เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน (การส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารขยะ)

โดย : นางสาวกนกวรรณ สาเหล้ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-26-16:42:06

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 240 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบเนื่องมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ได้สนับสนุนการดำเนินการโครงการจัดตั้งธนาคารขยะ ในตำบลท่าข้ามในปี 2554 การดำเนินงานของธนาคารขยะและจากสภาพปัจจุบันเริ่มมีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการขยะที่นับวันคนจะมากขึ้นพร้อมๆกับปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นและไม่มีการแยกขยะก่อนนำมาทำลายอย่างถูกวิธีโดยมีการกำจัดขยะแบบรวมศูนย์คือมีการจัดเก็บรวบรวมจากหลายพื้นที่แล้วนำไปทิ้ง จุดเดียวกันทำให้เกิดการกำจัดไม่ทันขยะล้นที่จัดเก็บจะก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและระบบสาธารณสุขของชุมชนทำให้บ้านเรือนไม่น่าอยู่อาศัยถ้าหากมีการจัดการขยะที่ถูกต้องโดยแต่ละครัวเรือนช่วยกันแยกขยะและกำจัดให้ถูกวิธีตามชนิดของขยะหรือการนำกลับมาใช้ใหม่จะเป็นการลดปริมาณขยะได้มากและช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชนน่าอยู่สะอาดลดแมลงวันซึ่งเป็นพาหะนำโรคลดกลิ่นเหม็นและเหตุรำคาญต่างๆจากขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือน และที่สำคัญสามารถนำขยะเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้หรือนำมาขายได้รวมทั้งสามารถนำมาทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อบำรุงดินหรือเพื่อประโยชน์อื่นๆ

วัตถุประสงค์ ->

1. ประชุมร่วมกับประชาคมของหมู่บ้านเพื่อสะท้อนสภาพปัญหาด้านขยะและแนวทางการจัดการขยะของหมู่บ้านเพื่อให้ทราบสภาพที่แท้จริงและการจัดการบ้านเรือนในหมู่บ้านและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาโดยให้เน้นถึงการมีส่วนร่วมของหมู่บ้านในเรื่องการจัดการขยะในหมู่บ้านและแนวทางการจัดการขยะโดยค้นหาตัวแทนหรือผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อดำเนินงานเป็นตัวอย่างในระดับครัวเรือนและพัฒนาเป็นอาสาสมัคร รณรงค์การคัดแยกขยะ จัดตั้งธนาคารขยะโดยผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการในครัวเรือนจะมีการแยกขยะเป็นชนิดโดยแบ่งเป็น

-ขยะสดที่เป็นเศษอาหารมีการกำจัดโดยทิ้งใส่ถังหมักที่มีกากน้ำตาลเพื่อเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพนำไป

บำรุงดินหรือพัฒนาเป็นน้ำหมักไล่แมลงรดพืชผักต้นไม้ที่ปลูกในสวนหรือไร่นา

-ขยะแห้งให้มีการคัดแยกแต่ละชนิดในครัวเรือนพลาสติกกระดาษแก้วอาจแยกขยะใส่ภาชนะที่จัดเก็บ

หรือใช้กระสอบปุ๋ยเก็บไว้ เพื่อนำไปขายที่ธนาคารขยะของหมู่บ้าน

2. รณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้น่าอยู่และให้ตระหนักในการรักษาความสะอาดการตัดแต่ง

ต้นไม้เศษวัชพืชภายในบ้านและหน้าบ้านตนเองและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองโดยแบ่งพื้นที่เป็นหมู่บ้านๆ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                     การทำงานเริ่มต้นจากผู้ไม่มีความรู้ในการดำเนินการเรื่องการจัดการขยะ จนสามารถถ่ายทอดความรู้ที่มีให้คนในชุมชนและผู้ที่สนใจได้นำใช้ในชุมชนของตัวเองได้ข้อพึงระวัง

ข้อพึงระวัง

                   1. การจัดตั้งธนาคารขยะ ต้องมีความต่อเนื่องและยั่งยืน  มิใช่หมดงบประมาณที่กรมฯสนับสนุนแล้วครัวเรือนในหมู่บ้านไม่ได้ดำเนินการต่อ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

มีธนาคารขยะที่เห็นเป็นรูปธรรม

อุปกรณ์ ->

ระวังด้านการบริหารจัดการ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

คอยเอาใจใส่ดูแลอย่างสม่ำเสมอ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา