ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกเห็ดฟาง

โดย : นายวัชรา อำนักขันธ์ วันที่ : 2017-05-17-13:36:11

ที่อยู่ : 103 หมู่ที่10 ตำบลมหาไชย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เห็ดฟาง  เป็นเห็ดที่คนไทยนิยมบริโภคมานาน  มีรสชาติดีคุณค่าทางอาหารสูง  เป็นอาหารพวกผักแต่มีคุณค่าสูงกว่าผักพบได้ตามธรรมชาติข้างกองฟางที่มีความชื้น  ปัจจุบันได้นำมาเพาะเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม  ซ้ำยังสามารถเพาะได้ง่ายใช้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตรมาเพาะได้  เช่น
  ฟางข้าว กากเปลือกถั่ว  ไส้นุ่น   ต้นกล้วย  ผักตบชวา  ทลายปาล์ม กากเปลือกมันสำปะหลัง มีวิธีการเพาะหลายรูปแบบ  เช่น  การเพาะแบบกองสูงการเพาะแบบกองเตี้ยประยุกต์การเพาะในโรงเรือนการเพาะในเข่ง 
            ในที่นี้จะแนะนำการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยโดยใช้กากมันสำปะหลังและการเพาะเห็ดโดยใช้ตอซังฟางข้าว  เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้สนใจได้นำไปเพาะเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน  หรือเพาะเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือนได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างงานและสร้งรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.กากมันเส้น(ซื้อที่โรงงาน)

2.ไม้ไผ่สำหรับทำกรง

2.ไพหญ้า/ฟาง.

3.พลาสติกคลุมแปปลงเห็ด

4.หัวเชื้อเห็ดฟาง/ก้อนเห็ด

5.ปุ๋ยคอก/เคมี

อุปกรณ์ ->

1.บัวรดนำ้

2.ปั้มนำ

3ไม้บล็อก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย 

1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค 

2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย

 3. หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกระบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป

 4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว

 5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1

6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง

 7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป

 8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว

9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น

      10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส

11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี

 การเตรียมดิน

 กรมวิชาการเกษตรได้ทำการศึกษาและพบว่า ถ้าปลูกเห็ดฟางลงไปโดยไม่ได้ขุดดินและทำให้ดินร่วน  นอกจากจะได้เห็นเห็ดฟางบนกองแล้ว จะได้เห็นเห็ดอีกเล็กน้อยบนพื้นดินรอบๆ กอง  ต่อมาได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ  ถ้าขุดดินแล้วตากแดดทิ้งไว้ประมาณ  7 วัน หลังจากนั้นก็ย่อยดินให้ละเอียด  แล้วจึงเพาะเห็ด พบว่าได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะมีเห็ดอีกจำนวนมากขึ้นอยู่บนดินรอบๆกองนั่นเอง  บางครั้งได้เพิ่มขึ้น  1 ใน 3 ของจำนวนผลผลิตทั้งหมด ในปัจจุบันจึงนิยมส่งเสริมให้มีการขุดดิน  เตรียมแปลงดินไว้ล่วงหน้า  เมื่อจะเพาะก็ย่อยดินให้ละเอียดขึ้น

ไม้แบบ

 ใช้ไม้กระดานนำมาตอกเป็นกรอบแบบลังไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อทำเป็นแม่พิมพ์   ในปัจจุบันนิยมให้ด้านกว้าง  30 เซนติเมตร  ด้านยาว 120   เซนติเมตร  ด้านสูง 30   เซนติเมตร   ส่วนหนึ่งนิยมทำให้ด้านบนสอบเข้าคือ แคบลงหรือเอียงเข้ากันเล็กน้อย เพื่อไม้แบบยกออกจากกองคือ ทำเสร็จแล้วก็จะทำได้ง่ายกรอบไม้นี้ควรจะมีขนาด 1-1.5 เมตร อีกแบบหนึ่งมีผู้ได้ทำไม้แบบโดยการทำเป็นชิ้น ชนิดที่ถอดออกวางเป็นแผ่นได้เมื่อจะใช้นำมาประกบกันก็กลายเป็นแม่พิมพ์   แบบนี้สะดวกต่อการเก็บ คือสามารถวางซ้อนๆ กัน และไม่เปลืองเนื้อที่

 บัวรดน้ำ  

 จะเป็นบัวพลาสติกหรือบัวสังกะสีก็ใช้ได้ทั้งนั้นขอให้ใช้ตักน้ำได้และรดน้ำแล้วได้น้ำเป็นฝอย ๆ ก็ใช้ได้แล้ว ปัจจุบันที่ทำมาก ๆ จะใช้เครื่องสูบไดโว่หรือเครื่องสูบน้ำฉีดน้ำเป็นฝอยรดกองฟางให้เปียกชุ่มก่อนเริ่มการหมักได้ก็จะสะดวกดี

วัตถุดิบ

   ตัวหลักคือเห็ดฟาง ที่ถอนมาหลังจากปล่อยให้ดินแตกระแหง จะได้รากและเศษดินติดมาด้วย หรือจะเกี่ยวที่โคนต้น  หรือเป็นเห็ดฟางที่ได้จาการนวดข้าวแล้วเป็นปลายฟาง หรือแม้แต่ลำโคนข้าง  คือ เศษข้าวที่พ่นออกมาจากเครื่องนวดข้าว

    นอกจากนี้ ยังมีการใช้เปลือกของฝักถั่วเขียว เป็นอาหารเสริม  ช่วยในการเพ

ข้อพึงระวัง ->

ไม่มี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา