ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกข้าวอินทรีย์

โดย : นางสาวอุบล พูลเพิ่ม วันที่ : 2017-03-25-16:12:41

ที่อยู่ : 33 หมู่ที 9 บ้านชุมม่วงเหนือ ตำบลปางสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการที่เป็นอสม.และพบเจอประชาชน มีปัญหาสุขภาพ สว่นหนึ่งมาจากการบริโภค และใช้สารเคมีในนาข้าว จึงหันตัวเองมาปลูกข้าวอินทรีย์ เพราะมีอาชีพการทำนาข้าวมาประมาณ 20 กว่าปีแล้ว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้ชุมชนมีข้าวอินทรีย์ไว้รับประทาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พันธุ์ข้าวหอมมะลิ

2. เตรียมแปลงปลูก

3. น้ำ

4. ปุ๋ยอินทรีย์

อุปกรณ์ ->

1. พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105

2. เตรียมแปลงปลูก

3. น้ำ

4. ปุ๋ยอินทรีย์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมเมล็ดพันธุ์
   เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควรมีคุณภาพดีคือ ไม่มีพันธุ์อื่นปน มีความแข็งแรง ความงอกดี ไม่มีโรคแมลง และสิ่งเจือปนต่างๆ ติดมากับเมล็ด นำมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ศูนย์ขยายพันธุ์พืช ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนที่นครสวรรค์  เป็นต้น โดยมีการเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนนำไปหว่านหรือแช่ โดยระวังมิให้ปนกับข้าวพันธุ์อื่น สำหรับอัตราเมล็ดที่ใช้นาดำ 5 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนนาหว่าน 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ระวังอย่างว่านข้าวให้นานเกินไป จะทำให้มีปัญหาการระบาดของโรคและแมลงได้ง่าย การเลือกพันธุ์ข้าวควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่ ถ้านาดอนฝนหมดเร็วควรใช้พันธุ์ กข 15 ถ้าเป็นนาลุ่มใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105

การเตรียมดิน
การเตรียมดินที่ดีจะทำให้ปัญหาของวัชพืช หญ้าต่างๆ ผักบุ้ง ผักปอดนา ฯลฯ ลดลง โดยควรมีการไถ่ดะทิ้งไว้เพื่อให้ข้าวเรื้อ และวัชพืชขึ้นหลังจากนั้น 10-15 วัน ให้ไถ่แปรตัดขวาง แนวไถ่ครั้งแรกเพื่อกลบหน้าดิน แล้วทิ้งไว้ให้ข้าวเรื้อและวัชพืชขึ้น จากนั้นอีก 10-15 วัน ไถแปรครั้งที่ 2 หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน แล้วคราดเก็บเอาวัชพืชทิ้ง ถ้าหากมีฝนตกต้นฤดูหลังจากไถ่ดะ ควรหว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วเขียว หรือโสนอัฟริกัน (สำหรับพื้นที่ดินเค็ม) อัตรา 5-8 กิโลกรัม/ไร่ จนถึงระยะออกดอกแล้วไถ่กลบทิ้งไว้ 10-15 วัน แล้วคราด ปักดำหรือว่านข้าวตาม จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี ทำให้สภาพของดินดีขึ้น 
การเตรียมแปลงก่อนปักดำหรือหว่านข้าว ควรทำร่องระบายน้ำและร่องทางเดินระยะห่างประมาณ 4-5 เมตร เพื่อความสะดวกในการเดินไปใส่ปุ๋ย สำรวจโรคแมลง
1.  ช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสม
1.1    ระยะที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 1-15 สิงหาคม เก็บเกี่ยว 28 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม เหมาะสำหรับพื้นที่ดังนี้
-      เขตควบคุมน้ำได้ ทั้งสภาพน้ำฝนและนาในเขตชลประทาน
-      เขตนาน้ำฝนที่เคยมีปัญหา ฝนทิ้งช่วงเดือนกรกฎาคม
1.2   หว่านระหว่าง 15 มิถุนายน-31 กรกฎาคม เก็บเกี่ยวระหว่าง 10-28 พฤศจิกายน เหมาะสมสำหรับ
-      เขตพื้นที่ลุ่มน้ำขัง
-       เขตฝนมาเร็วหมดเร็ว

ช่วงเวลาในการหว่านข้าวดังกล่าว จะให้ผลแน่นอน หากไม่มีการเกิดฝนแล้งในเดือนกันยายนและตุลาคม
  หว่านน้ำตม
-    กรณีดินเหนียว ทำเทือกแล้วระบายน้ำออกให้หมดแล้วจึงหว่านข้าวงอก คือ แช่ 1 วัน หุ้ม 2 วัน หลังจากหว่านข้าวเสร็จแล้ว หากมีน้ำขังต้องระบายออกให้หมดเพื่อมิให้เมล็ดข้าวเน่า
-      กรณีดินทราย ไถแปร โดยมีน้ำพอขลุกขลิก หว่านข้าวตุ่มตา (แช่ 1 วัน หุ้ม 1 วัน) แล้วคราดกลบ จุดที่มีน้ำขังต้องระบายน้ำออก

การควบคุมวัชพืช หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการควบคุมวัชพืช แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่างๆ การใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน การป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูพืช การจัดการนํ้า ระดับน้ำมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางลำต้น และการให้ผลผลิตของข้าวโดยตรงในระยะปักดำจนถึงแตกกอ ถ้าระดับน้ำสูงมากจะทำให้ต้นข้าวสูงเพื่อหนีน้ำทาใํห้ต้นอ่อนแอและล้มง่ายระยะนี้ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ถ้าต้นขาดน้ำจะทำให้วัชพืชเติบโตแข่งกับต้ข้าวได้ ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ ตลอดฤดูปลูกควรเก็บรักษาไว้ที่ประมาณ 5-15 เซนติเมตร จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน จึงระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน และพื้นนาแห้งพอเหมาะต่อการเก็บเกี่ยว การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวหลังข้าวออกดอก ประมาณ 30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่าระยะข้าวพลับพลึง การเก็บรักษาผลผลิต ก่อนนำเมล็ดข้าวไปเก็บรักษา ควรลดความชื้นให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ และเก็บรักษาด้วยวิธี จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เป็นต้นว่า เก็บในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ การใช้ภาชนะเก็บที่มิดชิดหรืออาจใช้เทคนิคการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการเก็บรักษา การเก็บในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำจะป้องกันการเจริญเติบโตของโรคและแมลงได้
 

ข้อพึงระวัง ->

ดวรตวบตุมแหล่งนำ้ที่จะเข่าไปในแปลงนา 

หมั่นตรวจแปลงนาเป็นประจำ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา