ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกล้วย

โดย : นางนาง สุวรรณสน วันที่ : 2017-03-31-19:45:32

ที่อยู่ : 86 ม.12 ต.หนองใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ต้องการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้เกิดรายได้ ลดรายจ่ายภายในครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

จอบ  มูลสัตว์  รถแทรกเตอร์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กล้วยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ  แต่การปลูกกล้วยไม่ให้ขึ้นโคนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี  โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์  การปลูก  การดูแลรักษา  ดังนี้

1.      การปลูก

1.1  การเตรียมดิน

    วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน  ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก

    ไถพรวน  ตากดินทิ้งไว้ ๑ เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

1.2  วิธีการปลูก

1.  ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ในระยะที่มีใบแคบ  ลำต้นสูง ๓๐ – ๕๐ เซนติเมตร

2.  ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น ๒ x ๒ เมตร  หรือ  ๒.๕ x ๒.๕ เมตร

3.  ขุดหลุมปลูกขนาด ๕๐ x ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร

4.  รองก้นหลุมด้วยดินผสมกับปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว  อัตรา ๕ กิโลกรัมต่อหลุม  โดยสูงจากก้นหลุมประมาณ ๑ ใน ๓ ของหลุม  หากต้องการไว้ตอ ๒ – ๓ ปี  ควรเพิ่มหินฟอสเฟตอัตรา ๑๐๐ – ๒๐๐ กรัมต่อหลุม

5. วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุมให้ลึกประมาณ ๒๕ เซนติเมตร  โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน  เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน  สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา

6.  กลบดินที่เหลือลงในหลุม  กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่นและคลุมด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง

7. รดน้ำให้ชุ่ม

2.  การดูแลรักษา

2.1  การให้ปุ๋ย

       ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ๑ ครั้ง  เช่น  ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก  อัตรา ๓ – ๕  กิโลกรัมต่อหลุม  ใส่ปุ๋ยเคมี ๔ ครั้ง

       ใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ ๑ และ ๒ หลังจากปลูก ๑ เดือน และ ๓ เดือน เป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร ๒๐–๑๐-๑๐ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕  อัตรา ๑๒๕ - ๒๕๐ กรัมต่อต้นต่อครั้ง

       ใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ หลังจากปลูก ๕ เดือน และ ๗ เดือน  เป็นระยะที่กล้วยเริ่มให้ผลผลิต  ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๒-๑๒-๒๔ หรือ ๑๔-๑๔-๒๑  อัตรา ๑๒๕ - ๒๕๐ กรัมต่อต้นต่อครั้ง

       ปุ๋ยเคมี  ใส่โดยโรยห่างต้นประมาณ ๓๐ เซนติเมตร หรือใส่ในหลุมลึกประมาณ ๑๐ เซนติเมตร  ทั้ง ๔ ด้าน  แล้วพรวนดินกลบ

3.  การให้น้ำ

·       ในฤดูฝน  เมื่อฝนทิ้งช่วง  สังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก  ควรรีบให้น้ำ

·       ในฤดูแล้ง  เริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน  ประมาณปลายเดือนมกราคม – พฤษภาคม

·       วิธีการให้น้ำ  ชาวสวนนิยมปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้วจึงให้กับแปลงอื่นต่อไป

·       ปริมาณน้ำที่ให้  สังเกตดินในแปลงเปียกชื้น  แฉะเล็กน้อย  จึงหยุดให้

4.  การตัดแต่งและดูแลต้นกล้วย

·       หลังปลูกกล้วย ๑ เดือน พรวนดินเพื่อให้ดินโปร่ง เก็บความชื้นได้มาก และดายหญ้าสม่ำเสมอ

·       การพูนโคน  ในขณะที่ดายหญ้าและพรวนดิน โดยดินเข้าหากอกล้วย ช่วยลดปัญหาโค่นล้มของต้นกล้วยและป้องกันรากของหน่อตาม  โดยเฉพาะกล้วยตอที่เกิดจากหน่อตาม ปีที่ ๒ และปีที่ ๓

การแต่งหน่อ  หลังจากปลูกกล้วยประมาณ ๕ เดือน  แต่งหน่อตามเพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์  โดยใช้มีดยาวปลายขอ  เรียกว่า “มีดขอ” ปาดเป็นรอยเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม ๔๕ องศากับลำต้น  โดยรอยปาดด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้น  ประมาณ ๑๐ – ๑๕ เซนติเมตร  หลังจากนั้นประมาณ ๒๐ – ๓๐ วัน  ทำการปาดหน่อครั้งที่ ๒  ให้รอยปาดอยู่ทิศทางตรงข้ามกับรอยปาดครั้งแรก และให้รอยปาดมุมล่างสุดอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ ๒๐ – ๒๕ เซนติเมตร  ทำการแต่งหน่อเช่นนี้ต่อไปจนกว่าถึงเวลาเหมาะสม  จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นต้นกล้วย  หรืออาจขุดหน่อไว้สำหรับปลูกใหม่  หรือขายต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

ควรมีการให้น้ำกล้วยอย่างสม่ำเสมอ เพราะกล้วยเป็นพื้ชที่ชอบน้ำ ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือมูลสัตว์รองก้นหลุม เพราะจะทำให้กล้วยมีลูกใหญ่และสมบุูรณ์

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา