เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น

โดย : นายดลหนาม คงสมุทร ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-09-05-15:18:47

ที่อยู่ : 104 ม.3 ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงิน ส่งเสริมการสร้างอาชีพในชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และชุมชนรายยังสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกันจะเป็นทุนหมุนเวียนในชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                   เนื่องจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของบ้านแหลมไทร ม.3 ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรังมีพื้นที่ติดทะเลอันดามัน การประกอบอาชีพด้านการเกษตรอื่นๆไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่ จึงหันมาประกอบอาชีพด้านการทำประมง การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะกับสภาพของหมู่บ้านการส่งเสริมการสร้างอาชีพในชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการสร้างอาชีพในชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้            

วัตถุประสงค์ ->

1. การปลูกสาหร่าย ปลูกได้ทั้งแบบหว่านและแบบปักชา โดยในช่วงเริ่มต้นปลูกครั้งแรก เติมน้ำความเค็ม ประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อปลูกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อยเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่แสงส่องถึงขึ้นกับความโปร่งแสงของน้ำโดยมากรักษาระดับน้ำให้มีความลึกประมาณ 60-100 ซม. แบบปักชำมีข้อดีกว่าแบบหว่าน เนื่องจากสาหร่ายจะมีอัตราความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกันและควบคุมความหนาแน่นได้ ทาให้สาหร่ายที่โตมีแขนงที่ยาวและมีขนาดสม่ำเสมอ นอกจากนี้สามารถปลูกสาหร่ายบนแผงอวนหรือตาข่ายได้ ทาให้สาหร่ายมีความสะอาดและมีคุณลักษณะดี

                   2. หลังจากการปลูกประมาณ 1-2 เดือน จะสามารถเก็บเกี่ยวสาหร่ายได้ และความถี่ในการเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ต่อครั้ง

                   3. การจัดการระบบน้ำ ควรมีการสูบน้าเข้าบ่อเลี้ยงประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์หรือดัดแปลงบ่อด้วยการติดตั้งท่อน้ำเข้าออกแบบมีลิ้นปิดเปิดตามระดับน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ความถี่ในการสูบน้ำเข้ายังขึ้นกับอายุการเลี้ยงและความหนาแน่นของสาหร่าย เพื่อเพิ่มสารอาหารธรรมชาติ การหมุนเวียนน้ำ และการรักษาระดับน้ำในบ่อเลี้ยง

                   4. เพื่อป้องกันการบังแสงและแก่งแย่งสารอาหาร ควรสุ่มตรวจความหนาแน่นของสาหร่าย โดยอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทยอยเก็บเกี่ยวทุก 2 สัปดาห์และคงปริมาณไว้ประมาณ 25% ของปริมาณตั้งต้น หากสาหร่ายแน่นเกินไป ให้นำไปหว่านบริเวณอื่น

                   5. การกำจัดและป้องกันศัตรูของสาหร่าย หมั่นเก็บสาหร่ายชนิดอื่น ที่เกิดขึ้นในบ่อเมื่อน้ำตื้นเกินไป ดังนั้นการรักษาระดับน้ำเพื่อให้แสงส่องถึงในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       ความร่วมมือและความพร้อมของวิทยากรปราชญ์ชุมชน

2.       ความพร้อมของครัวเรือนสัมมาชีพ

3.       ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ

4.       อาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

อุปกรณ์ ->

1.       อาชีพด้านการทำเกษตรกรรมช่วงฤดูร้อน อาจมีปัญหาภัยแล้ง

2.       งบประมาณที่จัดสรร ครัวเรือนละ 800 บาท หมู่บ้านละ 16,000 บาท ไม่เพียงพอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา