ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าพื้นเมือง

โดย : นายสายทอง ยลยุบล วันที่ : 2017-04-01-11:38:50

ที่อยู่ : 102 ม.3 ตำบลนาทัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าพันคอพื้นบ้าน  เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ต้องอาศัยศิลปะที่เกิดขึ้น  จากการสืบทอดภูมิปัญญาของ

บรรพบุรุษต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ทุกหมู่บ้านของชาวอีสานจะมีความสามารถในการทอผ้า แต่จะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม  หรือ  ประเพณีวัฒนธรรม  ของแต่ละท้องถิ่น  ซึ่งเป็นผ้าทอด้วยมือ  และใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น คือ  ฝ้าย ปลูกกันเองแล้วมาทำเป็นเส้นด้ายและนำมาย้อมสีธรรมชาติ  คือ  เปลือกไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น จึงนับได้ว่าการทอผ้าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่ง  ควรแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่คนไทยสืบไป

วัตถุประสงค์ ->

ใช้พันคอ คุมไหล่ เสริมส้างอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ใช้ฝ้ายหรือด้ายประดิษฐ์

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. การหาวัสดุที่มีคุณภาพ อุปกรณ์การทอมีความมั่นคงแข็งแรง เช่น กี่ ฟืม กระสวย เฟอ เครื่องกรอฝ้าย เป็นต้น

 ๒. เส้นฝ้ายที่มีคุณภาพ เหนียว นุ่ม สีไม่ตก

๓. การกำหนดลวดลายสีสันที่ต้องการ  สีฝ้ายยืนและสีฝ้ายพุ่งให้เหมาะสม

๔. เมื่อได้เส้นฝ้ายและสีสันที่ต้องการแล้วก็เข้าสู่กระบวนการทอ ดังนี้

       ๔.๑ การทอฝ้ายให้เป็นเส้นเดียวเพื่อนำไปขึ้นเฟอ  ที่เรียกกันว่าคันเครือฮูก 

       ๔.๒ การทอให้เป็นผืนผ้า ต้องขึ้นรูปในกี่ที่จะทอ  ซึ่งจะใช้กี่พื้นเมือง  ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะทอผ้าให้ได้หนึ่งผืน  ผู้ทอจะต้องมีความชำนาญและเข้าใจลวดลายเป็นพิเศษ  รวมถึงความรู้ความสามารถเฉพาะตัวด้วย  เพราะถ้าทอผิดแม้แต่เส้นเดียวก็หมายถึงผ้าผืนนั้นลวดลายจะผิดแปลกดูไม่สวยงามเสียเลย

ข้อพึงระวัง ->

การทอต้องใช้ความพยายามและความอดทน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา