ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกผักอินทรีย์

โดย : นางสุจารี ธนสิริธนากร วันที่ : 2017-03-03-09:58:25

ที่อยู่ : เลขที่ ๘๖ หมู่ ๒ ตำบลฆ้องชัยพัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปี พ.ศ. 2552 ทีมวิจัยบ้านดอนแคนจำนวน 12 คน ร่วมกับ กศน.ตำบลฆ้องชัยพัฒนา ได้ทำงานวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดสารพิษ สืบเนื่องจากการปัญหาสุขภาพของชาวบ้านดอนแคนที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น สาเหตุที่ค้นพบในรายงานการวิจัยคือการประกอบอาชีพและการบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้าง เนื่องจากชาวบ้านดอนแคนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและมีการใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีสารเคมีตกค้างทั้งในดิน น้ำ อากาศ และในผลิตผล  รายงานผลการวิจัยได้เสนอทางออกให้กับชาวนาโดยการให้เกษตรกรหันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์แทนเกษตรเคมี  ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพของตัวเองและผู้บริโภค

แกนนำชาวบ้านดอนแคนกลุ่มหนึ่งตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และด้วยปณิธานอันแน่วแน่ในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาจึงมีการรวมตัวกันตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ขึ้นมา ทำเกษตรอินทรีย์ใช้เวลา 5 ปีจึงผ่านกระบวนการและได้รับใบรับรองผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์มาตรฐานประเทศไทย(Organic Thailand) จากกรมวิชาการเกษตร

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑    ปุ๋ยหมัก

๒    เชื้อราไตรโคเดอม่า

๓     เชื้อราบีที

๔    สารสกัดจากธรรมชาติเพื่อไล่แมลง  ได้แก่  สารสะเดา  หรือน้ำสมควันไม้

อุปกรณ์ ->

๑)     จอบ  เสียม คราด

๒)    ผ้าแสลน  ไว้คลุมแปลงผักช่วงขยายต้นกล้าลงแปรงใหม่ๆ

๓)    บัว/สายยางรถน้ำ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑)     คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ใช้เมล็ดพันธุ์ทีดี  ไม่ตัดต่อทางพันธุกรรม  จะก็บเองหรือ๙จากร้านขายเมล็ดพันธุ์ก็ได้

๒)    ทำปุ๋ยหมัก

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

        ให้เอา (๑)+(๒) ผสมให้เข้ากัน  แล้วเอา (๔) +(๕)+ (๖) คนให้เข้ากันแล้วรด  ให้มีความชื้น  ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วเอา (๓) + กับ (๑)+(๒)  เคล้าให้เข้ากัน  หมักไว้ ๗ วัน เอาไปใช้ได้

๑)     เตรียมแปลงปลูก

การเตรียมแปลงถ้าพื้นที่ไม่มากใช้วิธีจุดด้วยจอบ  ถ้าพื้นที่เยอะให้ใช้รถไถ  ตากดินให้แห้ง

๒)    การเพาะกล้า

-                   แช่เล็ดพันธุ์ไว้ 1 คืน  นำมาห่อใส่ผ้าไว้  ผึ่งลมให้แห้งแล้วนำไปเพาะ เพื่อให้อัตราการงอกสูงขึ้น

-                   นำปุ๋ยหมักผสมกับไตรโคเดอม่าหว่านลงไปบนแปลงแล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน  ใช้คลาดเกลี่ยดินให้เรียบเสมอกัน ใช้ไม้ขีดแปลงเป็นแถว

-                   หยอดเมล็ดตามร่องที่ขีดไว้ 

-                   คลุมด้วยฟางแห้งบางๆ  รดน้ำให้เปียก วันละ ๒ รอบ เช้าเย็น

๓)    การขยายต้นกล้าลงแปลงปลูก

-                   เตรียมแปลงเหมือนตอนเพาะกล้า  ปูด้วยฟางแห้ง รดน้ำให้เปียกชุ่ม

-                   นำต้นกล้าที่มีอายุ ๒๐-๒๔ วัน มาขยายลงแปลงปลูก  ระยะห่างแล้วแต่ชนิดผักที่ปลูก  ไม่ให้เบียดกันเกินไปตอนผักโตเพราะจำทำให้เกิดโรคได้ง่าย

-                   ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโดม คลุมด้วยผ้าแสลนในตอนกลางวัน  เพื่อลดการคายน้ำ ไม่ให้ผักเหี่ยวเฉาเกินไป  ตอนเย็นเปิดผ้าออก  ทำแบบนี้ ๓ วัน ติดต่อกัน  จากนั้นก็เอาไม้ออก

๔)    การดูแลรักษา

-                   เมื่อนำต้นกล้ามาขยายลงแปลงได้ ๑๐ วัน ให้เริ่มใส่ปุ๋ยหมัก บางๆ

-                   สัปดาห์ต่อมาให้รดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์  ถ้าเป็นโรคก็ให้ฉีดพ่นด้วยสารสกัด

-                   สัปดาห์ถัดมาให้ใสปุ๋ยหมักอีก  ทำแบบนี้อยู่สี่รอบ  ก้สามารถเก็บผลผลิตได้ สำหรับผักบางชนิด

สูตรการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากป่า

(๑)      หัวเชื้อดินดีจากป่า  ๑ ส่วน  (๑ กิโลกรัม)

(๒)  รำละเอียด  ๑ ส่วน (๑ กิโลกรัม)

(๓)   เศษใบไม้แห้ง  แกลบดิบ  หรือใบไผ่แห้ง ๑ กระสอบ (๕ กิโลกรัม)

(๔)   กากน้ำตาล ๒๕๐ ซีซี ผสมน้ำเปล่า ๕ ลิตร

วิธีการทำ

นำวัสดุมาคลุกเคล้ากัน  รดด้วยกากน้ำตาลหรือที่เรียกว่า .”โมลาส” รดน้ำความชื้นประมาณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์  คลุมด้วยผ้าใบให้เกิดเส้นใย ๗ วัน  ปล่อยให้แห้งเป็นก้อนก็สามารถนำจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงไปขยายเป็นหัวเชื้อกองปุ๋ยหมักได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา