ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน

โดย : นางอารี ดอกเข็ม วันที่ : 2017-04-18-16:21:53

ที่อยู่ : 6 ม.5 ต.นาบอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เห็ดนางฟ้า จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากไม่แพ้กว่าเห็ดนางรม และเห็ดฟาง เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น ดอกเห็ดออกจำนวนมาก ดอกเห็ดให้เนื้อนุ่ม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ แกงเลียง และต้มยำ เป็นต้นดอกเห็ดนางฟ้าจะมีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม และคล้ายกับเห็ดนางรมมากจนเกือบแยกไม่ออก แต่สีของขอบดอกของเห็ดนางฟ้าจะอ่อนกว่าเห็ดนางรม ในขณะที่เห็ดนางรมขอบดอกจะมีสีคล้ำมากกว่า ส่วนตัวดอกเห็ดนางฟ้าจะบางกว่าเห็ดนางรม และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า และเมื่อเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ พบว่า ก้านดอกของเห็ดนางฟ้าจะค่อนอยู่ตรงกลางดอก

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุที่นิยมใช้เป็นวัสดุหลักในการเพาะเห็ดนางฟ้า คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารำ เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องหมัก เก็บรักษาง่าย สามารถเก็บไว้ในสภาพแห้งๆ ก็ได้ หรือทิ้งอยู่กลางแจ้งเปียกน้ำ เปียกฝนก็ได้

อุปกรณ์ ->

โรงเรือน และวัสดุเพาะ
1. โรงเรือน
สำหรับเห็ดนางฟ้าจะใช้โรงเรือนที่วางเป็นรูปตัวเอ และควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไปโครงสร้างของโรงเรือนทำ ได้ 2 แบบ แบบแรกเป็น โรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสาทำ ด้วยไม้ไผ่ หรือเสาเข็ม หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้าคา อายุการใช้งานประมาณ 3 – 4 ปี

โรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนสังกะสีหรือกระเบื้องลอน แต่อาจมีปัญหาเรื่องความร้อน จึงควรทำ หลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงมาก อายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป

2. การจัดวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน
โรงเรือนนี้ภายในทำเป็นแผงสำหรับวางก้อนเชื้อ ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นรูปแบบตายตัว สามารถวางเห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผ่ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ (A) หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง แล้ววางก้อนเชื้อซ้อนทับกันไป หันปากถุงออกทางด้านข้างชั้นทั้งสองด้าน ทำช่องระบายอากาศขนาด 40 x 60 เซนติเมตร จำนวน 1– 2 ช่อง สำหรับระบายอากาศด้วยการวางถุงก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจะวางในแนวนอน เช่น การวางในแนวนอนโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ ประมาณ 3 – 5 ก้อน หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน ดอกเห็ดจะโผล่ออกมาทางปากถุง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเพาะนางฟ้าในถุงพลาสติก
1. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์
2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่าง
3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
4. การบ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า
5. การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา

ข้อพึงระวัง ->

ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า หลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว จะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือในโรงบ่มที่ทำ ไว้โดยเฉพาะ ไม่มีลมโกรกและโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย เพื่อ รอให้เส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์ ระยะบ่มที่มาตรฐานคือ ประมาณ 22–28 วัน ยกเว้นฤดูหนาวใช้เวลาเพียง 15–20 วันเท่านั้น ก้อนเชื้อที่ดีเส้นใยเห็ด จะเจริญอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทั่วทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่เดินลงมา ซึ่งอาจจะเกิดจากมีเชื้อราขึ้นปะปนจากการนึ่งไม่ทั่วถึงหรือในระหว่างการเขี่ยเชื้อ ซึ่งแสดงว่าเชื้อเสีย ลักษณะก้อนเชื้อที่แฉะบริเวณก้นถุง ก็เป็นก้อนเชื้อที่เสียแล้วเช่นกัน ควรคัดออกทิ้งไป

การบ่มเชื้อ จะลำเลียงก้อนเชื้อจากห้องเขี่ยเชื้อเข้ามายังโรงบ่มนี้ นำก้อนเชื้อไปวางเรียงบนชั้นจนเต็ม จะวางทางตั้งสำหรับชั้นวางที่ถาวร หรือวางแนวนอนสำหรับชั้นแบบเสาคู่ซึ่งไม่ควรเกิน 3 ก้อน เพราะจะทำ ให้ก้อนเชื้อที่อยู่ตรงกลางมีความร้อนสูงเกินไป จนเป็นผลเสียภายหลังได้

การดูแลก้อนเชื้อในโรงบ่มนี้ นอกจากการรักษาความสะอาดตรวจสอบอุณหภูมิเพื่อ ควบคุมให้อุณหภูมิสม่ำเสมอหรือไม่ให้สูงเกินกว่า 25–30 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้หรือจนคาดว่าอาจเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด โดยเฉพาะในฤดูร้อน ควรทำการลดอุณหภูมิลงโดยการรดน้ำ ตามพื้นผนัง หลังคาโรงเรือน หรืออาจจะระบายอากาศออกครั้งละประมาณ 10 นาที ก็พอ ในทางตรงกันข้าม ท้องถิ่นที่อากาศค่อนข้างหนาว หรือในฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส จะทำ ให้การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดช้าลง ดังนั้นโรงบ่มก้อนเชื้อเห็ดในสภาพท้องถิ่นแบบนี้ ควรหาทางบุภายในโรงเรือนด้วยผ้าพลาสติก

หลังจากบ่มเชื้อเห็ดไปได้สักระยะหนึ่ง หรือประมาณ 10 วัน ให้คอยตรวจดูทุกวันถ้าพบว่าก้อนเชื้อถุงใดเสียหาย มีเชื้อราเขียว รำดา เข้าทำ ลายข้างๆ ถุงหรือก้นถุง อาจเกิดจากการที่ถุงพลาสติกแตกตามตะเข็บ หากพบการเสียหายเกิดจากปากถุง โดยมีเชื้อราอย่างเดียวกันแทบทุกถุง สาเหตุอาจเกิดจากหัวเชื้อข้าวฟ่างเสีย แล้วแพร่เชื้อราไปทุกถุง แต่ถ้าเกิดการเสียหายบางถุง และเชื้อราไม่เหมือนกัน สาเหตุเกิดจากอากาศภายนอก และภายในสกปรก มีแหล่งเชื้อราต่างๆ สะสมอยู่มากต้องรักษาความสะอาดบริเวณรอบโรงบ่ม และภายในโรงบ่มให้สะอาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา