ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายบัวผัน คำนวณ วันที่ : 2017-04-18-09:33:19

ที่อยู่ : 118 ม.7 นาทัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์สร้างโรงเรือง อุกรณ์เลี้ยงไก่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ควรใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ต้นกลมขนาดเล็ก แกลบ ทราย
2. คอกไก่ควรแยกห่างจากตัวบ้านเรือน
3. โรงเรือนมีฝาทั้ง 4 ด้าน ใช้ไม้กั้นห่างกัน 1 นิ้ว หลังคา อาจมุงด้วยหญ้าแฝก ตองตึง และหญ้าคา เทลาดประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส ประตูคนเข้าควรกว้างและสูงให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวก พื้นโรงเรือนถ้าเป็นคอนกรีตจะทำความสะอาดง่าย ถ้าเป็นพื้นธรรมดาควรถมด้วยทรายหรือดินให้มีระดับสูงกว่าธรรมดา 10 เซนติเมตร ป้องกันน้ำท่วม แล้วรองพื้นด้วยแกลบ ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว หรือฟางสับ หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร
4.  คอนสำหรับไก่นอน ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้ระแนง จัดเป็นคู่ห่างกัน 1 นิ้ว สูงจากพื้น 1-1.5 เซนติเมตร
5. รังนอนกกลูกของแม่ไก่ควรสูงจากพื้น 40-50 เซนติเมตร ส่วนรังวางไข่ควรอยู่ห่างจากคอนนอนและอยู่ตรงข้ามกัน เพื่อป้องกันไก่ที่ออกไข่ไปนอน และควรทำให้ครบจำนวนแม่ไก่เพื่อป้องกันการแย่งวางไข่
6. บริเวณรอบนอกเล้าไก่ควรทำรั้วกั้นรอบบริเวณ โดยใช้ไม้ไผ่ตีระแนง
7. หมั่นตรวจดูรังฟักอยู่เสมอว่ามีตัวหมัด เหา ไร หรือไม่ หากมีให้เผาไฟเสียป้องกันไม่ให้มันแพร่พันธุ์ต่อไป เพราะไรเป็นศัตรูสำคัญในการบั่นทอนสุขภาพของไก่ หากมีเหา ไรเหลืออยู่ในรัง เมื่อลูกไก่กะเทาะเปลือกออกมา จะถูกตัวเหา ไรกัดกินเลือด ทำให้ลูกไก่เสียสุขภาพไปตั้งแต่ยังเล็กๆ ฉะนั้นขอให้ระวังเรื่องนี้ให้จงหนัก
8. หมั่น ในหน้าร้อน (มีนาคม-เมษายน) แม่ไก่มักจะฟักไข่ออกไม่ดี ควรทำการพ่นน้ำที่ฟักไข่เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ พ่นเช้า-บ่าย จะช่วยทำให้ไข่ฟักออกได้มากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรปฏิบัติระหว่างแม่ไก่ฟักไข่
1. แม่ไก่กำลังไข่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้วัคซีนหรือยาใดๆ ถ้าจะให้ควรให้ก่อนระยะไข่เพราะอาจทำให้แม่ไก่หยุดไข่
2. ถ้าแม่ไก่ไข่มากเกินไป ควรแบ่งไข่ออกไปกินบ้าง การฟักไข่แต่ละครั้ง ควรมีไข่ไม่เกิน 12 ฟอง
3. ควรรู้จักการส่องไข่ เพื่อให้แม่ไก่ฟักเฉพาะไข่ที่มีเชื้อ
4.  เมื่อแม่ไก่ฟักเป็นตัวแล้ว ควรแยกลูกไก่ไปเลี้ยงในกรงกก (คอกอนุบาลลูกไก่) ปล่อยให้แม่เป็นสาวฟื้นตัวได้เร็ว ไข่เร็ว ฟัก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา