เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเลี้ยงเห็ดนางฟ้า

โดย : นายปรีชา สงคราม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-19-09:27:00

ที่อยู่ : 82 หมู่ 5 ตำบลในดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านในดง หมู่ 5 ตำบลบ้านในดง เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกพืชสวน เช่น มะม่วง มะนาว และพืชไร่ เช่น กล้วยหอมทอง ชะอม พริก มะเขือ เป็นต้น ชาวบ้านมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่รอบบริเวณบ้านปลูกพืชผักที่ใช้ประจำวันในครัวเรือน และมีความสนใจเรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักใหม่ๆ อื่นๆ เช่นการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารที่มีประโยชน์ราคาไม่แพง แต่เป็นที่ต้องการของตลาด ผลิตดอกได้ทุกฤดูกาล และสามารถเรียนรู้วิธีการดูแลเห็ดนางฟ้าได้จากสื่อต่างๆ รวมถึงแหล่งเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าในพื้นที่อำเภอท่ายาง

วัตถุประสงค์ ->

1. สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้

                   - วิทยากรสัมมาชีพผู้เป็นเจ้าของอาชีพดำเนินการร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านถ่ายทอดความรู้ ในประเด็น  ดังนี้

                             - เล่าความเป็นมาของอาชีพ

                             - อธิบายกระบวนการ/ขั้นตอนการประกอบอาชีพ และลักษณะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนก่อเกิดรายได้แก่ครัวเรือน

                             - อธิบายความสำคัญของการจัดการอาชีพเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้โดยเชื่อมโยงกับการตลาดหรือการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือประชารัฐจังหวัด

          2. ศึกษาดูงาน

                   - ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน เดินทางไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนที่กำหนด (ศึกษาดูงาน ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านห้วยหินเพลิง หมู่ 10 ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี)

          3. ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

                    - ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพร่วมกัน ณ บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ของหมู่บ้าน โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ให้การกำกับดูแลการฝึกปฏิบัติ ตามขั้นตอนการประกอบอาชีพ โดยผู้แทนครัวเรือนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนปฏิบัติ/รับผิดชอบดูแลเห็ด โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คนต่อ 4 ครัวเรือน

          4. ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพของครัวเรือน

          5. ส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าจากหมู่บ้านสัมมาชีพ

          6. ประเมินผลกิจกรรม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ปราชญ์มีความเข้าใจในกระบวนงาน

2. ความร่วมมือของครัวเรือนสัมมาชีพ

อุปกรณ์ ->

การค้นหาความต้องการอาชีพที่ครัวเรือนมีความต้องการที่แท้จริง และสามารถดำเนินการได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา