ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวโพด

โดย : นายประกอบ ทับจีน วันที่ : 2017-03-27-19:19:16

ที่อยู่ : 62 หมู่ที่ 4 ตำบลทับกฤชใต้

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่ค่อนข้างทนทานปลูกง่ายในสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย ถ้ามีน้ำเพียงพอจะสามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดปี การปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากน้ำฝนธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ดังนั้นฤดูปลูกข้าวโพดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับจำนวนน้ำฝน และการกระจายตัวของฝนในแต่ละเดือนนั่นเอง ปกติเฉลี่ยโดยทั่วๆ ไป ฝนจะเริ่มตกมากตั้งแต่เดือนมีนาคม พฤศจิกายน และระหว่างสิงหาคม-กันยายน เป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบันมีอายุปานกลาง คือ ประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ วัน ดังนั้น จึงอาจเลือกปลูกข้าวโพดได้ตามความเหมาะสม ถ้าปีใดมีฝนตกสม่ำเสมอแต่ต้นปี อาจปลูกข้าวโพดได้ ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกปลูกในระหว่างเดือนกรกฎาคม กลางเดือนสิงหาคม พวกที่ปลูกต้นฤดูฝนโดยทั่วๆ ไป มักได้ผลิตผลสูงกว่าพวกที่ปลูกปลายฤดูฝน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำฝนกำลังพอเหมาะ และโรคแมลงรบกวนน้อย แต่มีข้อยุ่งยากในการเก็บเกี่ยว ไม่สะดวกแก่การตากข้าวโพด เนื่องจากฝนตกชุก

วัตถุประสงค์ ->

1. สามารถสร้างงานสร้างรายได้ ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

2. สามารถเป็นจุดเรียนรู้ระดับหมู่บ้านและตำบล

3. มีความเชื่อมั่นในการพึ่งพาตนเองและชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

4. เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภาคเกษตรของจังหวัดให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดข้าวโพด

2. ปุ๋ย

อุปกรณ์ ->

รถแทรกเตอร์ไถตีดิน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกข้าวโพดควรปลูกเป็นแถว ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปฏิบัติรักษา เช่น การไถพรวน ระยะระหว่างแถวประมาณ ๓๕-๑๐๐ เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุมประมาณ ๒๕ เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าวโพดลงไปในหลุมซึ่งลึกประมาณ ๕ เซนติเมตร จำนวน ๒-๓ เมล็ด เพื่อกันเมล็ดไม่งอก เมื่องอกแล้วควรถอนให้เหลือหลุมละต้น ถ้าปลูกโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นข้าวโพดประมาณ ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ ต้น/ไร่ อย่างไรก็ตามระยะระหว่างหลุมอาจเปลี่ยนแปลงได้ อาจเป็น ๕๐ เซนติเมตรก็ได้ โดยเพิ่มเป็น ๒ ต้น/หลุม ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้ว ชาวไร่ไม่นิยมการถอนแยก เพราะสิ้นเปลืองแรงงานค่าใช้จ่ายมาก เวลาปลูกจึงหยอด ๒-๓ เมล็ด ลงไปในหลุม และไม่ถอนแยกเลยตลอดฤดูการปลูก

การจะปลูกถี่หรือห่างเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน ถ้าเป็นที่ดินป่าเปิดใหม่มีอินทรียวัตถุสูง ควรปลูกให้ถี่ขึ้น อาจปลูกได้ถึงไร่ละ ๑๒,๐๐๐ ต้น ดังนั้น อัตราปลูกหรือระยะปลูกจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่เฉพาะแห่ง

วิธีการหยอดเมล็ดอาจทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ไม้สักให้เป็นหลุมแล้วหยอดเมล็ดตาม ใช้จอบขุดแล้วหยอดเมล็ดตามรอยขุด หรือใช้เครื่องมือทุ่นแรงก่อนปลูกควรทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์เสียก่อน ถ้าอัตราความงอกต่ำ ควรหยอดเมล็ดเผื่อไว้ให้เพียงพอ เช่น ถ้าความงอกมีเพียงร้อยละ ๘๐ จะปลูกหลุมละ ๒ ต้น ก็ควรหยอดไว้หลุมละ ๓-๔ เมล็ด

ข้อพึงระวัง ->

ระวังโรคหนอน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา