เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้

โดย : นายธนธรณ์ ขันธ์ชัย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-19-10:31:56

ที่อยู่ : ๓๙/๑ หมู่ ๑๒ ตำบลเขากระปุก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เกิดจากการเสียค่าใช้จ่ายต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรสูง  โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมากในปัจจุบัน  และสุขภาพร่างกายอ่อนแอด้วย  จึงผันมาทำปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีจนถึงปัจจุบันนี้  สุขภาพก็แข็งแรงดี  แถมมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย  และให้ความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแก่เพื่อนเกษตรกรในหมู่บ้านที่สนใจด้วย 

วัตถุประสงค์ ->

มีการประชุมเพื่อหาอาชีพที่สนใจในหมู่บ้าน และก็เริ่มดำเนินการจากงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนเป็นการสาธิต เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความร่วมแรงร่วมใจ การรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม

อุปกรณ์ ->

1. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะที่ใช้หมักโดยสนิทชนิดที่อากาศเข้าไม่ได้เพราะอาจเกิดการระเบิดได้ เนื่องจากในระหว่างการหมักจะเกิดก๊าซขึ้นมาจำนวนมากเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ฯลฯ

2. ภาชนะที่ใช้หมักต้องไม่ใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะปุ๋ยน้ำชีวภาพจะมีฤทธิ์เป็นกรด (Ph=3-4)ซึ่งจะกัดกร่อนโลหะให้ผุกร่อนได้

3. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิดเช่นกล้วยไม้ อาจมีผลทำให้ภาชนะที่ใช้ปลูกคือกาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควรทำให้ต้องเสียเงินในการเปลี่ยนภาชนะใหม่

4. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชนั้นในดินจะต้องมีอินทรียวัตถุอยู่ เช่น มีการใส่ปุ๋ยหมัก เศษพืชแห้งคลุมดินไว้จึงจะทำให้การใช้ประโยชน์จากน้ำชีวภาพได้ผลดี

5. ห้ามใช้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในคำแนะนำเพราะอาจมีผลทำให้ใบไหม้ได้ เนื่องจากความเป็นกรดหรือความเค็มในน้ำสกัดชีวภาพ ดังนั้นจึงควรเริ่มทดลองใช้ในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆก่อน

6. น้ำสกัดชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนสูง ๆ ต้องระวังในการใช้เพราะหากใช้มากไปอาจทำให้พืชเฝือใบและไม่ออกดอกออกผลได้

7. ในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืช พืชมีความต้องการสารอาหารในระดับที่แตกต่างกัน น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสารอาหารที่แตกต่างกันเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ค้นคว้าทดลองเองและเก็บข้อมูลไว้ว่าในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต พืชต้องการน้ำสกัดชีวภาพสูตรใด ความเข้มข้นเท่าใดและระยะเวลาในการฉีดพ่นเท่าใด ไม่มีใครให้คำตอบที่ดีและถูกต้องสำหรับสวนหรือไร่นาของท่านได้ ยกเว้นท่านจะทำทดลองใช้ สังเกตอาการของพืชหลังจากใช้และปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับพืชของท่านต่อไป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปุ๋ยเคมียังมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตพืช  ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความสำคัญต่อการปรับปรุงบำรุงดิน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ จึงน่าจะเป็นวิธีการบูรณาการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา