เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

พัฒนาความรู้สู่สัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาววิภาพร สว่างแจ้ง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-15:58:18

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสิงห์บุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้า นางสาววิภาพร  สว่างแจ้ง ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนปฏิบัติงาน ได้รับแต่งตั้งรับผิดชอบประสานงาน ตำบลต้นโพธิ์, ตำบลม่วงหมู่ ตามคำสั่งอำเภอเมืองสิงห์บุรี ที่ 20/2558 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558

          ปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการส่งเสริมการชัพเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้านโดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

          อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานโครงการสัมมาชีพชุมชนตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน ๕7 หมู่บ้าน ๆ ละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 1,140 คน โดยเน้นผู้แทนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2559 เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก และในบทบาทพัฒนากรที่รับผิดชอบการพัฒนาสัมมาชีพชุมชนพื้นที่ตำบลต้นโพธิ์ และตำบลม่วงหมู่ จำนวน ๒ ตำบล ๑๖ หมู่บ้าน วิทยากรสัมมาชีพที่ต้องค้นหาและสร้างการเรียนรู้ร่วมกันจำนวน  ๘๐ คน และสร้างครัวเรือนสัมมาชีพ ๓๒๐ ครัวเรือน สู่อาชีพที่มั่นคงเต็มพื้นที่ ประชาชนอยู่เย็น เป็นสุข

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการดำเนินการ

          สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนดำเนินการ 5 วัน โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.      ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ที่กรมฯ จัดส่งให้อย่างละเอียด

2.      สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ นำแผนปฏิบัติการที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพ

ชุมชนระดับจังหวัด มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด มาประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามโครงการ

           3. เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึงทักษะพื้นฐาน (ทุนเดิม) ของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ

 

- 2 -

          4. ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน

โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมูบ้าแล้วเสร็จ โดยมีกรอบระยะเวลาในการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชน ดังนี้

               1) วันที่ 1-3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพและสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน (ดำเนินการในหมู่บ้าน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชน)

               2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้ายอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง

            3) วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ และมีการสนับสนุนวัสดุการฝึกปฏิบัติอาชีพ

            4) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง

            5) จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการต่อยอดการพัฒนาและอื่น ๆ

              6) สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets) :

 ๑. สร้างทีมงาน ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน

๒. มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน เพื่อหาจุดเด่น จุดด้อยต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน นามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

๓. ศึกษาสภาพพื้นที่ ต้นทุนทางสังคม โดยใช้ SWOT

 

แก่นความรู้ (Core Competency)

๑. สร้างแกนนาที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในการทางาน เช่น ครู อาจารย์ ปราชญ์ชาวบ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน

๒. ประชุม ชี้แจงทาความเข้าใจแก่ทีมงานภายในหมู่บ้าน เพื่อค้นหาศักยภาพด้านต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ๓. ดาเนินการมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบ ให้กับผู้นากลุ่ม โดยแบ่งหน้าที่ให้ทุก ๆ คนได้มีส่วนร่วมในงาน

ที่ได้รับมอบหมาย

๔. ดาเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมงานพัฒนาชุมชน เช่น งานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กองทุนแม่ของแผ่นดินฯ

กันทั้งหมู่บ้าน เพื่อความเป็นเอกภาพ

กลยุทธ์ในการทำงาน

๑. ศึกษาพื้นที่และศักยภาพของชุมชน เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนทางสังคม เช่น ทุนมนุษย์ ทุนทางกายภาพ ฯ รวมถึง

ทุนที่เป็นตัวเงิน เพื่อให้เกิดการบริหาร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

๒. สร้างความองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้นาชุมชน และประชาชนภายในหมู่บ้าน ถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

หลังจากการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงเป็นสถานที่ศึกษาดูงานจากหมู่บ้านใกล้เคียงได้

๓. ตรวจเยี่ยมกิจกรรมต่างๆ ภายในหมู่บ้าน โดยให้คาแนะนา สนับสนุน และส่งเสริมในจุดด้อย เพื่อหาแนวทาง

แก้ไขปัญหาร่วมกัน และเป็นพี่เลี้ยง ให้กับผู้นาชุมชน

 

 

- 3 -

 

ฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในส่วนที่ ๓ แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา ๗๘ (๑) ความว่า “บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดาเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ”

 

………………………………………………………

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา