ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานสุ่มไก่

โดย : นายประดิษฐ์ มานะวงษ์ วันที่ : 2017-05-17-12:17:26

ที่อยู่ : 70 หมู่ที่14 ตำบลแวงบาดาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ก่อเกิดและสืบทอดในชุมชนมาเป็นเวลาช้านานเมื่อชุมชนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นก็มีเปลี่ยนและการปรับตัวเช่นเดียวกันความรู้ภูมิปัญญาจำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอดหรือถ่ายทอดต่อคนรุ่นหลัง ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรักษาไว้แต่ในปัจจุบันมีหลายภูมิปัญญาได้จางหายไปบ้างแล้วเราทั้งหลายควรช่วยกันรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกของคนไทยและเป็นการสร้างเสริมกิจกรรม มีรายได้เสริมให้กับครัวเรือนและคนในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุที่นิยมนำมาทำสุ่ม ได้แก่ หวาย ไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่ต่างๆ(ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่หก ฯ)และเหล็กเส้นกับตาข่ายแต่ในปัจจุบันเรามักพบเห็นสุ่มไก่ทำด้วยไม้ไผ่รวกและไม้ไผ่ต่างๆ มากกว่าวัสดุอย่างอื่น คงเป็นเพราะไม้ไผ่เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง บางแห่งก็ไม่ต้องซื้อ สามารถหาได้ตามป่าหรือเทือกเขา และบางคนก็ปลูกไว้ตามสวนไร่นาของตน เหล่านี้เป็นต้น อายุการใช้งานของสุ่มที่ทำด้วยไม้ไผ่ระหว่างไม้ไผ่รวกกับไม้ไผ่ชนิดอื่นๆเชื่อกันว่าสุ่มไม้ไผ่รวกจะไม่ค่อยทนทานนักหากเปรียบเทียบกับสุ่มที่ทำด้วยไม้ไผ่ชนิดอื่นตัวอย่างเช่นไม้ไผ่ป่าอย่างไรก็ตามสุ่มที่ดีนั้นหากรู้จักใช้และรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว(เช่น ไม่ปล่อยตากแดด ตากฝน ตากหมอก เป็นเวลานานๆ)ก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้นานประมาณ 5-10 ปีเลยทีเดียว ไม้รวกหรือไม้ไผ่รวก คือ ไม้ไผ่ชนิดหนึ่งขนาดของลำต้นจะเล็กกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น เช่น ไม้ไผ่ป่าฯ เราสามารถพบเห็นไม้ไผ่รวกได้ง่ายเพราะปัจจุบันคนมักนิยมปลูกไม้ไผ่รวกมากกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่นเนื่องจากไม้ไผ่รวกโดยเฉพาะไม้ไผ่รวกดำนั้นหน่อไม้จะมีรสชาติดีและเนื้อเยอะลำต้นเกลี้ยงเกลา สวยงามดี แต่ในเรื่องของความคงทนแข็งแรงนั้น ไม้รวกจะสู้ไม้ไผ่ชนิดอื่น อย่างไม้ไผ่ป่า ไม้ไผ่พวกที่ลำใหญ่ๆ ไม่ได้ เชื้อรา ปลวกและแมลงกินไม้ต่างๆ มักชอบกินไม้ไผ่รวกมากกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น
 

อุปกรณ์ ->

1เลื่อยมือ

1.มีดเหลาตอก

3.ลวด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการสานสุ่มไก่
1. การจักตอกไผ่
1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
การใช้เลื่อยคันธนูตัดไม้ไผ่
1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ
การใช้มีดพร้าผ่าไม้ไผ่ออกมาเป็นเส้นๆ
1.3จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่ มีตาไผ่)ความกว้างและความยาวของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน ยาว 150 – 200 ซม. กว้าง1.5–2.5 ซม. ตอกยาว ยาว ประมาน 8 ม. กว้าง 1 - 2 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม. ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ ตอกยืนที่ใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ
ลักษณะตอกยืน
การจักตอกยาว
ตอกตีน
2.การสานสุ่มไก่
2.1 ใช้ตอกยาว สานเป็นวงหัว
ลักษณะของวงหัว
2.2 นำ วงหัว มาสานกับตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
การใช้ตอกยืนกับวงหัว สานเป็นลายขัด
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาว
แต่ละเส้นเปลี่ยน ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม
การนำลายขัดที่สานแล้ว มาสานกับตอกยาวเพื่อขึ้นรูป
2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 2- 5 เส้น
การสานตีนสุ่ม ทำให้ฐานสุ่มไก่แข็งแรง
ใช้ค้อนทุบ เพื่อให้ตีนสุ่มแน่นขึ้น
2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยหรือใช้ขวานตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวออกมาตรงตีนสุ่มไก่ทิ้งไป เพื่อมีฐานที่เท่ากัน
ตอกยืนที่ยื่นออกมา
2.6 นำสุ่มไก่ที่สานเสร็จแล้วมาลนไฟเพื่อที่ทำให้ เศษเสี้ยวหนามของไม้ไผ่หายไป และทำให้สุ่มไก่ทนทานและ
มีอายุการใช้งานมากขึ้น
การลนไฟ
สุ่มไก่ที่สานเสร็จสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน

     

 

 

ข้อพึงระวัง ->

ควรใช้ไม้ที่มีอายุพอเหมาะ

ตัดไม่ในเวลาข้างแรม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา