ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงจ้ิงหรีด

โดย : นางดรุณี ภูพานเพ็ชร วันที่ : 2017-04-06-15:39:18

ที่อยู่ : 12 ม.6 ตำบลหัวนาคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมมีอาชีพทำนา   ขาดทุนตลอด  เปลี่ยนอาชีพเรื่อยมาจนกระทั่งไปเห็นบ้านข้างเคียงทำการเลี้ยงจ้ิงหรีดจึงไปศึกษาดูงาน และหาความรู้เพิ่มเติมลงทุนเองเลี้ยงเองและไปอบรมสัมมาชีพ มาจึงทำเป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อใช้เป็นอาหาร

เพื่อเพ่ิมรายได้ แกครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

จิ้งหรีดถือเป็นแมลงที่มีขนาดลำตัวปานกลางเมื่อเทียบกับแมลงโดยทั่วไป มีปีก 2 คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ขาคู่หลังใหญ่และแข็งแรงใช้สำหรับกระโดด ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทำเสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันดีของจิ้งหรีด ขณะที่ตัวเมียจะไม่สามารถทำเสียงดังนั้นได้ และจะมีอวัยวะสำหรับใช้วางไข่เป็นท่อยาว ๆ บริเวณก้นคล้ายเข็ม เห็นได้ชัดเจน
จิ้งหรีดสามารถพบได้ในทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้น พบแล้วประมาณ 900 ชนิด ในประเทศไทยก็พบได้หลายชนิด จิ้งหรีดเป็นแมลงที่กัดกินพืชชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร สามารถกินได้หลายชนิด มักออกหากินในเวลากลางคืน มักจะอาศัยโดยการขุดรูอยู่ในดินหรือทราย ในที่ ๆ เป็นพุ่มหญ้า แต่ก็มีจิ้งหรีดบางจำพวกเหมือนกันที่อาศัยบนต้นไม้เป็นหลัก
สำหรับในประเทศไทย พบจิ้งหรีดได้ทั่วทุกภูมิภาค ชนิดของจิ้งหรีดที่พบ ได้แก่ จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus), จิ้งหรีดทองแดง (G. testaceus), จิ้งโกร่ง หรือ จิ้งกุ่ง (Brachytrupes portentosus) เป็นต้น
จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตแบบไม่ต้องผ่านการเป็นหนอนหรือดักแด้ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะเหมือนตัวเต็มวัย เพียงแต่ยังไม่มีปีก และมีสีที่อ่อนกว่า ต้องผ่านการลอกคราบเสียก่อน จึงจะมีปีกและทำเสียงได้ จิ้งหรีดจะผสมพันธุ์เมื่อเป็นตัวเต็มวัย การผสมพันธุ์และวางไข่แต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 15 วันต่อครั้ง ในแต่ละรุ่น เมื่อหมดการวางไข่รุ่นสุดท้ายแล้วตัวเมียก็จะตาย โดยตัวผู้จะทำเสียงโดยยกปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียง เพื่อเรียกตัวเมีย จังหวะเสียงจะดังเมื่อตัวเมียเข้ามาหา บริเวณที่ตัวผู้อยู่ ตัวผู้จะเดินไปรอบ ๆ ตัวเมียประมาณ 2-3 รอบ ช่วงนี้จังหวะเสียงจะเบาลง แล้วตัวเมียจะขึ้นคร่อมตัวผู้ จากนั้นตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศตัวเมีย หลังจากนั้นประมาณ 14 นาที ถุงน้ำเชื้อก็จะฝ่อลง แล้วตัวเมียจะใช้ ขาเขี่ยถุงน้ำเชื้อทิ้งไป เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียใช้อวัยวะวางไข่ที่แทงลงในดินที่มีลักษณะเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ก็จะฟักออกเป็นตัวอ่อน ตลอดอายุไข่จิ้งหรีดตัวเมียสามารถวางไข่ได้ตั้งแต่ 600-1,000 ฟอง ซึ่งจะวางไข่เป็นรุ่น ๆ ได้ประมาณ 4 รุ่น[3]

 

อุปกรณ์ ->

1. ขันไข่ บ่อละ 5 ขัน
2. ท่อปูนพร้อมฝาปิดท่อ ขนาดกว้าง 80 ซม. สูง 50 ซม. จำนวน 1 ท่อ หรือกะละมังพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 72 ซม. สูง 30 ซม. หรือจะเป็นภาชนะที่ใส่ได้ทุกขนาด
3. ตาข่ายไนล่อนเขียว 100 x 100 ซม. จำนวน 1 ผืน
4. แผ่นพลาสติก ขนาด 25 x 270 ซม. จำนวน 1 ผืน
5. ยางรัดปากบ่อหนา 1 ซม. จำนวน 1 เส้น
6. ถาดอาหาร-น้ำ กว้าง x ยาว = 5 x 10 ซม. ลึก 1.5 ซม. 2 ถาด
7. กระบอกไม้ไผ่ ยาว 20 ซม. ผ่าครึ่งจำนวน 10 อัน หรือกระดาษรังไข่ 3 อัน
8. ถาดหรือถุงพลาสติกใส่ดินร่วนปนทราย หนา 2 ซม.

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

/ การให้อาหารและน้ำ

พืชอาหาร ได้แก่ ต้นอ่อนและยอดอ่อนของพืชหรือหญ้าสดทุกชนิด หญ้าขน หญ้าลูซี่ ผักตบชวา ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง โดย 2 วัน ให้หญ้า 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือโดยหญ้าเก่าไม่ต้องนำออก จะเป็นที่อาศัยของจิ้งหรีดต่อไป
อาหารเสริม รำอ่อน หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงไก่จิ้งหรีด 1 บ่อ ใช้อาหาร 3กก./รุ่น ราคาประมาณ 15 บาท/กก. อาหารเสริมควรให้ในปริมาณที่กินหมดภายใน 2 วัน
การให้น้ำ ขวดน้ำพลาสติกเจาะรูข้างขวด 2 รู ใช้ผ้าทำความสะอาดม้วนใส่รูเพื่อให้น้ำซึมสำหรับจิ้งหรีดวัยตัวอ่อน
ภาชนะสำหรับวางไข่จิ้งหรีด ใช้ดินร่วนปนทรายและแกลบเผาใส่ขันสำหรับอาบน้ำ ใช้ฟ๊อกกี้ฉีดน้ำทุก 3 วัน พอขึ้นไม่แฉะก่อนฉีดน้ำนำถาดอาหารออกก่อน ถ้าเปียกจะเกิดเชื้อรา ใช้เฉพาะในช่วงที่มีตัวเต็มวัยที่จะวางไข่

ข้อพึงระวัง ->

เศษฟางถ้ามากไปก็จะเดิกโรคระบาด 

และให้ระวังมากพิเศษอย่าให้ขาดนำ้เด็ดขาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา