ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าพื้นเมือง

โดย : นางสาวนงลักษณ์ ปัจฉิม วันที่ : 2017-04-18-09:47:47

ที่อยู่ : 46 ม.14 ต.นาทัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้า  เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ต้องอาศัยศิลปะที่เกิดขึ้น  จากการสืบทอดภูมิปัญญาของ

บรรพบุรุษต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ทุกหมู่บ้านของชาวอีสานจะมีความสามารถในการทอผ้า แต่จะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม  หรือ  ประเพณีวัฒนธรรม  ของแต่ละท้องถิ่น  ซึ่งเป็นผ้าทอด้วยมือ  และใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น คือ  ฝ้าย ปลูกกันเองแล้วมาทำเป็นเส้นด้ายและนำมาย้อมสีธรรมชาติ  คือ  เปลือกไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น จึงนับได้ว่าการทอผ้าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่ง  ควรแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่คนไทยสืบไป

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อรุ้ส่วนประกอบของการทอผ้าไหม

-เพื่อรู้วิการทอผ้าไหม

-เพื่อให้คนรุ่นใหม่รุ้จักผ้าใหมมากขึ้น

- เป็นอาชีพเสริม  สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ด้าย  ฝ้าย

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์เตรียมด้ายยืน ด้ายพุ่ง
                              1) กง ใช้พันเส้นด้าย เพื่อเตรียมไจด้ายสำหรับฟอกและย้อม
                              2) อัก ใช้พันเส้นด้าย เพื่อจัดระเบียบ

 3) กระบอกไม่ไผ่ ใช้สำหรับพันเส้นด้าย ใช้แทนหลอดด้าย
                              4) แกนกระสวย ใช้สำหรับพันด้ายพุ่งเป็นหลอดเล็กๆ

 5) ไน เป็นเครื่องมือสำหรับกรอด้ายเข้าหลอดด้าย ก่อนที่จะนำไปใส่กระสวย ต้องนำไปใช้ร่วมกับระวิง มีลักษณะด้านหนึ่งเป็นกงล้อขนาดใหญ่มีเพลาหมุนด้าย มีสายพานต่อไปยังท่อเล็กๆ ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง

6) หลักเปีย (หลักเผีย) โครงไม้สำหรับเตรียมด้ายยืน สามารถเตรียมด้ายยืนยาว 20 - 30 เมตร (ปัจจุบันมีหลักเปียขนาดใหญ่ เตรียมด้ายยืนได้ยาวกว่า 100 เมตร)

7) แปรงหวีด้ายยืน
                                          - ใช้หวีด้ายยืนให้แผ่กระจาย และเรียงตัวเป็นระเบียบ
                                          - ใช้หวีด้ายยืนหลังจากลงแป้ง
8) อุปกรณ์สำหรับมัดหมี่คือ โฮ่งมัดหมี่

 1) ฟืมหรือฟันหวี (reed) เป็นกรอบไม้แบ่งเป็นช่องถี่ๆด้วยลวดซี่เล็กๆ สำหรับจัดระเบียบเส้นด้ายยืน ตีกระทบเส้นด้ายพุ่งเพื่อให้ผ้ามีเนื้อแน่นเป็นผืนผ้า
            2) ตะกอหรือเขาหูก (harness) ส่วนใหญ่เป็นตะกอเชือก จัดกลุ่มเส้นด้ายยืนเปิดช่องด้ายยืน สำหรับใส่ด้ายพุ่ง
            3) แกนม้วนผ้าหรือไม้กำพั่น ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้วใช้ลำต้นไม้ที่มีขนาดสม่ำเสมอ และเหยียดตรง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. การหาวัสดุที่มีคุณภาพ อุปกรณ์การทอมีความมั่นคงแข็งแรง เช่น กี่ ฟืม กระสวย เฟอ เครื่องกรอฝ้าย เป็นต้น

 ๒. เส้นฝ้ายที่มีคุณภาพ เหนียว นุ่ม สีไม่ตก

๓. การกำหนดลวดลายสีสันที่ต้องการ  สีฝ้ายยืนและสีฝ้ายพุ่งให้เหมาะสม

๔. เมื่อได้เส้นฝ้ายและสีสันที่ต้องการแล้วก็เข้าสู่กระบวนการทอ ดังนี้

       ๔.๑ การทอฝ้ายให้เป็นเส้นเดียวเพื่อนำไปขึ้นเฟอ  ที่เรียกกันว่าคันเครือฮูก 

       ๔.๒ การทอให้เป็นผืนผ้า ต้องขึ้นรูปในกี่ที่จะทอ  ซึ่งจะใช้กี่พื้นเมือง  ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะทอผ้าให้ได้หนึ่งผืน  ผู้ทอจะต้องมีความชำนาญและเข้าใจลวดลายเป็นพิเศษ  รวมถึงความรู้ความสามารถเฉพาะตัวด้วย  เพราะถ้าทอผิดแม้แต่เส้นเดียวก็หมายถึงผ้าผืนนั้นลวดลายจะผิดแปลกดูไม่สวยงามเสียเลย

๕. ตรวจสอบคุณภาพผ้า นอกจากจะตรวจสอบผ้าในขณะที่กำลังทอแล้ว  เมื่อเสร็จ

สิ้นการทอต้องตรวจสอบผ้าที่ทออีกครั้ง  เพื่อให้แน่ใจว่าผ้าที่ทอเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ  สามารถจำหน่ายต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา