เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสร้างวิทยากรแกนนำสัมมาชีพชุมชน/หมู่บ้าน สู่ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นางสาวพรทิพย์ แก้วประพล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-23-17:22:38

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอค่ายบางระจัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชนได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวคิด/แนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความสามารถในการจัดการการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ     ของผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน หรือกลุ่มองค์กรที่ร่วมปฏิบัติงานเพื่อสร้างสรรค์การทำงาน         บนฐานความรู้ การตัดสินใจกระทำการเพื่อเลือกอนาคตของหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในชุมชนบูรณาการแผนงานการปฏิบัติ      และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยใช้ทุนทางสังคมจากทั้งภายในและภายนอกชุมชนในการขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น มีความสัมพันธ์สอดรับกัน เป็นระบบการบริหารจัดการชุมชน ซึ่งหมู่บ้าน/ชุมชนใดที่คนในชุมชนได้ทำการพัฒนาด้วยตนเอง มีการทำงานเป็นระบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ผลที่ได้จะทำให้ก่อเกิดคนที่มีความสามารถ มีกิจกรรมและการบริการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นลักษณะของชุมชนที่เข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน และพึ่งตนเองได้การดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้วยผลการทำงานที่สำเร็จแล้ว มีตัวอย่างสามารถเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ให้คนทั่วไปและหมู่บ้านอื่น โดยจัดเป็นต้นแบบ ๓ ระดับ คือ ระดับเริ่มต้น สามารถจัดกิจกรรมทำกินทำใช้ ลดคนยากจน เพื่อการพึ่งตนเองในระดับครัวเรือน เป็นลักษณะของการ “พออยู่ พอกิน” เมื่อครัวเรือนอยู่ได้ ต้นแบบระดับต่อไป คือ “อยู่ดี กินดี” หมู่บ้านพร้อมเป็นต้นแบบของการขยายงาน ด้วยการทำงานระบบกลุ่มที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหมู่บ้าน ระดับนี้จึงมีกลุ่มที่เข้มแข็ง สำหรับแก้ปัญหาที่ยากขึ้น สำหรับหมู่บ้านต้นแบบระดับ “มั่งมี ศรีสุข” มีลักษณะ  ที่ใช้ความรู้ในการบริหารจัดการการพัฒนาที่มีความเข้มแข็งสามารถขยายกิจกรรมของกลุ่มต่างๆให้มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่าย มีกิจกรรมในการแก้ปัญหาและพัฒนาการให้บริการมีการจัดสวัสดิการสำหรับคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่กว้างขวางยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ยังมีแนวทางการดำเนินการในเรื่องหมู่บ้าน/ชุมชน ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น                    

        โครงการสัมมาชีพชุมชนเป็นกิจกรรมภายใต้แนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง      ซึ่งหมายถึง กระบวนการสร้าง ผู้นำ และเป็นการค้นหาและนำปราชญ์ชุมชนมาทำหน้าที่ขยายชุดความความรู้ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ สู่เป้าหมายของการสร้างชุมชนด้วยการใช้ทรัพยากรได้อย่างเฉลียวฉลาด       และคุ้มค่า การตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติการสำเร็จ ตามแผนที่กำหนดไว้ จากการทำงานร่วมกัน       โดยใช้บุคคล กลุ่มคน ทรัพยากร รวมทั้งการออกแบบและรักษาบรรยากาศ แวดล้อมในชุมชน ให้ทุกคน      ในชุมชนร่วมกันทำงานได้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ภายในชุมชน       คือ การนำอาชีพต่างๆ ที่ตนเองเชี่ยวชาญ ถนัด มาสอน เป็นโค้ด ให้ผู้สนใจในชุมในชุมชน กลุ่มคน  หรือองค์กรของชุมชนเป็นมาฝึกทำร่วมกัน เป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงดู ตนเอง เพื่อนในชุมชน และพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพ กลุ่มสินค้าชุมชน สู่การสร้าง สินค้า OTOP และสามารถนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนที่มั่นคง และเรียนรู้ ผลักดันกิจกรรมการพัฒนาทั้งปวงโดยจัดให้มีและใช้ระบบข้อมูลใช้ข้อมูลเป็นฐานในการจัดประชุม          คิดวิเคระห์จัดทำแผนเพื่อกรพัฒน หมู่บ้นดำเนินการกิจกรรมตามแผนพัฒนาและบูรณรเงินทุน        ทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชนเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตาม แผนที่วางไว้ ซึ่งระบบการทำงานเช่นนี้ของชุมชนจะทำให้มีกิจกรรมเกิดขึ้นและมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงยกระดับ เพิ่มขึ้นตลอดเวลาการจัดโครงการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบจึงเป็นการนำหมู่บ้านที่มีความพร้อมมีผลการ ปฏิบัติที่สำเร็จชัดเจนอยู่แล้วมาเพิ่มเติมความสามารถในการเป็นต้นแบบสำหรับการขยายผลแนวทาง/วิธีปฏิบัติ       ในการ พัฒนาตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพี่อใช้เป็นสถานที่ เรียนรู้สำคัญให้กับหมู่บ้านอื่นที่ยังไม่ได้เริ่มต้นในการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจก็เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ให้กับหมู่บ้านที่มีจุดเริ่ม หรือมีพื้นฐาน สถานการณ์ของหมู่บ้าน ใกล้เคียงกัน สามารถเรียนรู้ เลียนแบบได้   โดยไม่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญที่ต่างกันมากนักจัดกิจกรรมในหมู่บ้านต้นแบบจึงมีขั้นตอนที่เริ่มจากการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน บทบาทของผู้นำให้เป็นแกนนำหรือหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการนำประชาชนในหมู่บ้านให้ลุกขึ้นทำกิจกรรมเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคตส่งเสริมให้ผู้นำจัดกระบวนการทำแผนชุมชนสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคิดตัดสินใจกำหนดเป้าหมาย การทำงานโดยคนในชุมชนเองผลักดันสร้างความรับผิดชอบให้เกิดกับบุคคลในชุมชนในการดำเนินการบริหารจัดการในกิจกรรมตามแผนงานการพัฒนา        ซึ่งสามารถบูรณาการกิจกรรมต่างๆจากทุกหน่วยงานโดยมีแผนชุมชนเป็นเครื่องกำกับการพัฒนา             เมื่อได้ดำเนินการมีประสบการณ์มีความรู้จัดทำเป็นชุดควมรู้มีหลักสูตรสำหรับการถ่ายทอดความรู้จัดเป็นแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรูเพื่อการขยายผลในฐานะหมู่บ้านต้นแบบต่อไปซึ่งผลการจัดโครงการต่างๆนอกจากจะจัดขึ้นเพื่อป้องกันแก้ปัญหาอนุรักษ์เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนแล้วยังสามารถสร้งภวะผู้นำ ทักษะการจัดการสร้างและพัฒนากลุ่มต่างๆ ในชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นหมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหมู่บ้าน“อยู่เย็น  เป็นสุข” ตามยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน   ซึ่งยึดหลักตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเมื่อหมู่บ้านดำเนินการตามแนวทางนี้แล้ว ก็จะเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนมีคุณลักษณะ 3 ไม่ 2 มี กล่าวคือ 1) ไม่มียาเสพติด 2) ไม่มีคนยากจน 3) ไม่มีหนี้นอกระบบส่วน 2  มี คือ 1) มีสวัสดิการชุมชน และ 2) มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น มีการจัดระเบียบชุมชน (ป้ายหมู่บ้าน/ป้ายคุ้ม/ป้ายสถานที่ กลุ่ม/องค์กร/ป้ายครัวเรือนพัฒนา              /ปรับภูมิทัศน์หมู่บ้าน ครัวเรือนให้น่าอยู่ ฯลฯ) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานโครงการสัมมาชีพชุมชนตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน        ๕๖ หมู่บ้าน และในบทบาทพัฒนากรที่รับผิดชอบการพัฒนาสัมมาชีพชุมชนพื้นที่ตำบลโพสังโฆ และตำบล  คอทราย จำนวน ๒ ตำบล ๑๖ หมู่บ้าน วิทยากรสัมมาชีพที่ต้องค้นหาและสร้างการเรียนรู้ร่วมกันจำนวน     ๘๐ คน และสร้างครัวเรือนสัมมาชีพ ๓๒๐ ครัวเรือน สู่อาชีพที่มั่นคงเต็มพื้นที่ ประชาชนอยู่เย็น เป็นสุข

วัตถุประสงค์ ->

วิธีการการดำเนินงาน ให้บรรลุเป้าหมายต้องต้นหา ปราชญ์ชุมชนมาเป็นแกนนำหมู่บ้านและแสวงหา ให้มีองค์ประกอบ ๓ องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ ๑ คือ การประสานงานผู้นำชุมชนในพื้นที่ ค้นหา เชิงคุณภาพ ปราชญ์แกนนำหมู่บ้าน    ในการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน สู่การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

                   ๑.๑ สร้างการมีส่วนร่วมเป็นทีมชุมชนเก็บรวบรวมข้อมูลปราชญ์ในหมู่บ้านทุก อาชีพ องค์ความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้ นำไปสู่การนำมาเรียนรู้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกิจกรรม/โครงการของการสร้างอาชีพชุมชน

                   ๑.๒  การสร้างทีมและร่วมเป็นทีมคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒ ตำบล ๑๖ หมู่บ้าน วิทยากรสัมมาชีพที่ต้องค้นหาและสร้างการเรียนรู้ร่วมกันจำนวน ๘๐ คน

                   ๑.๓  การออกแบบวิธีการร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการในโครงการ

                   ๑.๔  ร่วมเป็นผู้สร้างร่วมการกระตุ้น/สร้างความตระหนักของปราชญ์ชุมชน/หมู่บ้านในการจัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ

                   ๑.๕ ขับเคลื่อนกิจกรรมการสร้างวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และสามารถค้นหาทีมครัวเรือนวิทยากรสัมมาชีพ สู่ครอบครัวพัฒนา , การเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายการพัฒนา , การสาธิตการสร้างอาชีพสู่วิถีสัมมาชีพชุมชน และออกแบบวิทยากรสัมมาชีพในการการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน

                   ๑.๖  การมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

                   ๑.๗  ร่วมติดตามตรวจเยี่ยมผลการพัฒนาครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป้าหมายและร่วมการประเมินผล ๓๖๐ องศา

                   ๑.๘  ร่วมเป็นกลไกในการประสานภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน

                   ๑.๙  เป็นผู้ดำเนินการถอดบทเรียนได้

องค์ประกอบที่ ๒ ปราชญ์ชุมชน วิทยากรสัมมาชีพชุมชน แกนนำหมู่บ้านต้องมีคุณสมบัติที่ควรจะเป็นในการทำหน้าที่การพัฒนาอาชีพสู่การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมั่นคง

                   ๒.๑ ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานของความเสียสละโดยสังเกตพฤติกรรมในหมู่บ้านเป็นทุนสำคัญทางสังคมของหมู่บ้าน

                   ๒.๒ มีจิตอาสาสมัคร รักบ้านเกิด

                   ๒.๓ มีความอดทนสูง การเป็นวิทยากรสัมมาชีพต้องออกแบบวิธีการ สื่อสาร การเป็นวิทยากร และต้องใช้เวลาต้องเรียนรู้ธรรมชาติหมู่บ้าน สร้างมูลค่าเพิ่มของสัมมาชีพชุมชน

                   ๒.๔ มีภาวะผู้นำ

                   ๒.๕ เป็นนักประสานงานทั้งแนวดิ่งและแนวระนาบเดียวกัน

                   ๒.๖ เป็นนักประชาสัมพันธ์ให้มีลักษณะ  คม  ชัด  ลึก

                   ๒.๗ ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

                   ๒.๘ เป็นที่ยอมรับของส่วนรวมในหมู่บ้าน

องค์ประกอบที่ ๓ คือ ความรู้ ความชำนาญในการทำหน้าที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชน คือ วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ต้องชัดเจน เป็นแกนนำในการพัฒนาหมู่บ้านสู่หมู่บ้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

                   ๓.๑ แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเข้าใจการทำกิจกรรมที่เป็นการสร้างวิถีพอเพียงในหมู่บ้าน

                   ๓.๒ ทักษะการพูดในหมู่บ้าน การสื่อสารทางการพัฒนาหมู่บ้าน

                   ๓.๓ การคิดเชิงสร้างสรรค์  คิดเป็นบวก

                   ๓.๔ เข้าใจในกระบวนงานแผนชุมชนเชิงคุณภาพ

                   ๓.๕ ทำบัญชีครัวเรือนได้และเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลมาสร้างเป็นระบบการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของครัวเรือนได้

                   ๓.๖ เรียนรู้การทำงานบูรณาการทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน มาพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้ทุนชุมชนเป็นฐานการพัฒนาได้

                   ๓.๗ ทำงานเชิงรุกแบบมีแผนงาน วัดผลการทำงานได้เป็นที่ยอมรับของหมู่บ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

สรุปการสร้างวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เป็นสำคัญขับเคลื่อนโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนแกนนำหมู่บ้านเป็นผู้นำการพัฒนาบ้านเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นกลไกสำคัญในการ ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปราชญ์สัมมาชีพเป็นแกนนำ เป็นใคร มาจากไหน มีใครเป็นแกนนำบ้าง รวมถึงสิ่งสำคัญที่ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ต้องรู้ หรือควรทำ มีอะไรบ้าง ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน  คือ …ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ในการชักชวนให้คนในหมู่บ้านลุกขึ้นมาร่วมคิด ร่วมหาทางแก้ไขปัญหา   และลงมือกระทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาชีวิตตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้ดีขึ้นและเป็นแบบอย่างที่ดี  ในการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน จะต้องมีหลายคนเพื่อมาช่วยเหลือกัน เรียกว่าทำงาน    เป็นทีมซึ่งในทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ควรจะประกอบด้วย ปราชญ์ผู้รู้ด้านอาชีพ ต่างๆ อาจจะเป็น บุคคลหรือผู้นำที่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้านผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำอช.) อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)  คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต คณะกรรมการศูนย์ประสานงานตำบล (ศอช.ต.) อสม. อบต. ผู้ทรงคุณวุฒิผู้นำกลุ่มองค์กร อาสาสมัครอื่นๆ ของหมู่บ้าน ตำรวจบ้าน เป็นต้นหรืออาจจะเป็นผู้นำตามธรรมชาติ เช่นผู้นำคุ้มผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำทางจิตวิญญาณ เป็นต้น ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน จะต้องเรียนรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการสื่อสารเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักแก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และประชาชน      ในการนำองค์ความรู้ด้านอาชีพ ที่ค้นพบ และแสวงหา สื่อสารผ่านวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ผ่าน    กระบวนงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตปราชญ์สัมมาชีพชุมชน    ต้องไปส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพเพื่อให้รู้จักวิเคราะห์ตนเอง มองเห็นปัญหา เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง              และเรียนรู้วิธีคิดการสร้างอาชีพ ที่มั่นคง สร้างความอยู่เย็น เป็นสุข อย่างยั่งยืนได้ มีดังนี้

                   

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา