เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

โดย : นายทรัพย์อนันต์ ฟักเถื่อน ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-19-10:58:48

ที่อยู่ : 23 หมู่ 7 ตำบลมาบปลาเค้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลานิลเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และในการจัดกิจกรรมต่างๆ ปลานิลถือเป็นปลาที่สามารถจำหน่ายได้ดี อีกทั้งราคาไม่สูงจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมาก เลี้ยงง่าย โตเร็ว ราคาดี และในปัจจุบันจากปัญหาของสัตว์ปีกที่มีโรคระบาด จึงส่งผลให้ปลาเป็นสัตว์ที่มีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีการจัดการที่ดีแล้วจะสามารถช่วยลดต้นทุน สร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

การประชุมเพื่อหาอาชีพที่สนใจในหมู่บ้าน และก็เริ่มดำเนินการจากงบประมาณของกรมการ    พัฒนาชุมชนเป็นการสาธิต เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ดังนี้

- ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

                 1) วันที่ 1-3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน

                2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หรือบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง

                3) วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

 วิธีการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน     

1.กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำต่าง ๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวาให้หมด โดยนำมากองสุมไว้แห้งแล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยง ถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคันดินที่ชำรุด

2.กำจัดศัตรู ศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์จำพวก กบ เขียด งู เป็นต้น

 3.การใส่ปุ๋ย โดยปกติแล้วอุปนิสัยในการกินอาหารของปลานิลจะกินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ เศษวัสดุเน่าเปื่อยตามพื้นบ่อ แหน สาหร่าย ฯลฯ ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงปลาควรให้อาหารธรรมชาติดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อละลายเป็นธาตุอาหาร ซึ่งพืชน้ำขนาดเล็กจำเป็นใช้ในการปรุงอาหารและเจริญเติบโตโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นโซ่อาหาร อันดับต่อไป คือ แพลงก์ตอนสัตว์ ได้แก่ ไรน้ำ และตัวอ่อนของแมลง ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่มูลวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ นอกจากปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์แล้วก็อาจใช้ปุ๋ยหมักจำพวกหญ้าและฟางข้าวปุ๋ยพืชสดต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

  4.อัตราส่วนการใส่ปุ๋ยคอกในระยะแรก ควรใส่ประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ กก./ไร่/เดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเพียงครึ่งหนึ่ง หรือสังเกตจากสีของน้ำในบ่อ ถ้ายังมีสีเขียวอ่อนแสดงว่ามีอาหาร ธรรมชาติเพียงพอ ถ้าน้ำใสปราศจากอาหาร ธรรมชาติก็เพิ่มอัตราส่วนให้มากขึ้น และในกรณีที่หาปุ๋ยคอกไม่ได้ก็อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร ๑๕:๑๕:๑๕ ใส่ประมาณ ๕ กก./ไร่/เดือน ก็ได้

วิธีใส่ปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากบ่อให้แห้งเสียก่อน เพราะปุ๋ยสดจะทำให้น้ำมีแก๊สจำพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมาก เป็นอันตรายต่อปลา การใส่ปุ๋ยคอกใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายน้ำทั่ว ๆ บ่อ ส่วนปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยสดนั้น ควรกองสุมไว้ตามมุมบ่อ ๒-๓ แห่ง โดยมีไม้ปักล้อมเป็นคอกรอบกองปุ๋ยเพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวกระจัดกระจาย

  5.อัตราปล่อยปลาเลี้ยงในบ่อดิน ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไปจะปล่อยลูกปลาขนาด ๓-๕ ซม. ลงเลี้ยงในอัตรา ๑-๓ ตัว/ตารางเมตร หรือ ๒,๐๐๐-๕,๐๐๐ ตัว/ไร่

  6.การให้อาหาร การใส่ปุ๋ยเป็นการให้อาหารแก่ปลานิลที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจะได้อาหารธรรมชาติที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก แต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็วขึ้นหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงควรให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทเป็นอาหารสมบทด้วย เช่น รำ ปลายข้าว กากมะพร้าว มันสำปะหลัง หั่นต้มให้สุกและเศษเหลือของอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น กากถั่วเหลืองจากโรงทำเต้าหู้กากถั่วลิสง อาหารผสมซึ่งมีปลาป่น รำข้าว ปลายข้าว  เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว อาหารประเภทพืชผัก เช่น แหนเป็ด สาหร่าย ผักตบชวาสับให้ละเอียด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

สนใจ ตั้งใจทำ เอาใจใส่เรื่องคุณภาพน้ำเป็นพิเศษ

อุปกรณ์ ->

1.ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว

 2.ในการให้อาหารสมทบมีข้อพึงระวังคือ  ถ้าปลากินไม่หมดอาหารจมพื้นบ่อหรือละลายน้ำมากก็จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นหลายประการ เช่น เสียค่าใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง และ/หรือต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสูบถ่ายเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 1. เนื่องจากปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมาก หากขายไม่หมดจะทำให้มีโอกาสขาดทุนสูง ...จึงควรมีโครงการที่สามารถรองรับกับจำนวนปลาที่เหลือได้

2. ไม่ควรลากอวนบ่อยจนเกินไป

3. ก่อนการลากอวนควรงดให้อาหารปลาประมาณ1-2 วันเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาช็อก

4. ควรมีอุปกรณ์ เครื่องมือที่พร้อมและการวางแผนที่ดีก่อนการปฏิบัติงาน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา