ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกผักสวนครัว

โดย : นายเกรียงศักดิ์ การลุ วันที่ : 2017-05-17-15:50:13

ที่อยู่ : 211 หมู่ที่ 1 ตำบลมหาไชย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ

ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะ สตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบ ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่าย   เพิ่มรายได้ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.พันธุ์ผัก

2.ปุ๋ยคอก

อุปกรณ์ ->

1.จอบ เสียม

2.บัวรดนำ้

3.พลั้วพรวนดิน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 วิธีการปลูกพืชผักสวนครัว

 วิธีการปลูกพืชผักสวนครัว

 

พันธุ์พืชสวนครัวที่ปลูกกันมากในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการเป็นไปอย่างรวดเร็วมนุษย์เรารู้จักคัดเลือกพันธ์ุได้ต่างกันคือ

     1. การหว่าน พืชผักกินใบพวกผักบุ้ง ซึ่งเป็นพืชอายุสั้น การหว่านที่จะให้ผลดีควรจะนำเมล็ดไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ให้เมล็ดขยายตัวเกิดการงอกขึ้นก่อน แล้วจึงนำไปหว่านบนพืิ้นที่ๆเตรียมไว้ การปลูกโดยการหว่านนี้ ควบคุมการงอกของเมล็ดได้ยาก และจะได้ระยะที่ปลูกไม่แน่นอนจะมีข้อดีในเรื่องของต้นที่ได้จากการหว่านปลูก แต่งใหม่ ในปัจจุบันนี้บริษัทบางแห่งซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ได้ผลิตแผ่นเทปยาวๆที่มีเมล็ดจัดวางอยู่ตามลักษณะระยะปลูกของผักแต่ละชนิด เมื่อนำไปปลูกลงดินแผ่นเทปก็จะเปื่อยยุ่ยผสมกับดินไป เมล็ดก็จะงอกขึ้นตามระยะที่จัดไว้ เป็นเรื่องที่ทันสมัยแต่ไม่ประหยัด

 การหว่านเมล็ดลงแปลงกลางแจ้งโดยตรง จะใช้ไม่ได้กับเมล็ดพันธ์ุที่มีขนาดเล็กมากๆ ซึ่งเมล็ดพันธ์ุที่มีขนาดเล็กมากนั้นส่วนมากจะมีราคาแพง ต้องการการเตรียมดินที่ละเอียด มีการป้องกันแสงแดด ลมแรงและฝนได้ดี

     2. การหว่านเมล็ดแล้วถอนแยก เป็นวิธีการที่นิยมมาก ในแหล่งปลูกพืชผักสวนครัวในภาคกลาง ผักที่นิยมปลูกโดยวิธีนี้ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม ผักกาดหัว วิธีการนี้การเตรียมดินก็เหมือนกับการหว่านกลางแจ้งปกติ แต่เมื่อต้นกล้างอกแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากหว่านก็ทำการถอนแยกต้นกล้า. เพื่อจัดระยะปลูกให้เหมาะสมใหม่cropped-images.jpg

     3. การหยอดเป็นหลุม วิธีการหยอดเป็นหลุมนี้ นิยมใช้กับพืชผักที่มีเมล็ดโต ปลูกแล้วจะได้ต้นกล้าที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เช่น ข้าวโพด ถั่วชนิดต่างๆแตงไทย ฯลฯ วิธีนี้ทำได้โดยการเตรียมหลุมให้ได้ระยะปลูกที่เหมาะสม กับเมล็ดพันธ์ุแต่ละชนิด แล้วหยอดหลุมๆละ1-3 เมล็ด หลังจากงอกแล้วก็ถอนแยกให้เหลือต้นกล้าที่โตแข็งแรงตามจำนวนที่ต้องการ

     4. การปลูกด้วยวิธีย้ายกล้า กล้าผักคือพืชต้นอ่อนที่ใบจริง 2-3 ใบ มีความสูง 5-10 ซม. หรืออายุ 21-30 วัน ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของผัก การปลูกพืชด้วยการเพาะกล้านี้มีข้อดีคือ สามารถกำหนดระยะเวลาในการปลูกได้ตามต้องการ พืชที่ปลูกด้วยกล้ามีเวลาอยู่ในแปลงน้อย ดูแลได้ทั่วถึง

     5. การปลูกด้วยการใช้ส่วนต่างๆ เช่น ต้น ราก และหัว ได้แก่ หอมแบ่ง กระเทียม ขิงข่า ตะไคร้

 

การดูแลพืชผักสวนครัว

     1. การให้น้ำ เป็นการรักษาความชุ่มชื้น การรักษาความชุ่มชื้นหมายถึง การให้น้ำแก่พืชซึ่งต้องคำนึงถึงการทดน้ำและระบายน้ำ การทดน้ำเป็นการเอาน้ำเขตในแปลงเพาะปลูกแต่เมื่อน้ำท่วมสวนและขังนานๆพืช หายใจไม่ได้ก็อาจจะตายในที่สุด จึงต้องขุดร่องระบายน้ำให้ระดับน้ำลดลง

 สำหรับการให้น้ำ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติดังนี้

 

     1.1 รดน้ำต้นไม้ในตอนเช้าและตอนเย็น ซึ่งฝนไม่ตก ให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ

     1.2 อุปกรณ์ที่ใช้รดน้ำ ถ้าต้นพืชยังเล็ก ควรใช้บัวฝอยละเอียดๆ แต่เมื่อต้นโตขึ้นจะใช้บัวฝอยหยาบขึ้นก็ได้

     1.3 รดน้ำให้ชุ่มชื้นพอดี ไม่รดจนดินแฉะ และดินแข็งจนเกินไป หรือรดน้อยจนต้นไม้เหี่ยวเฉาตาย

     1.4 ไม่รดน้ำแรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้ยอดต้นล้มหรือหักและพืชพับใบ

     1.5 รดน้ำให้ท่วมแปลง เพื่อว่ารากพืชซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปจะได้ดูดแร่ธาตุอาหารได้ทั่วถึง

     1.6 หลังจากรดน้ำแล้ว เอาหญ้าหรือฟางคลุมดินไว้ให้ชุ่ม พืชจะได้มีน้ำใช้นานๆ

 

   2. การพรวนดิน วิธีการพรวนดินที่ถูกต้องปฏิบัติดังนี้

     1. ควรพรวนดินเมื่อพืชที่ปลูกตั้งตัวได้แล้ว

     2. ครั้งต่อไปพรวนดินเมื่อดินแน่นหรือเวลาใส่ปุ๋ย

     3. อย่าให้กระทบกระเทือนต้นพืช อย่างัดโคนต้นขึ้น

     4. ควรพรวนรอบๆ บริเวณต้น โดยถือหลักว่า ใบไปไหน รากไปถึงนั่น

 

ประโยชน์ของการพรวนดิน

     1. ทำให้ดินร่วนซุย

     2. ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

     3. ช่วยเก็บความชื้นในดิน

     4. ทำลายวัชพืช

     5. ช่วยทำลายโรคบางอย่าง

     6. ทำให้เกิดรากงอกใหม่มากมาย

     7. ช่วยรากดูดน้ำแร่ธาตุของอาหารพืช

 

    3. การใส่ปุ๋ย พืชที่เจริญงอกงามผลิดอกออกผล ย่อมแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและของพืช แต่เมื่อต้นพืชเหี่ยวเฉาหรือเติบโตช้า ก็แสดงว่าดินขาดธาตุอาหาร

 การใส่ปุ๋ยมีหลักการดังนี้

     1. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเทศบาล ให้ใส่ระหว่างต้นหรือหลังจากพรวนดินใช้ปุ๋ยเคล้าให้ทั่ว

     2. การใส่ปุ๋ยอนินทรีย์ ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ต้องดูวิธีการใส่เสียก่อนโดยอ่านข้างกระสอบปุ๋ย ปุ๋ยอนินทรีย์ที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสฟอรัส ปุ๋ยโพรแทสเซียม

 – ปุ๋ยไนโตรเจน ได้แก่ ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยยูเรีย

 – ปุ๋ยฟอสฟอรัส ได้แก่ ปุ๋ยฟอสเฟต

 – ปุ๋ยโพรแทสเซียม ได้แก่ ปุ๋ยโพรแทสเซียมคลอไรด์ ปุ๋ยโพรแทสเซียมซัลเฟต

 

    4. การกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นพืชที่เราไม่ต้องการ เป็นพืชที่คอยแย่งธาตุอาหารพืชและแสงสว่างที่ใดมีวัชพืชขึ้นรก เป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อโรคและศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตน้อยลง วัชพืชขึ้นอยู่ทั่วไปแบ่งตามอายุการเจริญเติบโตได้ 3 ประเภท คือ3_16

     1. ประเภทล้มลุก คือพวกที่ออกดอกออกผลแล้วตายไปภายใน 1 ปี ขยายพันธ์ุโดยเมล็ด เช่น หญ้ายาง หญ้านกสีชมพู ผักโขมหนาม หญ้าขจรจบ เป็นต้น

     2. ประเภทที่มีอายุข้ามฤดู คือ พวกที่เติบโตแตกกิ่งก้านภายในปีแรก แล้วจึงออกดอกออกผลและตายภายในปีที่ 2 ขยายพันธ์ุโดยเมล็ด

     3. ประเภทที่มีอายุมากกว่า 3 ปี พวกนี้ส่วนมากมีรากเหง้าซึ่งอยู่ใต้ดิน ขยายพันธ์ุโดยเมล็ด เช่น หญ้าคากระทกรก ตูดหมูตูดหมา หญ้าพง แห้วหมู เป็นต้น

 การกำจัดวัชพืช หมายถึง การคอยดูแลตัดหรือถอนวัชพืชที่ขึ้นแซมพืชที่เราปลูกออกทิ้งโดยไม่ให้มาแย่ง อาหารพืช เช่น น้ำ แร่ธาตุอาหารต่างๆ

 ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันและกำจัดวัชพืช มีดังต่อไปนี้

     1. ใช้เมล็ดพันธ์ุที่สะอาดปราศจากวัชพืชและสิ่งเจือปน

     2. หมั่นตรวจแปลง ขยายพันธ์ุหรือเรือนเพาะ เพราะอาจมีวัชพืชติดมากับกิ่ง ต้นอ่อน ดิน หรือภาชนะที่ห่อหุ้ม

     3. ไม่เลี้ยงสัตว์ด้วยเมล็ดพืชหรือหญ้าฟางที่มีเมล็ดวัชพืชปนอยู่ เพราะเมื่อสัตว์กินเข้าไปก็จะถ่ายออกมา ทำให้วัชพืชแพร่หลายไปได้

     4. ไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกสด เพราะอาจมีเมล็ดวัชพืชติดอยู่ในมูลสัตว์ ควรหมักไว้เสียก่อน 1 เดือน

     5. ดินที่ใช้สำหรับการเพาะปลูก การปราศจากเมล็ดเหง้าหรือหัววัชพืช

     6. เครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรควรสะอาด ไม่มีส่วนต่างๆ ของวัชพืช หรือเมล็ดวัชพืชที่ติดอยู่

     7. ต้องดายหญ้าทุกๆ 15 วัน ในบริเวณที่ปลูกพืชผักสวนครัว

     8. ควรถอนวัชพืชที่เป็นต้นอ่อน เพราะรากหยั่งดินยังไม่ลึก ง่ายต่อการถอน

 

5. การเด็ดหรือการตกแต่ง

     5.1การเด็ด เป็นการตัดหรือเด็ดส่วนที่เกิน หรือส่วนที่เป็นโรคของพืชทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดโรคติดต่อง่าย

     5.2 การตกแต่ง เป็นการตกแต่งพืช เพื่อความสวยงาม เพื่อพวามเจริญเติบโต ตามต้องการ เช่น ตัดยอดไม่ให้สูงขึ้น แต่ให้แผ่กระจายไปด้านข้าง

 วิธีการตกแต่งปฏิบัติดังนี้

     1. เครื่องมือที่ใช้ต้องคมและสะอาด

     2. เลือกตัดเฉพาะกิ่งบางกิ่งเท่านั้น และคงไว้แต่กิ่งที่งามให้ผลดก

     3. ตัดกิ่งอย่างปราณีต เพื่อรักษาพืชให้อยู่ในสภาพดีและมีข้อเสียน้อยที่สุด

     4. ต้องคอยตัดกิ่งก้านที่ไม่ต้องการเป็นประจำ

     5. หลังจากตัดกิ่งใหญ่ทุกครั้ง ใช้น้ำมันขี้โล้ทาลงบนแผลกิ่งนั้น เพื่อป้องกันโรคพืช

     6. การทำค้างหรือหลักราว พืชบางชนิดลำต้นอ่อนจำเป็นต้องทำค้าง หรือหลักราวจึงจะออกดอกออกผล จึงจะทำให้ได้ผลผลิตสูง ถ้าไม่ทำค้างหรือหลักราว อาจเน่าเสียผลไม่น่ารับประทาน ราคาไม่ดี เช่น แตงต่างๆ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ เป็นต้น

 

6. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

     ศัตรูพืช หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตจำพวกจุลินทรีย์ รวมทั้งภัยธรรมชาติที่ทำให้พืชผลเสียหาย หยุดการเจริญเติบโตหรือตายในที่สุด

   6.1 ศัตรูมีหลายชนิด เกิดจากสิ่งสำคัญ 4 อย่าง ได้แก่

     1. มนุษย์ เกิดจากการลักขโมยหรือเหยียบย่ำ ทำลายให้เสียหาย

     2. สัตว์ เช่น หนู กระรอก นก แมลง คอยกัดกินเมล็ดผล

     3. ภัยธรรมชาติ ได้แก่

     – อุทกภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากน้ำท่วม เนื่องจากฤดูฝนมีฝนตกหนัก ทำให้พืชเสียหาย

     – วาตภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากลม เช่น ลมมรสุม ลมพายุ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกฤดู

  4. โรคต่างๆ เช่น

     – โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคโคนเน่าของต้นกล้า

     – โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ โรคเน่าดำของผัก

     – โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคใบหดยาสูบ

 6.2 วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

     1. รักษาบริเวณ ไร่ สวน ให้สะอาด

     2. ขุด ไถ พรวนดิน

     3. เมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว ควรขุดดินตากแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรค

     4. สร้างเครื่องกีดขวาง เช่น สร้างรั้วรอบบริเวณ ปลูกแนวต้นไผ่บังลม

     5. สร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม

     6. บำรุงรักษาพืชให้แข็งแรง

     7. ปลูกต้นพืชที่แข็งแรง

     8. ฉีดยา พ่นยา ป้องกันโรค

     9. ปลูกพืชหมุนเวียน ควรปลูกสลับ อย่าปลูกซ้ำชนิดกัน เพราะโรคบางอย่างจะเป็นกับพืชบางชนิดเท่านั้น

     10. เมื่อพืชเริ่มเป็นโรค ให้รีบรักษาหรือทำลาย เพื่อไม่ให้ลุกลามต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

ควรปลูกพืชผักที่เหมาะสมกับฤดูกาล

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา