เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสร้างทีมวิทยากรแกนนำสัมมาชีพชุมชนที่ประสบความสำเร็จ

โดย : นางสาวภัณฑิราภา สุขเสริม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-15:36:12

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2560 ภายใต้ชื่อโครงการสัมมาชีพชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้แนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  โดยกระบวนการสร้างผู้นำ เป็นการค้นหาและนำปราชญ์ชุมชนมาทำหน้าที่ขยายชุด
ความความรู้  การสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่เป้าหมายของการสร้างชุมชนด้วยการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า  การนำอาชีพของปราชญ์ชุมชนต่างๆ  ที่มีความถนัด ความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดให้ผู้สนใจในชุมชน เมื่อได้เรียนรู้แล้วครัวเรือนสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง และครอบครัวได้  และสามารถพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพ สู่การสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP  ในชุมชน  มีการคิดวิเคราะห์จัดทำแผนเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน  สามารถดำเนินการกิจกรรมตามแผนพัฒนาและบูรณาการเงินซึ่งเป็นทุนที่มีทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชนเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้  ซึ่งบทบาทของผู้นำให้เป็นแกนนำสามารถบูรณาการกิจกรรมต่างๆ จากทุกหน่วยงานโดยมีแผนชุมชนเป็นเครื่องกำกับการพัฒนาเมื่อได้ดำเนินการมีประสบการณ์  มีความรู้  สามารถจัดทำเป็นชุดความรู้  มีหลักสูตรสำหรับการถ่ายทอดความรู้จัดเป็นแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรูเพื่อขยายผล  แล้วยังสามารถสร้างภาวะผู้นำ ทักษะการจัดการสร้างและพัฒนากลุ่มต่างๆ ในชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  หมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหมู่บ้าน “อยู่เย็น เป็นสุข” ตามยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน   ซึ่งยึดหลักตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเมื่อหมู่บ้านดำเนินการตามแนวทางนี้แล้ว ก็จะเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีคุณลักษณะ 3 ไม่ 2 มี คือ          ไม่มียาเสพติด  ไม่มีคนยากจน  และไม่มีหนี้นอกระบบ         และมี คือ มีสวัสดิการชุมชน  และมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   อำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรี  ได้ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานโครงการสัมมาชีพชุมชนตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน  จำนวน  90  หมู่บ้าน ซึ่งในบทบาทพัฒนากรที่รับผิดชอบการพัฒนาสัมมาชีพชุมชนพื้นที่ตำบลทองเอน  ตำบลน้ำตาล   และตำบลอินทร์บุรี จำนวน 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน วิทยากรสัมมาชีพที่ต้องสร้างการเรียนรู้ร่วมกันจำนวนหมู่บ้านละ 5 คน รวมจำนวน 155 คน  ซึ่งสร้างครัวเรือนสัมมาชีพจำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน รวมจำนวน  620  ครัวเรือน  สู่การพัฒนาอาชีพที่มั่นคง และการพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

เทคนิคกระบวนการทำงานและการประสานงานเพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  ให้ประสบความสำเร็จที่สำคัญ  ดังนี้

              1.  ความชัดเจนในการประสานงาน  ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก  ในการประสานงานไม่ว่าจะด้วยพบปะด้วยตนเอง  หรือใช้โทรศัพท์  ซึ่งปัจจุบัน มีเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทำให้เกิดความคล่องตัว สะดวก ประหยัด เช่น Facebook Line เป็นต้น และจะต้องมีความชัดเจน  มีที่มาที่ไป  จะทำอะไร  อย่างไร  ที่ไหน เวลาใด รายละเอียดต้องชัดเจน กระชับ เพื่อให้ทีมวิทยากรเข้าใจอย่างละเอียด

              2.  สร้างความเข้าใจให้แก่ทีมวิทยากร เพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ รวมทั้งการสร้างไลน์กลุ่มในการทำงาน เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือตอบข้อซักถามกรณีพบปัญหาอุปสรรค

              3.  ให้กำลังใจทีมวิทยากร และยินดีตอบคำถามและให้คำปรึกษา พร้อมติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

              4.  การมีอัธยาศัยที่ดี  ทั้งในการประสานงานและในระหว่างปฏิบัติงาน  ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง  ให้ความสำคัญพร้อมเน้นการทำงานเป็นทีมของทีมวิทยาการแต่ละหมู่บ้าน

              5.  ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  ซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน  การนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน  เช่น  การใช้เฟสบุ๊ค  หรือการใช้ไลน์  ในการติดต่อสื่อสารงาน 

              6.  การยอมรับความแตกต่างของบุคคล ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด  ความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ ฯลฯ

               7. หาโอกาสสังสรรค์ร่วมกัน  เช่น  รับประทานอาหารร่วมกันหลังจากปฏิบัติหน้าที่  หรือนั่งพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการ  ถ้ามีโอกาสหรือมีเวลา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

              จากเทคนิคการขับเคลื่อนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่ประสบความสำเร็จ มีประเด็นที่สรุปได้ดังนี้

              1.  ทีมต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน  ไม่มีใครเก่งกว่าใคร  ทุกคนร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติหน้าที่

              2.  นำความรู้ ความสามารถ ความถนัด  และประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเปิดใจที่จะเรียนรู้ร่วมกัน

              3.  ความชัดเจนในการประสานงาน

              4.  ความจริงใจ  ความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่

              5.  ความซื่อสัตย์

              6.  ความเสียสละ

              7.  การรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และทำให้ดีที่สุด

              8.  ตรงต่อเวลา

              9.  ความรับผิดชอบ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา