เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้

โดย : นายณรงค์ แสงประเสริฐ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-19-09:31:04

ที่อยู่ : 138/2 หมู่ 1 ตำบลเขากระปุก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหนองโรง หมู่ที่ ๑ ตำบล เขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็น หมู่บ้านเกษตรกรรม อาชีพส่วนใหญ่ การปลูกมะนาว กล้วย อ้อย และปลูกผักสวนครัว ต้องพึ่งพายากำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง ปุ๋ยและสารเคมี ต่างๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงมาก อีกทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมี ก็เข้ามามีบทบาทค่อนข้างเยอะเกษตรกรส่วนใหญ่เลยเริ่มไม่ค่อยรู้จักความพอเพียง เพราะมุ่งเห็นแต่ผลกำไร ต้องการให้ได้ผลผลิตมาก ลืมมองย้อนถึงต้นทุนที่สูงตามไปด้วย  หลังจากที่ ได้เข้าร่วมอบรมและเป็นสมาชิก   ในหลายๆ โครงการกับทางสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชน  ทำให้ได้รับความรู้ต่างๆ มากมาย จึงนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ วิธีการทำปุ๋ยหมักให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ เพื่อเป็นการลดต้นทุน ลดรายจ่ายและสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมขน ต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

การประชุมเพื่อหาอาชีพที่สนใจในหมู่บ้าน และก็เริ่มดำเนินการจากงบประมาณของกรมการ   พัฒนาชุมชนเป็นการสาธิต เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ                                

          - ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

                 1) วันที่ 1-3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน

                2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หรือบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง

                3) วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน สาธิตการทำปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแก่ครัวเรือนสัมมาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความร่วมแรงร่วมใจ การรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม                                 

อุปกรณ์ ->

          1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

           2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที

           3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก

           4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ" เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

2.ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา