ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานตะกร้าไม้ไผ่

โดย : นายประยูร สีนวนนาม วันที่ : 2017-03-31-09:28:06

ที่อยู่ : 132......... หมู่ .....5....... ซอย ............-........... ถนน ...............- ตำบล .............ลำหนองแสน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน   หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต  

                 จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ต่างๆ 

วัตถุประสงค์ ->

          1.     เพิ่มรายได้

2.     อนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.     ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4.     เกิดความรัก/ความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน

5.     ได้บริหารงานด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

มีด ไม้ไผ่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

การรมควัน

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย  ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย  จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

การถักและพัน

เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม  ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย  มีการผูกปาก  พันขา  ใส่ฐานและหูหิ้ว

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา