อวัน ถ้าจำเป็นควรจุ่มน้ำให้รากต้นตอชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทั้งนี้ไม่ควรตัดต้นตอไว้นานเกิน 48 ชั่วโมง

ข้อพึงระวัง ->

ปกติไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงในสวนไผ่มากนัก มีเพียงแมลงพวกหนอนผีเสื้อกลางคืนมากัดกิน และม้วนใบไผ่เพื่อหลบซ่อนและเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้บ้างเล็กน้อย แมลงที่เข้าทำลายหน่ออ่อนของไม้ไผ่ส่วนมากเป็นประเภทกัดกินหน่อ 4-5 ชนิด คือ หนอนด้วงเจาะหน่อไผ่ (ไผ่ตงลืมแล้งไม่ค่อยเจอเพราะลำค่อนข้างตัน), ด้วงกินหน่อ, ด้วงงวงเจาะกิ่ง , เพลี้ยอ่อนและมวนดูดน้ำเลี้ยง การควบคุมและกำจัดสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ ภายหลังที่หน่อเริ่มแตกจากตาของเหง้าปล้องแล้ว ก็หาทางป้องกันพวกเชื้อราและแมลงที่เข้ามากัดกินและอาศัยอยู่ตามกาบของหน่ออ่อน โดยการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น มาลาไทออน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้า หรือใช้ฟูราดาน ภูไมด์ หว่านลงที่ดิน แต่อย่านำหน่อไปบริโภคภายใน 60 วัน หรือใช้วิธีควบคุมโดยการลิดกิ่ง หรือตัดลำแก่ที่เป็นที่อยู่ของดักแด้ออก แล้วทำลายหรือขายลำไป จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงได้ ส่วนมากแล้วไม่ค่อยพบปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆ ในไผ่ตงลืมแล้ง แต่จะพบเพลี้ยตัวสีขาวๆ เกิดขึ้นตามข้อไผ่อ่อน เราอาจใช้ผงซักฟอกละลายน้ำราดรดลงไปก็จะหาย ถ้ามีจำนวนน้อยไม่มากนักก็ใช้มือขยี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้เคมีก็ต้องใช้ชนิดอ่อนๆ เช่น เซฟวิน ฉีดพ่นครับ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา