ความรู้สัมมาชีพชุมชน

มวยนึ่งข้าว

โดย : นางสาวบุษลินท์ ชาสีโท วันที่ : 2017-03-08-09:58:56

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 23 หมู่ 6 ตำบลอิตื้อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา

          กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เริ่มรวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน เพื่อวัตถุประสงค์สืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน และเพิ่มรายได้ให้คนในครอบครัว สมาชิกในกลุ่ม ประกอบกับได้จัดตั้งกลุ่มแล้ว ผลิตภัณฑ์ได้จำหน่ายแล้วมีรายได้ดี ซึ่งมีแหล่งจำหน่ายทั้งภายในหมู่บ้าน อำเภอ และต่างจังหวัด จึงยึดเป็นอาชีพเสริม และดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อวัตถุประสงค์สืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน และเพิ่มรายได้ให้คนในครอบครัว สมาชิกในกลุ่ม ประกอบกับได้จัดตั้งกลุ่มแล้ว ผลิตภัณฑ์ได้จำหน่ายแล้วมีรายได้ดี ซึ่งมีแหล่งจำหน่ายทั้งภายในหมู่บ้าน อำเภอ และต่างจังหวัด จึงยึดเป็นอาชีพเสริม และดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน   

๑)     ไม้ไผ่บ้าน                                    

๒)     เลื่อย

๓)     มีดโต้

๔)     หินรับมีด

๕)     มีดจักตอก

๖)     กบเหลาตอก

๗)    เข็ม

๘)     ด้าย

๙)    กรรไกร

๑๐) เชือก

อุปกรณ์ ->

๑)     ไม้ไผ่บ้าน                                    

๒)     เลื่อย

๓)     มีดโต้

๔)     หินรับมีด

๕)     มีดจักตอก

๖)     กบเหลาตอก

๗)    เข็ม

๘)     ด้าย

๙)    กรรไกร

๑๐) เชือก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

                การจักตอก

.  การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง

.  การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตาก

   -การสาน

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐาน

ด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

               

 -การรมควัน

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย  ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย  จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

 

   -การถักและพัน

  เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม  ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย  มีการผูกปาก  พันขา  ใส่ฐานและหูหิ้ว

 

 

วิธีการจักสานมวยนึ่งข้าว

การสานมวยนึ่งข้าว

. วิธีคัดเลือกไม้ไผ่บ้าน เพื่อใช้จักสาน

. วิธีตัดไม้ไผ่ตามขนาดความยาวของปล้องไม้ไผ

. วิธีผ่าไผ่เป็นซีก ๆ ขนาด 2 เซนติเมตร เหลาให้เรียบและ

   ให้ปลายเรียวด้านหนึ่ง

. วิธีจักออกเป็นตอกให้เป็นเส้นบาง ๆ
๕. วิธีขุดตอกให้เรียบเสมอกันด้วยกบขูด

. วิธีนำเส้นตอกก่อมวย โดยขึ้นลายสามตามความยาวประมาณ 50 เซนติเมตา และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร
๗. วิธีสานลายสองเวียนต่อขึ้นไปจากข้อ 5 ความยาวตามต้องการ ( ชิ้นที่ 1 เป็นชั้นในของมวย )
๘. วิธีนำเส้นตอกมาก่อใหม่ สานลายสองยืน ให้มีความสูง สั้นกว่าชิ้นที่ 1 ประมาณ 4 เซนติเมตร และสานลายสองเวียนต่อขึ้นไปให้มีความยาวเท่ากับชิ้นที่ 1
๙. วิธีเหลาไม้ไผ่ทำขอบก้นมวย ให้มีขนาดความกว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร จำนวน 2 อัน และทำขอบปากมวยขนาดความกว้างประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร จำนวน 2 อัน

 

 

 


๑๐. วิธีเข้าขอบก้นมวยและปากมวยโดยใช้เชือกฟางมัดตรึงไว้ แล้วนำหวายและเครือเถาวัลย์ ที่เหลา เป็นเส้น ๆ แล้ว มาแช่น้ำ เพื่อนำมามัดขอบก้นและขอบปากมวย อีกชั้นหนึ่งให้แน่น เรียบและสวยงาม
๑๑. วิธีนำหวายหรือเครือเถาวัลย์ มาสานฝาตุปิดก้นมวย (ฝาปิดก้นมวย) โดยสานเป็นลายสอง จะได้มวยที่มีคุณภาพดี

ข้อพึงระวัง ->

- เทคนิค

                   หากขนาดตอกเส้นเล็กจะได้ลายที่ละเอียด  และสวยงามกว่าตอกเส้นใหญ่

 - ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

     ถ้าซื้อไม้ไผ่ไปแล้วยังไม่จักสานให้นำไปใส่หม้อนึ่ง นึ่ง เพื่อป้องกันมอด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา