ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

โดย : นางลัดดา นาเทียมเขต วันที่ : 2017-04-01-13:44:35

ที่อยู่ : 144 ม. 7 ต.เนินยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าไหมไทย หลายๆคนรู้จักผ้าไหมไทย เพราะเป็นสิ่งทอไทยที่มีความงดงาม และเป็นเสน่ห์ต่อผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็คงยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่ทราบว่า กว่าจะเป็นผืนผ้าไหมที่มีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์ของความเป็นผ้าไหมไทยนั้น ต้องผ่านขั้นตอน กระบวนการต่างๆ ผนวกกับภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยมาอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเรามารู้จักต้นกำเนิดของความเป็นผ้าไหมไทยกันเถิด จุดเริ่มต้น คือ เป็นการร่วมประสานกันระหว่างพืชและสัตว์ นั่นคือ ต้นหม่อนกับตัวหนอนไหม

ต้นหม่อน เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างเป็นไม้ทรงพุ่ม เป็นพืชยืนต้น ใบหม่อนเป็นอาหารที่ดีที่สุดของหนอนไหม ผลผลิตเส้นไหมจะมีคุณภาพดีหรือไม่ ผลผลิตต่อไร่จะมากหรือน้อย คุณภาพของใบหม่อนมีส่วนสัมพันธ์โดยตรง รวมทั้งกระบวนการบริหารจัดการแปลงหม่อนเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดด้วย

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์หม่อน

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ทำการเกษตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมพื้นที่การปลูกหม่อน

- พื้นที่ปลูกหม่อนควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการให้น้ำแปลงหม่อนช่วงฤดูแล้ง
- ควรอยู่ใกล้กับห้องเลี้ยงไหม เพื่อสะดวกในการเก็บใบหม่อนมาเลี้ยงไหม
- หลีกเลี่ยงการปลูกหม่อนในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
- หลีกเลี่ยงพื้นที่มีการเกษตรพืชอื่นๆที่มีการใช้สารเคมี เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีที่ผิวใบหม่อนซึ่งอาจจะส่งผลเป็นพิษต่อหนอนไหมได้
- ควรมีการตรวจสภาพความเหมาะสมของดินในพื้นที่ที่จะปลูกหม่อนก่อนที่จะทำการปลูก ทั้งนี้เพื่อการปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหม่อนได้อย่างถูกต้อง เช่น ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ควรอยู่ที่6.5-7 หากแตกต่างจากนี้ไปก็ควรทำการปรับระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ก่อนการปลูก ปริมาณของอินทรีย์วัตถุ ปริมาณของธาตุอาหารทั้งส่วนที่เป็นธาตุหลัก เช่น N P K และธาตุรอง ว่าอยู่ที่ระดับขาดแคลนมากน้อยเพียงไร เพื่อที่จะได้ทำการปรับสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ที่เพียงพอ และเหมาะสม
- ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกหม่อน คือ ช่วงฤดูฝน เพื่อให้เปอร์การรอดของต้นหม่อนสูง โดยทั่วไปประมาณเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป
- การเตรียมดินในพื้นที่ปลูกหม่อน ควรมีการสำรวจสภาพพื้นที่ว่าเป็นดินดานหรือไม่ หากใช่และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ควรที่จะทำการระเบิดดินดานก่อนการปลูก หากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง การไถเตรียมดินควรที่จะลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และควรทำการไถอย่างน้อย 2 ครั้ง แล้วตามด้วยการไถพรวน ก็จะได้แปลงที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกหม่อน

การดูแลและบำรุงแปลงหม่อนใหม่

1. การให้น้ำกับต้นหม่อน หลังจากการที่ได้ปลูกหม่อนลงในแปลงเรียบร้อย ในระยะแรกหากไม่มีฝนหรือฝนทิ้งช่วงก็จะต้องมีการให้น้ำกับแปลงหม่อนเพื่อให้หม่อนสามารถที่จะเติบโตได้
2. การปลูกซ่อม เมื่อทำการปลูกหม่อนแล้ว ควรที่จะทำการสำรวจดูว่ามีต้นหม่อนตายมากน้อยเท่าไร เพื่อทำการปลูกซ่อมทันที ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. ระยะเวลาที่ดีและเหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวใบหม่อนเลี้ยงไหม ควรให้ระยะเวลากับต้นหม่อนในการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ก่อนที่จะเก็บใบหม่อนครั้งแรก โดยทั่วไปควรมีอายุไม่น้อยกว่า 8 เดือนหลังจากการปลูก เพื่อให้ต้นหม่อนมีการเจริญเติบโตของรากที่สมบูรณ์ก่อน เพราะหากเก็บใบหม่อนโดยที่รากยังไม่แข็งแรงพอก็จะส่งผลทำให้ต้นหม่อนไม่สมบูรณ์

การดูแลและบำรุงแปลงหม่อนเก่า

1. การให้น้ำกับต้นหม่อน โดยสภาพแปลงหม่อนทั่วไปจะอยู่ในเขตอาศัยน้ำฝน แต่อย่างไรก็ตามหากอยู่ใกล้แหล่งน้ำก็ควรที่มีการจัดทำระบบการให้น้ำแก่แปลงหม่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากต้นหม่อนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2. การให้ปุ๋ยกับต้นหม่อน ในแต่ละพื้นที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ไม่เท่ากันทั้งด้านปริมาณ และชนิดของธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนั้นในแต่ละครั้งควรที่จะมีการตรวจระดับความอุดมสมบูรณ์ก่อนทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี โดยเกษตรกรสามารถปรึกษาหมอดินที่ประจำอยู่ในเขตพื้นที่ เพื่อให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุน
3. ระยะเวลาในการใส่ปุ๋ย โดยทั่วไปควรใส่ในช่วงต้นฝน โดยอย่างน้อยใส่ปุ๋ยปีละ1-2 ครั้ง โดยเฉพาะหลังการเก็บใบหม่อนทุกครั้งควรที่จะมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นหม่อน และข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ยจะต้องทำการคลุกปุ๋ยให้ทั่วทั้งถุงก่อนการใช้ เพื่อให้ธาตุอาหารในถุงปุ๋ยมีการกระจายตัวกันอย่างทั่วถึงทั้งในส่วนปากถุง กลางถุง และก้นถุง

การตัดแต่งกิ่งหม่อน
การตัดแต่งกิ่งหม่อน เป็นการดูแลรักษาต้นหม่อนรูปแบบหนึ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการตัดแต่งรูปทรงต้นแล้ว ยังเป็นการกำจัดโรคและแมลงที่อาศัยอยู่ในกิ่งหม่อนได้ด้วย การตัดแต่งที่เกษตรกรควรที่จะปฏิบัติ คือ
1. การตัดต่ำ โดยทั่วไปจะตัดปีละครั้ง หรืออาจจะ2ปีต่อครั้งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของต้นหม่อนด้วย ตัดสูงจากพื้นดินประมาณ 30-35 เซนติเมตร
2. การตัดกลาง หลังจากที่ตัดต่ำ 2-2 ½ เดือน เก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมแล้วให้ทำการตัดกลาง โดยตัดสูงจากพื้นดินประมาณ 60-80 เซนติเมตร

ข้อพึงระวัง ->

การเตรียมก่อนการเลี้ยงไหม

เกษตรกรจะต้องเตรียมการก่อนที่จะเริ่มต้นการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่น ดังนี้
- อุปกรณ์การเลี้ยงไหม เช่น กระด้งเลี้ยงไหม มีด เขียง ตาข่ายถ่ายมูล จ่อ ตะแกรงร่อน ตะเกียบ ถังน้ำ เข่งหรือตะกร้าเก็บใบหม่อน รองเท้าแตะ สารโรยตัวไหม ปูนขาว เป็นต้น

- ห้องเลี้ยงไหม สำหรับในส่วนของอุปกรณ์และห้องเลี้ยงไหมจะต้องทำความสะอาดโดยการล้างด้วยผงซกฟอก และตากแดดให้แห้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันกำจัดโรคที่ดีที่สุด

- ไข่ไหมพันธุ์ดี

- แปลงหม่อนที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเก็บใบมาเลี้ยงไหม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา