ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกผักปลอดสารพิษ

โดย : นายวินิจ พิมล วันที่ : 2017-05-14-15:30:42

ที่อยู่ : 26 ม.17 บ้านดอนยูง ต.กมลาไสย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านดอนยูง  หมู่ที่ 17  ต.กมลาไสย  เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง มีครัวเรือนอยู่ 130 ครัวเรือน  อาชีพหลักคือทำนา  อาชีพเสริมคือปลูกผัก  เลี้ยงปลา  เลี้ยงไก่  เลี้ยงกบ  ขาย  หลังจากฤดูทำนา ชาวบ้านก็จะปลูกผักปลอดสาร หรือปลูกผักที่หัวไร่ปลายนาหรือที่ว่างปล่าวขายให้คนในหมู่บ้านอีกทอดหนึ่ง เพื่อส่งผักผักไปขายที่ตลาดใน กทม.และก็พัทยา  จ.ชลบุรี ตอนแรกก็มีพ่อค้ารับซื้อผักไปขายที่ต่างจังหวัด เพียง 1-2 ครัวเรือน  เท่านั้น  ต่อมาชาวบ้านเห็นว่า  มีรายรายได้เพิ่มขึ้นและก็มีตลาดรองรับ  และมีชาวบ้านปลูกผักปลอดสารเพิ่มขึ้นจนถึงขณะนี้ ประมาณ  80 ครัวเรือน และมีพ่อค้าในหมู่บ้านรับผลิตภัณฑ์  จากคนในหมู่บ้านไปขายต่างจังหวัดจำนวน  50  ครัวเรือน   โดย จะรับผักไปขายทุวันอังคาร  และวันเสาร์  ทำให้ชาวบ้านมีรายได้  3,000  - 5,000 บาท/สัปดาห์

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

2. เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช ทำ ให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย

3. เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช

4. เพื่อลดปริมาณการนำ เข้าสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช

5. เพื่อช่วยให้เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพทำให้สามารถขายผลผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธ์ผัก  ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

อุปกรณ์ ->

ตาข่าย   ที่รถน้ำผัก  

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ 

5. วิธีการผสมผสานในการควบคุมศัตรูพืช จะเป็นการนำ เอาวิธีการป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยวิธีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนี้มีข้อแนะนำ ให้เกษตรกรเลือกใช้วิธีการป้อกกันและกำ จัดศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมี ดังนี้

5.1 การเตรียมแปลงปลูก

5.2 การเตรียมเมล็ดพันธุ์

5.3 การปลูกและการดูแล

5.4 การให้ธาตุอาหารเสริม

5.5 การใช้กับกัดกาวเหนียว

5.6 การใช้กับดักแสงไฟ

5.7 การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูก

5.8 การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายไนล่อน

5.9 การควบคุมโดยชีววิธี

5.10 การใช้สารสกัดจากพืช

5.11 การใช้สารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช (กรณีที่ใช้วิธีการป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชข้างต้นไม่ได้ผล)การเตรียมแปลงปลูกเนื่องจากเมล็ดพืชผักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก มีระบบรากละเอียดอ่อน ถ้าเกษตรกรเตรียมดินไม่ดีก็อาจมีผลกระทบต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชผักได้ ดังนั้น ก่อนการปลูกพืชควรมีการปรับสภาพดินให้เหมาะสมเสียก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีการปลูกผักหรือพืชชนิดอื่นโดยการปล่อยนํ้าให้ท่วมแปลงแล้วสูบออก เพื่อให้นํ้าชะล้างสารเคมีและกำ จัดแมลงต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน แล้วจึงทำ การไถพลิกหน้าดินตากแดดไว้ เพื่อทำ ลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูที่อาศัยอยู่ในดินอีกครั้ง จากนั้นเกษตรกรควรจะปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในสภาพที่เป็นกลาง โดยใช้ปูนขาวปูนมาร์ล หรือ แร่โดโลไมท์ อัตรา 200-300 กิโลกรัม/ไร่ แล้วลดนํ้าตามหลังจากการใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้เป็นกลางนอกจากนี้ควรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในอัตรา1,000-2,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นพืชผักมีความแข็งแรงสามารถต้านทานต่อการเข้าทำ ลายของโรคและแมลงได้โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

ก่อนนำ เมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกในแปลงปลูกหรือแปลงกล้าเกษตรกรควรทำ ความสะอาดเมล็ดพันธุ์ก่อน ตามขั้นตอนดังนี้

1. คัดแยกเมล็ดพันธุ์ โดยการคัดเมล็ดที่เสีย เมล็ดวัชพืชที่มีอยู่ปะปน และสิ่งเจือปนต่างๆ

ออก

2. แช่เมล็ดพันธุ์ในนํ้าอุ่น ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซีย เป็นเวลา 15-30 นาที จะช่วย

ลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์และยังกระตุ้นการงอกของเมล็ดอีกด้วย

3. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครานํ้าค้าง และโรคใบจุดควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีเช่น เมทาแล็กซิน 35เปอร์เซ็นต์ SD (เอพรอน) และไอโปรไดโอน (รอฟรัล) อัตรา 10 กรัม / เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

การปลูกและการดูแล

การเลือกวิธีการปลูก ระยะปลูกเป็นเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผักที่เกษตรกรเลือกปลูกแต่มีข้อแนะนำ คือ เกษตรกรควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าให้แน่นจนเกินไป เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี เป็นการปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยอาจเลือกสำ รวจเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 จุด/ไร่ ถ้าพบว่ามีการระบาดของโรคและแมลงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผักนั้น ก็ควรดำ เนินการกำ จัดโรคและแมลงที่พบทันที

การให้ธาตุอาหารเสริมแก่พืช

จะมีความจำ เป็นต่อพืชผักในบางชนิดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความต้านทานโรคให้แก่พืชนั้น เช่นพืชในตระกูลกะหล่ำ จะต้องการธาตุโบรอนเพื่อ สร้างความต้านทานโรคไส้กลวงดำ มะเขือเทศจะต้องการธาตุแคลเซียมเพื่อสร้างความตานทานโรคผลเน่า เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังสำหรับการปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่าย

❖ อย่าให้มีหนอนผีเสื้อหรือหนอนต่างๆ หลุดเข้าไปในโรงเรือนได้ เพราะหนอนต่างๆ เหล่านี้

จะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

❖ ในการย้ายกล้า จะต้องตรวจดูกล้าผัก อย่าให้มีไข่ตัวหนอนหรือดักแด้ติดเข้าไปในโรงเรือน

❖ ควรดูแลอย่าให้มุ้งตาข่ายชำ รุดฉีดขาด เพราะอาจทำ ให้ด้วงหมัดผักเล็ดลอดเข้าไปได้ อาจจะมีการรองด้วยผ้าหรือแผ่นยางบริเวณที่มีการเสียดสีระหว่างตาข่ายกับโครงสร้างเพื่อป้องกันการฉีดขาด

❖ มุ้งตาข่ายจะต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา และควรทำ ประตูเป็นแบบสองชั้น

❖ การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายไม่สามารถป้องกันแมลงขนาดเล็กได้ ดังนั้น จึงอาจจะต้อง

ใช้วิธีการกำ จัดศัตรูพืชอื่นๆ ร่วมด้วย

❖ ผักที่ปลูกได้ในมุ้งตาข่ายไนล่อน

ประเภทกินใบ ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง ฮ่องเต้ ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง ขึ้นฉ่าย เป็นต้นประเภทกินดอก ได้แก่ กะหลํ่าดอก บล็อกโคลี่ เป็นต้น ประเภทกินฝักและผล ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ถั่วลันเตา เป็นต้น

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา