ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตไม้กวาดดอกหญ้า

โดย : นางสุดชาดา ศรีหาพล วันที่ : 2017-03-16-14:52:21

ที่อยู่ : 41 หมู่ 4 ตำบล.หนองผือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“ไม้กวาดดอกหญ้า” มีมาตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยา ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว  สมัยก่อนตั้งแต่ยังไม่มีไม้กวาดดอกหญ้า  เขาใช้ฟางข้าว  ทางมะพร้าว  นำมามัดรวมกันเป็นกำพอเหมาะมือ  ใช้ปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนและใช้เศษผ้าเช็ดถูร่วมกัน  ต่อมามีผู้สังเกตเห็นว่ามีดอกหญ้าชนิดหนึ่งมีก้านดอกเหนียว  ไม่หักง่าย  ซึ่งส่วนมากจะมีอยู่ที่ป่าบนภูเขา  ท่านจึงนำมามัดรวมกันเป็นกำพอเหมาะมือแล้วปัดกวาดบ้านเรือนเรื่อยมา  ดอกหญ้าเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดอกแขม”ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบการถักออกเป็นหลายรูปแบบที่เห็นใช้กันอยู่มี ๔ ชนิด  คือ  ไม้กวาดหางไก่  ไม้กวาดหางช้าง  ไม้กวาดหางปลา  และไม้กวาดนครนายก  แต่ละชนิดจะมีการถักแตกต่างกันออกไป

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.  นำดอกหญ้าแห้งที่เตรียมไว้แบ่งออกเป็นลูก (กองเล็กๆ) เพื่อใช้ถักไม้กวาดในส่วนหัว ซึ่งส่วนหัวของไม้กวาดจะมี ๒ ส่วนคือ ส่วนอกและส่วนปีก ส่วนอกคือตรงกลางที่นูนขึ้น ส่วนปีกคือด้านข้างที่แผ่ออกไป  ในการถักแขมนั้นจำนวนลูกของดอกหญ้าที่ใช้จะขึ้นอยู่กับขนาดของไม้กวาด แต่ส่วนมากถ้าเป็นส่วนปีกจะใช้ทั้งหมด ๑๖ ลูก และส่วนอกจะใช้ทั้งหมด ๖ ลูก

๒.  นำไม้ไผ่ที่มีความยาวประมาณ ๗๐-๘๐ ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ ซม. มาเฉาะ

ที่ปลายเพื่อให้ไม้ไผ่มีความแหลมไว้สำหรับเสียบเข้ากับตัวหัวไม้กวาดที่ถักเสร็จแล้ว และเจาะรูที่ส่วนปลายของไม้ไผ่เพื่อใช้ยึดส่วนหัวและส่วนด้ามให้มีความมั่นคง

๓.  นำส่วนหัวที่ถักเสร็จแล้วมาตัดในแนวเฉียงเพื่อเสียบใส่กับด้ามไม้กวาด

๔.  นำส่วนหัวและส่วนด้ามมาประกอบและใช้เชือกไนล่อนหรือหวายในการยึดเพื่อให้มั่นคงและแข็งแรง

ข้อพึงระวัง ->

๑. ไม้ไผ่ที่นำมาทำด้ามไม้กวาดต้องใช้ไม้ที่แก่อายุไม้ ๑ ปีขึ้นไป

๒. ด้ามต้องตรงและลมไฟเพื่อให้แห้งสนิทป้องกันมอดเจาะ และควรทาด้วยสีทาไม้ เพื่อความสวยงามและคงทน

๓. ต้องเลือกดอกแขมที่ไม่แก่เพราะจะทำให้ดอกร่วง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา